วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายวัฒนธรรมนนท์ เยินยลวัฒนธรรมอาเซียน

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โครงการฝึกอบรม  เรื่อง การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โครงการฝึกอบรม  เรื่อง เครือข่ายวัฒนธรรมนนท์ เยินยลวัฒนธรรมอาเซียน
ผู้เล่าเรื่อง :  นางสาวจันทิมา ตันติกุลวัฒนา
               นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
               สำนักงานคลังจังหวัดนนทบุรี

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
ประเด็นสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่คนไทย
ควรรู้ ควรเข้าใจ ก่อนจะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน  คือ
๑. การเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
- การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง                              
- การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
- การเปลี่ยนแปลงด้านลม ฟ้า อากาศ และสิ่งแวดล้อม 
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการประเทศ
๒.  การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศ
แนวคิดเรื่องประชาคมอาเซียนด้านสังคมวัฒนธรรม (ASCC)
๑.      ประชาคมอาเซียนกับเสาหลัก ๓ เสา
นอกจากประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศ ยังมีคู่เจรจาอีก ๓ + ๓ คือ จีน เกาหลี  ญี่ปุ่น อินเดีย
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งการรวมตัวกันเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข้งของกลุ่มในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ให้มากยิ่งขึ้น โดยให้อยู่บนเสาหลัก ๓ เสา คือ ความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งด้านการเมืองและความมั่นคง และความเข้มแข็งทางสังคมและวัฒนธรรม
๒.      กฎบัตรอาเซียน คือ ธรรมนูญของอาเซียนในยุคใหม่ เป็นเอกสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่เขียนขึ้นมาจาก ข้างบน คือ เขียนโดยผู้ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อส่งให้ คนข้างล่าง คือหน่วยงานและองคาพายพในทุกประเทศ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้
มุมมองการทำงานของคนไทยที่ชาวต่างชาติมอง
๑.      ชอบยึดติดแบบเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง มักรู้สึกสร้างปัญหา น่ารำคาญ
๒.      การโต้แย้ง คนไทยไม่กล้าโต้แย้งยอมรับความเสียเปรียบขี้เกรงใจ
๓.      ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด ไม่อยากมีปัญหา ไม่อย่างเรื่องมาก มักเก็บความสามารถเอาไว้
๔.      ความรับผิดชอบ มักไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาการทำงาน ชอบสะสมงานไว้
๕.      วิธีการแก้ปัญหา ไม่วางแผนเผื่อไว้ ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่สนใจอดีตและอนาคตไม่คิดเอง ต้องรอคำสั่ง
๖.      บอกแต่ข่าวดี ไม่ค่อยบอกปัญหาเจ้านาย จนปัญหาหมักหมมไว้แก้ไขยาก
๗.      ชอบคำพูดว่า ไม่เป็นไร ทำให้มีปัญหาไม่สามารถหาคนรับผิดชอบได้
๘.      ทักษะในการทำงาน ทำงานเป็นทีมไม่ได้ ไม่มีทักษะในการทำงาน
๙.      ความซื่อสัตย์  คนไทยชอบโกหกเล็กๆ น้อยๆ  เช่น มาสายเพราะรถติด
๑๐.  ระบบพวกพ้อง  ให้ประโยชน์ ช่วยเหลือเพื่อน ทำให้เกิดปัญหากับบริษัท
๑๑.  คนไทยแยกไม่ออกระหว่างเรื่องานกะเรื่องส่วนตัว  ออกแนวข่าวลือ นินทา ทำให้งานไม่ดี
จากบทความดังกล่าว เราในฐานะประชาชนคนไทยต้องร่วมมือร่วมใจสานสัมพันธ์เพื่อลดความขัดแย้ง
ทางสังคม และพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ฝีมือแรงงาน และทักษะในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม การก้าวสู่ AEC และวัฒนธรรมที่หลากหลายที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น