วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

การออม การลงทุน และการวางแผนทางการเงิน

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวนันท์ชญาน์ พรพลประชาสิทธิ์ และนางสาวสมศรี  ทรงสุโรจน์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ และเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ตามลำดับ
หน่วยงาน :  สำนักกฎหมาย กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบด้านการเบิกจ่าย และฝ่ายบริหารทั่วไป
หลักสูตรฝึกอบรม  :  การออม การลงทุน และการวางแผนทางการเงิน
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักนโยบายการออม การลงทุน (สอล.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการออม การลงทุน และเตรียมความพร้อมในการวางแผนทางการเงิน
ภาพรวมการออมและการออมเพื่อการเกษียณอายุ
รัฐมีนโยบายในการสนับสนุนการออมเพื่อการเกษียณ โดยการสร้างช่องทางการออมเพื่อการเกษียณ ที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมและออมต่อเนื่อง ดังนี้
1.กองทุนประกันสังคม สำหรับพนักงานเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการ
2.กองทุน กบข. สำหรับข้าราชการ
3.กองทุนครูโรงเรียนเอกชน สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน
4.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับพนักงานเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างหน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการ
5.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ สำหรับบุคคลทั่วไป
6.ประกันชีวิตแบบบำนาญ สำหรับบุคคลทั่วไป

การเตรียมความพร้อมทางการเงินรับวัยเกษียณ
มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.กำหนดอายุเกษียณ
2.ประมาณระยะเวลาหลังเกษียณ
3.ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
4.ประมาณรายได้หลังเกษียณ
5.วางแผนการออมในปัจจุบัน

ตลาดทุนและตราสารทางการเงิน
ตลาดทุน  คือ ตลาดการเงินที่เป็นแหล่งกลางที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ออม ซึ่งต้องการนำเงินกู้ยืม หรือลงทุนระยะยาว  และผู้ลงทุนซึ่งแสวงหาเงินทุนระยะยาว  เพื่อนำไปใช้ในการก่อตั้งกิจการ หรือเพื่อขยายกิจการ
ลักษณะของตลาดทุนเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาว คือ มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ความสำคัญของตลาดทุน
1.  เป็นแหล่งระดมเงินทุน
2.  เป็นแหล่งสะสมทุน
3.  ธุรกิจสามารถระดมทุนได้อย่างรวดเร็ว มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
4.  เป็นแหล่งระดมเงินทุนที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการกู้ยืมจากแหล่งอื่น
5.  เป็นประโยชน์ต่อความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ เช่น ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น และป้องกันมิให้เงินออมลดค่าลงอันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ

ประเภทของตลาดทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.  ตลาดแรกหรือตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่  คือ แหล่งกลางที่มีการเสนอขาย หรือจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ครั้งแรกแก่ประชาชน หรือนิติบุคคลทั่วไป หลักทรัพย์ที่นำออกจำหน่ายได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ หรือพันธบัตร ฯลฯ
2.  ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ คือ แหล่งกลางในการติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว  การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรองเป็นเพียงการโอนเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นเท่านั้น ตลาดรองไม่ได้ทำหน้าที่ระดมเงินทุนจากประชาชน แต่ทำหน้าที่สนับสนุนการระดมเงินออมจากตลาดแรก และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขาสามารถขายหลักทรัพย์นั้นได้เมื่อต้องการเงินสด หรือเมื่อต้องการได้กำไรจากการขายหุ้น
ตราสารทางการเงิน  คือ  หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง
ตราสารทางการเงินที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.  ตราสารทุน  เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย
2.  ตราสารหนี้  เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น  “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้  ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ยและวันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน
3.  หน่วยลงทุน  เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า “กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือ  ชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม”จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซี่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตนเอง
4.  ตราสารอนุพันธ์  เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการ ซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้นสามัญ  ดัชนีหลักทรัพย์  อัตราแลกเปลี่ยน  ทองคำ  น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ  “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ราคาตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม หลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน จึงให้ผลตอบแทนและมีความเสี่ยงที่มากน้อยแตกต่างกัน การจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด  จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการลงทุนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และความคาดหวังในผลตอบแทนที่จะได้รับของผู้ลงทุนแต่ละคน  ซึ่งมักแปรผันไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละช่วงเวลา
องค์กรกำกับดูแลระบบการเงินไทย
1.  บทบาทของรัฐบาล
- กำหนดนโยบาย (Establishing the Policy) รัฐบาลมีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อมในระบบการเงินเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพผ่านนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง อาทิเช่น จัดหาเงินทุนให้กับรัฐบาล การบริหารหนี้สาธารณะ และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- การกำกับดูแล (Supervision) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในระบบการเงินของประเทศ โดยผ่านหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผลลัพธ์ 3 ประการ ได้แก่ การคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย   การรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือในตลาดการเงิน และการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตลาดเงินตลาดทุน

