ผู้เล่าเรื่อง : นางสาวปิยวรรณ์ สกุลพิชัยรัตน์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
หน่วยงาน : สำนักงานเลขานุการกรม
หลักสูตรฝึกอบรม : เรียนรู้และเข้าใจก่อนเข้าสู่โลกของ Cloud Computing กระทรวงการคลัง
หน่วยงานผู้จัด : สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการคลังและบัญชีภาครัฐ ร่วมกับกระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
๑) เพื่อให้เข้าใจโลกของ Cloud Computing
๒) เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ในนวัตกรรมของระบบสารสนเทศ
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : โลกของ Cloud Computing
เทคโนโลยี Cloud Computing เป็นนวัตกรรมหนึ่งในโลกสารสนเทศ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากบริษัทที่ให้บริการต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ประกอบกับปัจจุบันเรื่องของการสร้างเครือข่าย รวมถึงการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิทัลต่างๆ ยิ่งทำให้ธุรกิจ Cloud Computing ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น หลายหน่วยงานเล็งเห็นความสำคัญในด้านการสำรองข้อมูล และการให้บริการ ดังนั้นการทำความเข้าในถึงเทคโนโลยี Cloud Computing จึงเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความจำเป็นมากในปัจจุบัน
ความหมาย
Cloud Computing เป็นการพัฒนาล่าสุดของระบบคอมพิวเตอร์ที่รวมเอาการจัดการระบบที่หลากหลายมาไว้ด้วยกัน เป็นรูปแบบการให้ความสะดวกในการใช้เครือข่ายตามต้องการ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล แอพพลิเคชั่นบริการ ซึ่งผู้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงแค่เชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ค Cloud Computing จึงเป็นที่ยอมรับและมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมไอที มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2009 เช่น Google , Amazon , Yahoo , IBM , Microsoft รวมถึงผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตอื่นๆ ก็มีการนำระบบนี้มาใช้กันเป็นจำนวนมาก
เข้าใจง่ายๆ ก็คือ Cloud Computing หรือ Cloud Service คือเราเข้าอินเตอร์เน็ตให้ได้ และเราก็จะใช้งานโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ ผู้ให้บริการบนโลกอินเตอร์เน็ต เขาก็จะเตรียมไว้ให้เราแล้ว
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : โลกของ Cloud Computing
เทคโนโลยี Cloud Computing เป็นนวัตกรรมหนึ่งในโลกสารสนเทศ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากบริษัทที่ให้บริการต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ประกอบกับปัจจุบันเรื่องของการสร้างเครือข่าย รวมถึงการเชื่อมต่อด้วยความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิทัลต่างๆ ยิ่งทำให้ธุรกิจ Cloud Computing ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น หลายหน่วยงานเล็งเห็นความสำคัญในด้านการสำรองข้อมูล และการให้บริการ ดังนั้นการทำความเข้าในถึงเทคโนโลยี Cloud Computing จึงเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความจำเป็นมากในปัจจุบัน
ระบบการทำงานของ Cloud Computing นั้น สามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้หลายประเภท โดยแบ่งตามกลุ่มผู้ใช้ การให้บริการ และประเภทของเทคโนโลยี ดังนี้
1. แยกตามกลุ่มผู้ใช้
1.1 Cloud ระดับองค์กร เช่น Cloud Library
1.2 Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail
1.3 Cloud ผสมผสาน เช่น Dropbox
2. แยกตามการให้บริการ
2.1 Public Cloud การให้บริการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
2.2 Private Cloud การใช้งานภายในองค์กร
2.3 Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เลือกแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ ได้
3. แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
3.1 SaaS (Software as a Service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์เวร์หรือแอพพลิชั่นบน Cloud
3.1.1 Google Document ให้บริการโปรแกรมใช้งานในออฟฟิศต่างๆ
3.1.2 ระบบการรับ-ส่งอีเมล์ และบริการซอฟตแวร์ เช่น Hotmail , Yahoo
3.2 IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
3.3 PaaS (Platform as a Service ) บริการแพลทฟอร์ม คือ ให้บริการนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม โดยผู้รับบริการสามารถพัฒนาโปรแกรมระบบ
ข้อดีและข้อจำกัดของ Cloud Computing กับการนำมาประยุกต์ใช้กับห้องสมุดดิจิทัล
คำว่า Cloud ของ Cloud Computing มาจากสัญลักษณ์รูปเมฆที่ใช้แทนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เริ่มใช้อินเตอร์เน็ต จะสามารถเข้าถึงหรือทำการสืบค้นสารสนเทศได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ดังนั้น Cloud เทียบได้กับเมฆปกคลุมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และผู้ใช้จำนวนมหาศาล
