ดำรงตำแหน่ง : เจ้าพนักงานธุรการ ชำนาญงาน
หน่วยงาน : ฝ่ายสารบรรณ สำนักงานเลขานุการกรม
หลักสูตรฝึกอบรม : เข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ
หน่วยงานผู้จัด กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
๑) .เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและปฏิบัติไม่ยาก
๒) เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ประพฤติตาม และเป็นการปฏิบัติเพื่อถวายเป็พระราชกุศลต่อสถาบันกษัตริย์และบรรพบุรุษในอดีต
วันธรรมสวนะ
วันโกน( เป็นภาษาพูด) หมายถึง วันก่อนวันพระ 1 วัน ได้แก่ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ1 วัน
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ประวัติความเป็นมา
ในสมัย พุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่ เขาคิชกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้น พระเจ้าพิมพิสารได้กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงอณุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
ข้อควรปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1. ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า รักษาศีล ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม
2. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด งดเว้นอบายมุข
3. ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
4. ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
หลักธรรมสำคัญที่
การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญจิตภาวนา โดยเฉพาะในครอบครัวผู้นำครอบครัวควรจะนำสมาชิกในครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน หรือร่วมกันปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ฟังธรรม เจริญภาวนา นอกจากนั้นอาจปรึกษาหารือหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ปัญหาในครอบครัว โดยใช้หลักธรรม เช่น ส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิกอบายมุข เป็นต้น
ในกรณีที่ไม่เป็นวันหยุดสามารถกระทำได้อย่างง่าย ๆ เช่น ทำบุญตักบาตรกับพระภิกษุทั่วไป ตอนเย็นอาจไปสวดมนต์ไหว้พระที่วัดหรือการร่วมทำบุญให้ทานกับบุคคลที่ด้อย โอกาสเป็นต้น การ ปฏิบัติตนให้เป็นเยี่ยงอย่างเช่นนี้ จะส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติตาม เป็นแนวทางที่ส่งผลให้มีจิตใจที่เปี่ยมสุข อย่างน้อยในหนึ่งสัปดาห์เราก็สามารถร่วมทำบุญกุศล เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมโลก และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น