วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Microsoft Access ๒๐๐๗

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)

กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖
โครงการฝึกอบรม  เรื่อง Microsoft Access ๒๐๐๗
ผู้เล่าเรื่อง : นายสุจิตร ชุมชัย
             นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริการการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ
                   โปรแกรม Microsoft Access ๒๐๐๗เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ สำหรับจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ฐานข้อมูล จากนั้นจึงจะนำเอาข้อมูลสร้างเป็นแบบฟอร์ม เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลให้สะดวกและง่ายขึ้นออกมาเป็นรายงานที่สวยงามเป็นระเบียบ และอื่นๆ อีกมากโดยการใช้งาน Access นั้นต้องมีการเกี่ยวข้องกับเรื่องฐานข้อมูล ดังนั้นก่อนที่จะใช้งานของ Access ต้องมีความเข้าใจในฐานข้อมูลก่อน ซึ่งฐานข้อมูล (Database)  คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่รายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่าง ๆ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ  และมีความสัมพันธ์กัน  เพื่อประโยชน์ในการจัดการและรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         ๑.      การสร้างตารางข้อมูล
ให้คลิกเลือกแท็บCreate แล้วเลือกคำสั่งสร้างในกลุ่ม Tables ซึ่งมีวิธีการสร้าง ๔ แบบ
๑.      Datasheet View เป็นการสร้างจากการป้อนข้อมูลบนตาราง
๒.      Design View เป็นการสร้างด้วยมุมมองออกแบบ
๓.      Table Template  เป็นการสร้างด้วยต้นแบบที่มากับโปรแกรม Microsoft Access
๔.      Share Point Lists เป็นตารางข้อมูลเชื่อมดยงกับ Share Point
๒.     ฟอร์ม ฟอร์มสามารถแบ่งออกเป็น ๕ แบบ
๑.      ฟอร์มเดี่ยว (Single Form) เป็นฟอร์มแสดงข้อมูล ๑ เรคคอร์ดต่อ ๑ เพจ
๒.      ฟอร์มต่อเนื่อง (Continue form) เป็นฟอร์มแสดงเรคคอร์ด
๓.      ฟอร์มแผ่นตาราง (Datasheet form) เป็นฟอร์มแสดงรายการเรคคอร์ดของมุมมองแผ่นตาราง
๔.      ฟอร์ม Pivot Table เป็นฟอร์มแสดงข้อมูลแบบ Pivot Table
๕.      ฟอร์ม Pivot Chart เป็นฟอร์มแสดงกราฟข้อมูลในแบบ Pivot Chart
การสร้างฟอร์ม ในการสร้างฟอร์มตามปกติจะต้องเลือกตารางข้อมูลหรือคิวรี่เป็นลำดับแรก
ยกเว้นถ้าต้องการนำฟอร์มไปใช้ในลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ต้องการใช้ข้อมูลใดๆเลย ให้ทำการสร้างโดยไม่ต้องเลือกตารางข้อมูลและคิวรี่
          ฟอร์มสามารถสร้างได้ ๓ วิธีหลัก คือ เครื่องมือสร้างฟอร์ม Form wizard และมุมมองออกแบบ Form design)
          ๓.     การรายงาน รายงานสามารถแบ่งออกเป็น ๓รูปแบบ
๑.      รายงานคอลัมน์(Columnar report)เป็นรายงานแบบ ๑ เรคคอร์ดต่อ ๑ หน้ารายงาน
๒.      รายงานตาราง(Tubular report)เป็นรายงานแบบแถวและคอลัมน์ (Row-column Format)
๓.      รายงานป้ายชื่อ(Label report)เป็นรายงานสำหรับการพิมพ์ป้าย (Label) 
การสร้างรายงานสามารถทำได้ ๓ วิธี
-          เครื่องมือสร้างรายงาน
-          Report Wizard คำสั่งสร้างด้วย Wizard
-          Report Design คำสั่งสร้างรายงานเปล่าในมุมมองออกแบบ
๔.      มาโคร ประเภทมาโครมี ๒ ประเภท คือ
๑.      Standalone macro มาโครประเภทเป็นแบบ Public สร้างขึ้นแล้วจะเก็บอยู่ใน Category ของมาโครใน Navigator pane อ๊อบเจคต่างๆ สามารถนำมาใช้ได้
๒.   Embedded macro มาโครประเภทนี้จะฝังอยู่ฟอร์มหรือรายงานที่สร้างมาโครงสำหรับการตอบสนอง Event ซึ่งเริ่มใช้ในเว่อร์ชัน ๒๐๐๗
การสร้างมาโครสามารถสร้างได้จากคำสั่งในกลุ่ม Others [ocmU [ Create หรือใช้  Macro Builder