Cloud Computing มีลักษณะเด่นและก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ได้แก่
1. ลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน การเสียค่าใช้จ่ายจะคิดตามส่วนที่เปิดใช้งานเท่านั้น ใช้เยอะจ่ายเยอะ ใช้น้อยจ่ายน้อย ถือเป็นจุดแข็งของ Cloud
2. สามารถสร้างระบบและขยายขนาดจัดเก็บได้ตามความต้องการและรวดเร็ว สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ระบบจะทำการตั้งค่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยระบบอัตโนมัติ
3. บริการสารสนเทศ (Information) ทำได้ง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา เพียงมีอินเตอร์เน็ตสำหรับเชื่อมต่อ
4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อดูแลระบบ
5. มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ ในการใช้บริการ Cloud Computing จะได้รับการบริการเสริม มีระบบรักษาปลอดภัย มาตรการป้องกันระบบล่ม เพื่อให้ระบบพร้อมให้บริการตลอดเวลา สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ประโยชน์ของ Cloud Computing ยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเครื่องมือหลากหลายประเภทที่ให้บริการเพื่อลดภาวะโลกร้อน ได้แก่
1. ประเภท Sync&Share เช่น Live Mesh, Yousendit , Dropbox
2. ประเภท Post&&Publish เช่น Word Press , Slideshare , Flickr
3. ประเภท Collaborate&Create เช่น Wetpaint , PBWorks , Google Docs
4. ประเภท Connect&Convere เช่น Facebook , Google Talk , Meebo
ข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้ใช้บริการต้องคำนึงถึง ได้แก่
1. บริษัทผู้ใช้บริการต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
2. มีการกำหนดราคาที่แตกต่างกันในแต่ละผู้ให้บริการ และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างซับซ้อน
3. การขาดมาตรฐานเปิด (Open Standard) ระหว่าง Cloud Computing ผู้ให้บริการซึ่งต่างคนต่างมี Application Programming Interfaces (API) เป็นของตนเอง ซึ่งนำไปสู่การผูกขาด
4. ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เมื่อข้อมูลและแอพพลิเคชั่นถูกส่งไปยังกลุ่ม Cloud ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
5. ความน่าเชื่อถือของบริษัท เช่น บริษัทผู้ให้บริการ Cloud ยังคงให้บริการต่อไปได้อีกนานหรือไม่ ควรมีความระมัดระวังในการเลือกผู้ให้บริการ
จากข้อดีและข้อเสียดังกล่าว ห้องสมุดดิจิทัลสามารถนำ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื่องจากห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะที่สำคัญคือ การนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายมาใช้ ในปัจจุบันรูปแบบของหนังสือเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการอ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ปลายทางและต้นทาง สามารถเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา เป็นการลดพื้นที่ในการจัดเก็บให้มีขนาดเล็กลง ช่วยลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง สามารถรองรับการขยายตัวของทรัพยากรและจำนวนผู้ใช้ที่เข้าใช้บริการ
Cloud Computing สนับสนุนระบบการสืบค้นข้อมูลและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มความสามารถในการแชร์ข้อมูลข่าวสารรวมถึงแหล่งที่มาของทรัพยากรได้อย่างมีศักยภาพ
บทสรุป
หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่องเทคโนโลยี Cloud Computing มีแนวโน้มว่าห้องสมุดดิจิทัลจะนำประโยชน์ของ Cloud Computing มาช่วยเสริมในเรื่องการให้บริการแก่ผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเก็บข้อมูลที่เป็นดิจิทัล แล้วนำไปเก็บไว้ใน Cloud ซึ่งมีพื้นที่คลังจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถรองรับการเข้าใช้งานได้จำนวนมาก ยังสามารถนำมาใช้ในบริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ บริการยืมระหว่างห้องสมุด เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก เพียงแค่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้
การนำ Cloud Computing มาใช้กับงานห้องสมุดดิจิทัล มีทั้งประโยชน์ที่จะช่วยสนับสนุนระบบงานของห้องสมุดดิจิทัล ทำให้ลดต้นทุนการผลิต ลดงบประมาณ ลดการใช้พื้นที่ มีการประกันความเสี่ยง ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ลดภาวะโลกร้อน ลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน และข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นดิจิทัลมีการใช้งานอย่างคุ้มค่า ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน Cloud Computing ก็ยังมีข้อกำจัดบางประการและสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบคือ การเลือกใช้บริการจาก Cloud Computing ต้องพิจารณาผู้ให้บริการให้ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของข้อมูลที่อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น