ผู้เล่าเรื่อง : นางศิริรัตน์ สวนพรหม
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
หน่วยงาน : สำนักงานเลขานุการกรม
หลักสูตรฝึกอบรม : Green IT เทคโนโลยีสำหรับอนาคต กระทรวงการคลัง
หน่วยงานผู้จัด : สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการคลังและบัญชีภาครัฐ ร่วมกับกระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
๑) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบ Green IT
๒) เพื่อสร้างแนวคิดในการบริหารจัดการ และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : Green IT เทคโนโลยีสำหรับอนาคต
ความหมาย Green IT หรือ เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ แนวคิดในการบริหารจัดการ และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อ
•เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการใช้พลังงาน
•ลดการใช้พลังงาน
•ลดการสร้างขยะ
•รวมถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่
•ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์)
ดังนั้น เป้าหมายสูงสุด คือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ หรือขยะอิเล็คทรอนิคส์ต้องถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด และไม่มีส่วนประกอบที่ทำจากสารพิษ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต้องใช้พลังงานน้อยลง แต่มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ตามแนวคิดที่ว่า "Maximum Megabytes for Minimum Kilowatts" ซึ่ง Green Computing ก็ถือเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งที่นิยมใช้กันในองค์กรอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ความเป็นมาและแรงผลักดัน
องค์กรธุรกิจ ได้รับรู้ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การปรับปรุง แก้ไข และลดปัญหาของสินค้าและบริการที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการแสดงออกในความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรธุรกิจนั้นมี และ Green IT ก็เป็นแนวทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และส่งผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงอายุการใช้งาน
Green Computing (ระบบประมวลผลรักษ์สิ่งแวดล้อม)
Green Computing เป็นการศึกษาถึงแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้มีการใช้งานทรัพยากรของระบบประมวลผลให้ได้ประสิทธิภาพอย่างคุ้มค่า ที่สุด เมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้า และวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้งานไป โดยแนวทางในการใช้งานเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ทางด้านการประมวลผลที่ดำเนินการ ไปตามแนวทางของ Green Computing นั้นจะยึดหลัก 3 ประการด้วยกันที่เรียกว่า Triple Bottom Line ประกอบด้วย
๑)การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Viability)
๒)การรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
๓)ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact)
ซึ่งอาจจะแตกต่างออกไปจากการดำเนินธุรกิจ ทั่วๆ ไปบ้าง ที่มีจุดมุ่งหมายอยู่เฉพาะที่หัวข้อทางด้านการเจริญเติบโตของธุรกิจเท่านั้น เมื่อได้มีการนำโซลูชั่นทางด้านระบบประมวลผลเข้ามาใช้งาน
แนวทาง ปฏิบัติของ Green IT Virtualization
เทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์ Server ที่มีอยู่นำมารวมกันในทาง Logical เพื่อแบ่งเบาและกระจายภาระหน้าที่หรือ Load ใดๆ ของเครื่อง Server เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ทำงานหนักเกินไป โดยกระจายงานนั้นออกไปยังเครื่อง Server เครื่องใดๆ ที่ยังอยู่ในสภาวะ Idle หรือ Load น้อยให้ช่วยทำงานนั้นๆ
ซึ่งหลักการของการ Virtualization หรือการ Consolidate Server ถ้าอยู่ในแวดวงของการทำธุรกิจ แนวความคิดนี้ก็ไปตรงกับแนวคิดของผู้บริหารที่อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างในยุคปัจจุบันคือเรื่องของ Profit Maximize ซึ่งที่จริงมันก็คือการที่องค์กรจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่มีประโยชน์ สูงสุด โดยลงทุนหรือลดต้นทุนให้น้อยที่สุดนั่นเอง
Power Management (การจัดการพลังงาน)
แนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรจึงสามารถประหยัดพลังงาน ประหยัดไฟฟ้า และลดการเกิดความร้อนที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด โดยแนวคิดนี้ก็คือหลักการเดียวกันกับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศที่มีเบอร์ 5 และอุปกรณ์ Power Supply ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีมาตรฐานนี้รับรองเช่นเดียวกันคือ 80 Plus ที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 20%
