ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ
หลักสูตรฝึกอบรม : โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and transparency assessment) ของหน่วยงานภาครัฐ รุ่นที่ 1
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงาน ป.ป.ช.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการของรัฐ
ความรู้ที่แบ่งปัน
1.สถานการณ์ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและแนวทางการแก้ไข โดย ศาสตราจารย์ ดร.ภักดี โพธิศิริ
2.การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดย ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย
3.สัมมนาองค์ประกอบหลักที่สำคัญและจำเป็นในการประเมิน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การทุจริตคอร์รัปชัน วัฒนธรรมคุณธรรม และคุณธรรมในการทำงาน
วิทยากรจากสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงาน กพ. และสำนักงาน ป.ป.ช.
นายอุทิศ บัวศรี ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
นายธิติ เมฆวณิชย์ ผอ.สำนักป้องกันการทุจริตภาครัฐ
นายอัมรินทร์ ศรีหิรัญ ผอ.ส่วนวิชาการรักษาความปลอดภัย
นางสุทธิรัตน์ เอื้อจิตรถาวร นักบริหารทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ
น.ส.ธนนันท์ สิงหาเสม นักวิชาการอาวุโส
ปัญหาการทุจริตในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สั่งสมติดต่อกันมายาวนาน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงของประเทศ รวมถึงภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อสายตาของประชาคมชาวโลก ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เล็งเห็นว่าการดำเนินการโดยลำพังตามกรอบอำนาจหน้าที่ไม่สามารถที่จะทำให้ปัญหาลดลงได้โดยรวดเร็วตามความคาดหวังของสังคม จำเป็นต้องใช้มาตรการทางด้าน
การป้องกันที่จะช่วยแก้ปัญหาที่สาเหตุโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชันควบคู่กันไปกับการปราบปรามนำคนกระทำความผิดมาลงโทษอย่างเฉียบขาด
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกภาคส่วน จัดทำขึ้น “ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” ขึ้น โดยมีเป้าหมายในเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมสู่สังคมที่มีวินัยคุณธรรม จริยธรรม และร่วมกันต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดย
ระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 – 2557 มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่สาเหตุเพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.รณรงค์เสริมสร้างสังคมไทยมีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม : ปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและสร้างวินัยแก่ทุกภาคส่วน
2.สร้างเครือข่ายจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : รวมพลังแผ่นดินป้องกันปราบปรามการทุจริต
3.พัฒนาระบบและกลไกในการตรวจสอบ ควบคุม กระจายและถ่วงดุลอำนาจมีประสิทธิภาพ : เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่หน่วยงานต่อต้านการทุจริต
4.สังคมรู้เท่าทัน ร่วมคิดป้องกันการทุจริต : สร้างบุคลากรมืออาชีพป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 - 2560 มุ่งให้ สังคมไทยมีวินัยโปร่งใสยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจิตเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อยกระดับจิตสำนึกรับผิดชอบในประโยชน์ของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองและบุคลากรในหน่วยงานต่อต้านการทุจริต : โดยส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอ ส่งเสริมการใช้การกำหนดบทลงโทษในประมวลจริยธรรมแก่ทุกภาคส่วน การใช้การศึกษาและศาสนาเป็นเครื่องมือ การปลูก – ปลุก- ปรับเปลี่ยนฐานความคิด และดูแลคุณภาพชีวิตและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและข้าราชการ
2.เพื่อพัฒนาระบบบริการต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพมีบูรณาการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ กับแผนยุทธศาสตร์ระบบองค์กรของหน่วยงานต่อต้านการทุจรติรวมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนและทิศทางประเมินผลที่ชัดเจน : ประสานการทำงานและการบริหารระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สร้างความเข้มแข็งการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชนในการต่อต้านการทุจริต พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง และปรับปรุงกฎหมายรวมถึงการพัฒนาระเบียบหลักเกณฑ์ข้อบังคับในแต่ละหน่วยงานหลักในการต่อต้านการทุจริตให้สอดคล้องกัน
3.เพื่อพัฒนาระบบ กลไกและมาตรการที่สนับสนุนให้สาธารณะและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตเกิดความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัย : ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการมาตรการและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สร้างเสริมระบบการร้องเรียนให้กับองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ต่อต้านการทุจริต
4.เพื่อยกระดับสมรรถนะการดำเนินงานของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในด้านการต่อต้านทุจริตให้เท่าทันสถานการณ์และได้มาตรฐานสากล : สร้างองค์ความรู้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยการศึกษาวิจัย
และพัฒนา พัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ และสร้างบุคลากรเชี่ยวชายเฉพาะสาขาสำหรับตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตรายสาขา
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของไทย (Corruption Perceptions Index : CPI) ซึ่งในปี 2556 อยู่อันดับที่ 5 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 102 ของโลก (ปี 2555 อยู่ที่อันดับ 88) โดยที่มีฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับ 4 ของอาเซียน นั่นหมายถึงการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคอร์รัปชั่นของดีกว่าประเทศไทย
บทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ฯ โดยการสร้างความโปร่งใสและยกระดับคุณธรรมของการดำเนินงาน จึงมีแนวคิดนำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ (Transparency Index : TI) สำนักงาน ป.ป.ช. โดยศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน (Integrity Assessment : IA) ของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตและสิทธิมนุษยชน (Anti - Corruption and Civil Rights Commission : ACRC) สาธารณรัฐเกาหลี มาบรูณาการเครื่องมือการประเมิน เนื่องจากทั้ง 2 แนวคิดมีความคล้ายคลึงกันมาสร้างเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างการป้องกันการทุจริตครอร์รัปชันของประเทศเข้าด้วยกันเป็น การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity & Transparency Assessment : ITA) หน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ นำกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องมาเป็นเกณฑ์ในการจัดทำ ได้แก่
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 74
2.ประมวลกฎหมายอาญา หมวดความรับผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
3.พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พงศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2554
4.พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
5.ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา พ.ศ. 2543
6.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พงศ. 2544
7.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2544
8.พรบ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487
9.จรรยาบรรณสากลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
10.จรรยาบรรณเจ้าหน้าที่ของรัฐในกลุ่มเอเซีย – แปซิฟิค
โดยการประเมินนี้เป็นลักษณะเชิงบวกจากหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และจากการสำรวจการับรู้ของบุคคลภายนอกที่มารับบริการและบุคลากรภายในหน่วยงาน โดยจะให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1.ความโปร่งใส (Transparency) เป็นการวัดระดับการปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือของกระบวนการขั้นตอนที่ใช้ในการดำเนินงานให้บริการอย่างโปร่งใสและด้วยความเป็นธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย
1.1การดำเนินงานขององค์กร เป็นการวัดหลักเกณฑ์ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ตามกฎหมาย ตามโครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎหมายกำหนด
1.2การตอบสนองข้อร้องเรียน เป็นการวัดถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ
2.ความรับผิดชอบ (Accountability) เป็นการวัดคุณธรรมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน การใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อประสิทธิผลและคุณภาพของงาน
3.การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption) การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการไม่เป็นธรรม และไม่โปร่งใส ไม่เป็นตามกระบวนการมาตรฐานในระหว่างการส่งมอบการบริการและขั้นตอนการให้บริการ การเลือกปฏิบัติเมื่อได้รับการเสนอเงื่อนไขพิเศษหรือการจูงใจ ซึ่งรวมถึง การจัดหาเงินเพิ่มพิเศษ การเรี่ยไร การขอรับบริจาค และสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกจากผู้มาติดต่องานด้วย และเป็นการวัด 2 มุมมองจากประสบการณ์ตรง และมุมมองการรับรู้ของประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4.วัฒนธรรมคุณธรรม (Integrity Culture) เป็นการวัดลักษณะวัฒนธรรมภายในและระบบการควบคุมการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อสร้างสมมติฐานหลายมิติเกี่ยวกับปัจจัยการเกิดทุจริตคอร์รัปชันและสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
5.คุณธรรมในการทำงาน (Work Integrity) อันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และความเป็นธรรมในการมอบหมายงาน (หมายถึงระดับความโปร่งใสและความเป็น
ธรรมในการปฏิบัติงานโดยปราศจากการหวังผลประโยชน์ส่วนตน)
แนวทางในการประเมินฯ ซึ่งใช้แบบสำรวจ Evidence Base Integrity & Transparency Assessment และ internal Integrity & Transparency Assessment โดยมีการประเมินจากมุมมองภายนอกองค์กร และเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน
แบบประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสการดำเนินงาน (Integrity & Transparency Assessment : ITA) หน่วยงานภาครัฐ สำหรับบุคคลภายนอก
ส่วนที่ 1 ความคิดเห็นด้านคุณธรรมการดำเนินงานต่อหน่วยงาน โดยให้ตอบความเห็น ซึ่งมี 5 ระดับได้แก่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น