2.  บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
- ดูแลการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ของบริษัทที่ต้องการกระจายหลักทรัพย์แก่ประชาชน
- กำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อดูแลผู้ประกอบอาชีพในการเป็นนายหน้าการค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน  กองทุนรวม  กองทุนส่วนบุคคล
- ดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นตลาดรองสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์  
- การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
- การป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
3.  บทบาทของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เสริมสร้างการระดมเงินลงทุนระยะยาว เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
- จัดให้มีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
- ดูแลและคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ลงทุน
- ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนโดยรวมของประเทศ

การออมและการวางแผนทางการเงินสำหรับข้าราชการ ( กบข.)
แผนทางเลือกการลงทุน มีให้สมาชิกเลือก 5 แผน ดังนี้
1.  แผนหลัก : การลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และมีเป้าหมายผลตอบแทน การลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ ภายใต้ความเสี่ยงที่พอเหมาะสมาชิกที่ไม่ได้แจ้งความประสงค์จะเปลี่ยนแผน กบข. จะนำเงินของท่านมาบริหารอยู่ในแผนหลัก
2.  แผนผสมหุ้นทวี :  การลงทุนมีการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท และด้วยสัดส่วนการลงทุนที่มีตราสารทุน (หุ้น) มาก จึงอาจมีความผันผวนของราคาสูงในแต่ละช่วง (ในระยะสั้นมีโอกาสขาดทุนได้) เพื่อแลกกับโอกาสในการทำกำไรที่สูงในระยะยาวเหมาะสำหรับสมาชิกที่มีอายุน้อยและมีระยะเวลาในการลงทุนยาว
3.  แผนตราสารหนี้ : เลือกลงทุนเฉพาะหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหนี้(ระยะสั้นและ   ระยะยาว) เท่านั้น ไม่มีการลงทุนในตราสารทุน ความเสี่ยงจากการลงทุนค่อนข้างต่ำ หมายถึงโอกาสสร้างผลตอบแทน ที่น้อยด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับสมาชิกที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ รับได้กับการค่อย ๆ สะสมผลตอบแทน ทีละเล็กทีละน้อย
4.  แผนตลาดเงิน : ลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะสั้นเท่านั้น ผลตอบแทนจึงน้อยกว่าแผนการลงทุนอื่นทุกแบบ มีโอกาสที่ผลการลงทุนอาจต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ เน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นสำคัญ มีความเสี่ยงต่ำที่สุดจากแผนเหมาะสำหรับสมาชิกที่เหลือระยะเวลาในการลงทุนน้อยหรือใกล้เกษียณ
5.  แผนสมดุลตามอายุ : เป็นแผนการลงทุนใหม่ที่เปิดตัวเมื่อมีนาคม 2556  มีการปรับลดความเสี่ยงของสินทรัพย์ลงทุนเมื่อสมาชิกอายุเพิ่มขึ้น มีการปรับความเสี่ยงของแผนให้สมาชิกอัตโนมัติ สมาชิกเลือกเปลี่ยนแผนนี้เพียงครั้งเดียวก็ไม่ต้องกังวลต่อไปว่าถึงเวลาเปลี่ยนแผนเพื่อให้สอดคล้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร
เหมาะสำหรับสมาชิกทุกคน สมาชิกที่อายุราชการมากกว่า 60 ปี ก็สามารถเลือกแผนนี้ได้

การออมเพิ่ม
การบริการที่ กบข. เปิดโอกาสให้สมาชิกแจ้งความประสงค์ออมเงินกับ กบข. ได้มากกว่าอัตราการออมปกติ 3% ของเงินเดือน โดยมีอัตราการออมเพิ่มให้เลือกได้ตั้งแต่ 1% -12% ของเงินเดือน และเมื่อรวมกับอัตราการออมปกติแล้วไม่เกิน 15% ของเงินเดือน โดยรัฐยังคงส่งเงินสมทบในอัตรา 3% และเงินชดเชย 2% ของเงินเดือนสมาชิกเช่นเดิม
การออมต่อการบริหารเงินออมสำหรับสมาชิกที่เกษียณอายุราชการ หรือลาออกจากราชการ และสิ้นสุดสมาชิกภาพจาก กบข. แต่ยังประสงค์จะให้ กบข. บริหารเงินต่อให้เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง

GPF Web Service : บริการทันใจ จัดการได้เอง ช่องทางการติดต่อ กบข. ผ่านบริการออนไลน์ ที่สมาชิกสามารถทำรายการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังนี้
1.  เข้าเว็บไซต์ กบข. www.gpf.or.th และเลือก GPF Web Service
2.  ใส่รหัสประจำตัว (13 หลัก) และรหัสผ่านที่ได้รับจาก กบข. หากไม่ทราบหรือลืมรหัสผ่าน คลิกที่ปุ่ม  “ลืมรหัสผ่าน” เพื่อทำการขอรหัสผ่านใหม่ด้วยตนเอง
3.  กรอกรหัสประจำตัวประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น