มาตรฐานทางด้านอุตสาหกรรมแบบเปิดที่เรียก ว่า Advanced Configuration and Power Interface (ACPI) ได้เปิดช่องทางให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าจัดการการใช้พลังงานของอุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้โดยตรง ตามลักษณะการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ ด้วยมาตรฐานนี้ช่วยให้ระบบสามารถปิดการทำงานของอุปกรณ์บางส่วน เช่น ฮาร์ดดิสก์ มอนิเตอร์ เป็นต้น ลงไปเมื่อไม่มีการทำงานช่วงเวลาหนึ่ง และยังรวมไปถึงการปิดการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบลงไปแทบจะทั้งหมด แบบ Hibernate รวมถึงการปิดหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักของระบบลงไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าลงไปได้อย่างมากมาย และเพื่อให้สามารถคืนการทำงานให้ระบบกลับมาเหมือนเดิม อุปกรณ์บางชิ้น เช่น คีย์บอร์ด เน็ตเวิร์กการ์ด หรืออุปกรณ์ USB เป็นต้น ต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงไว้ เพื่อรอการกดจากผู้ใช้งานให้ระบบกลับคืนมาสู่สภาวะพร้อมทำงานอีกเหมือนเดิม อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกบางชิ้นก็มีระบบจัดการพลังงานไฟฟ้าอยู่ในตัวเอง อย่างเช่น เครื่องพิมพ์ จอแสดงผล สแกนเนอร์ ลำโพง และฮาร์ดดิสก์ภายนอก เป็นต้น สามารถปิดการทำงานของตัวเองลงไปได้ เมื่อผ่านระยะเวลาที่ไม่มีการใช้งานช่วงหนึ่งไป
สกรีนเซฟเวอร์ไม่ ลดการใช้พลังงาน
ถ้าสกรีนเซฟเวอร์ที่แสดงผลภาพขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานกว่า 5 นาทีขึ้นไป นั่นแสดงว่ากำลังเสียพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ ถูกออกแบบมาเพื่อช่วย ยืดอายุของจุดภาพบนหน้าจอรุ่นเก่าที่ในหลอดภาพมีฟอสฟอรัสบรรจุอยู่ภายใน แต่โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ไม่ได้ช่วยอะไรเมื่อใช้งานกับจอ LCD และไม่ได้ช่วยให้มีการประหยัดพลังงานแต่อย่างใด
สกรีนเซฟเวอร์ที่แสดงผลด้วยการเลื่อนภาพ บางอย่างไปมาบนหน้าจอ มีอัตราการใช้พลังงาน ไฟฟ้าในระดับเดียวกันกับการใช้งานแบบปกติ และถ้าเป็นโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ที่ต้องให้หน่วยประมวลผลช่วยประมวลผลด้วย แล้ว จะยิ่งเพิ่มอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าขึ้นไปอีกโดยปริยาย ถ้าจะเลือกใช้งานสกรีนเซฟเวอร์ที่ช่วยลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า การเลือกสกรีนเซฟเวอร์แบบ Blank จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด แม้ว่าจะช่วยลดเปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานได้น้อยมากก็ตาม
Materials Recycling ถึงแม้ว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไมสามารถนำไป Recycle ได้ แต่การใช้งานอย่างคุ้มค่าตามความเหมาะสมกับงาน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งเมื่อมีโปรแกรมใหม่ๆ เข้ามา การดูแลรักษาให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการรักษาโลกร้อนและใช้งานตามแนวทางของ Green computing ได้
Telecommuting เทคโนโลยีการสื่อสารแบบทางไกล Telecommuting ที่ช่วยให้สามารถเปิดโลกของการสื่อสารได้หลายช่องทางและไร้พรมแดน ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นผ่านระบบที่เรียกว่า Teleconference โดยระบบนี้สามารถสื่อสารกันในลักษณะ Remote ที่ต่างฝ่ายต่างอยู่กันคนละที่ แต่พบปะ นัดหมายพูดคุย และประชุมงานร่วมกันได้แทนการออกไปเผาผลาญน้ำมันรถ และประหยัดเวลาการเดินทาง โดยอีกฝ่ายต่างเห็นหน้าของอีกฝ่ายผ่านจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์แทนโดยใช้ อินเตอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งการประชุมแบบ Teleconference นี้จะเห็นภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุม อีกทั้งยังสามารถรับส่งไฟล์ได้ด้วย ทั้ง Video, Voice และ Data
แนวทางอื่นๆ
ยังมีแนวทางปฏิบัติอื่นๆ อีกหลายแนวทางของ Green Computing แนวทางปฏิบัติเหล่านี้เกี่ยวเนื่องมาจากการใช้งานระบบไอทีนั่นเอง นั่นคือ เช่น การประหยัดการใช้งานกระดาษ การกำจัดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ และแนวทางการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ชิ้นใหม่ เป็นต้น
การประหยัดการใช้งานกระดาษ ตัวอย่าง แนวทางในการประหยัดการใช้งานกระดาษ เช่น
1.พิมพ์เอกสารด้วยขนาดตัวอักษรที่เล็กที่สุดเท่าที่จะสามารถอ่านได้ โดยการดูตัวอย่างการพิมพ์จากโปรแกรมสั่งพิมพ์ก่อนที่จะพิมพ์ ซึ่งจะช่วยให้ลดจำนวนหน้ากระดาษที่ต้องพิมพ์ลงได้ เมื่อเทียบกับการพิมพ์ด้วยตัวอักษรหรือภาพขนาดใหญ่ แต่ทางที่ดีที่สุดในการประหยัดก็คือ บันทึกงานที่ต้องการเก็บนั้นไว้ในดิสก์
2.กระดาษที่พิมพ์แล้วให้นำกลับมาใช้งานใหม่ ด้วยการเก็บรวบรวมไว้ส่งจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อ หรือกระดาษที่พิมพ์เพียงด้านเดียวก็ให้นำอีกด้านมาใช้งาน
3.เลือกใช้งานเฉพาะกระดาษที่สามารถนำกลับมางานได้ใหม่ (Recycle) ได้เท่านั้น
4.บันทึกอีเมล์สำคัญไว้บนดิสก์แทนการพิมพ์ออกมาบนกระดาษ
5.ให้ใช้งานอีเมล์แทนการใช้แฟกซ์ หรือส่งแฟกซ์ออกไปจากคอมพิวเตอร์โดยตรง ทำให้ไม่ต้องพิมพ์เอกสารออกมาก่อนแล้วค่อยส่งแฟกซ์และระบุผู้รับพร้อมข้อ ความไว้ด้านบนของหน้าแฟกซ์ โดยไม่ต้องใช้ใบนำหน้าแฟกซ์ ที่จะต้องเสียกระดาษไปอีกด้านหนึ่ง
6.แนะนำให้เลือกซื้อเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้ 2 หน้ากระดาษในตัวเอง
7.เอกสารที่ใช้งานร่วมกัน เช่น เอกสารในการประชุม เป็นต้น ให้ใช้วิธีแบ่งกันดูในห้องประชุม แล้วแจกจ่ายเอกสารเดียวกันทางอีเมล์ให้กับทุกคนอีกทีหนึ่ง
การเลือกใช้อุปกรณ์ สิ่ง ที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้งานอุปกรณ์ทางด้านไอที มีดังต่อไปนี้
1.มีความจำเป็นในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นจริงหรือไม่
2.สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานด้วยการอัพเกรดแทนการซื้อใหม่ได้หรือไม่
3.สามารถใช้ซอฟต์แวร์ทำงานแทนฮาร์ดแวร์ที่ต้องการนั้นได้หรือไม่
4.เลือกซื้อเฉพาะอุปกรณ์ที่ป้ายฉลาก Energy Star เท่านั้น
5.เลือกซื้อจอมอนิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่เท่าที่จำเป็นต้องใช้งานเท่านั้น
6.เลือกซื้อเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตแทนแบบเลเซอร์ จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าถึง 80-90% และมีคุณภาพการพิมพ์ที่เท่าเทียมกัน
7.เลือกซื้อเครื่องพิมพ์ที่สามารถต่อเข้ากับระบบเครือข่าย และเปิดแชร์การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน
เมื่อต้องซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ แนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีฉลาก Green Computers เพราะคอมพิวเตอร์ที่ติดฉลากนี้ ออกแบบมาเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้วัสดุที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และวัสดุบางชนิดสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ด้วย
มาตรฐานเพื่อระบบไอทีที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้อุปกรณ์สารสนเทศและคอมพิวเตอร์สูงขึ้น ก่อให้เกิดการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นตาม มา อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากร ดังนั้นมาตรฐาน Energy Star 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และมาตรฐาน TCO ที่เน้นความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมจึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน RoHS เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ซื้อขายในสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2006 ที่ผ่านมา สำหรับในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ในปัจจุบันก็เริ่มมีการกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน
มาตรฐาน RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้
1. ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2. ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3. แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4. เฮกชะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5. โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6. โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
อย่างไรก็ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เน้นความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อมต่างก็ยังคงมีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งและสถานการณ์หรือ วิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภคจะต้องปรับตัวตาม สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ความเจริญรุดหน้าทางเทคโนโลยีสามารถอยู่รวมกันได้อย่างลงตัวที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น