เครือข่ายวัฒนธรรมนนท์ เยินยลวัฒนธรรมอาเซียน

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โครงการฝึกอบรม  เรื่อง การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โครงการฝึกอบรม  เรื่อง เครือข่ายวัฒนธรรมนนท์ เยินยลวัฒนธรรมอาเซียน
ผู้เล่าเรื่อง :  นางสาวจันทิมา ตันติกุลวัฒนา
               นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
               สำนักงานคลังจังหวัดนนทบุรี

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
ประเด็นสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงทั่วโลกที่คนไทย
ควรรู้ ควรเข้าใจ ก่อนจะรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน  คือ
๑. การเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
- การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง                              
- การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
- การเปลี่ยนแปลงด้านลม ฟ้า อากาศ และสิ่งแวดล้อม 
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการประเทศ
๒.  การเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศ
แนวคิดเรื่องประชาคมอาเซียนด้านสังคมวัฒนธรรม (ASCC)
๑.      ประชาคมอาเซียนกับเสาหลัก ๓ เสา
นอกจากประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศ ยังมีคู่เจรจาอีก ๓ + ๓ คือ จีน เกาหลี  ญี่ปุ่น อินเดีย
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งการรวมตัวกันเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข้งของกลุ่มในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ให้มากยิ่งขึ้น โดยให้อยู่บนเสาหลัก ๓ เสา คือ ความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งด้านการเมืองและความมั่นคง และความเข้มแข็งทางสังคมและวัฒนธรรม
๒.      กฎบัตรอาเซียน คือ ธรรมนูญของอาเซียนในยุคใหม่ เป็นเอกสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่เขียนขึ้นมาจาก ข้างบน คือ เขียนโดยผู้ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อส่งให้ คนข้างล่าง คือหน่วยงานและองคาพายพในทุกประเทศ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้
มุมมองการทำงานของคนไทยที่ชาวต่างชาติมอง
๑.      ชอบยึดติดแบบเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง มักรู้สึกสร้างปัญหา น่ารำคาญ
๒.      การโต้แย้ง คนไทยไม่กล้าโต้แย้งยอมรับความเสียเปรียบขี้เกรงใจ
๓.      ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด ไม่อยากมีปัญหา ไม่อย่างเรื่องมาก มักเก็บความสามารถเอาไว้
๔.      ความรับผิดชอบ มักไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาการทำงาน ชอบสะสมงานไว้
๕.      วิธีการแก้ปัญหา ไม่วางแผนเผื่อไว้ ชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่สนใจอดีตและอนาคตไม่คิดเอง ต้องรอคำสั่ง
๖.      บอกแต่ข่าวดี ไม่ค่อยบอกปัญหาเจ้านาย จนปัญหาหมักหมมไว้แก้ไขยาก
๗.      ชอบคำพูดว่า ไม่เป็นไร ทำให้มีปัญหาไม่สามารถหาคนรับผิดชอบได้
๘.      ทักษะในการทำงาน ทำงานเป็นทีมไม่ได้ ไม่มีทักษะในการทำงาน
๙.      ความซื่อสัตย์  คนไทยชอบโกหกเล็กๆ น้อยๆ  เช่น มาสายเพราะรถติด
๑๐.  ระบบพวกพ้อง  ให้ประโยชน์ ช่วยเหลือเพื่อน ทำให้เกิดปัญหากับบริษัท
๑๑.  คนไทยแยกไม่ออกระหว่างเรื่องานกะเรื่องส่วนตัว  ออกแนวข่าวลือ นินทา ทำให้งานไม่ดี
จากบทความดังกล่าว เราในฐานะประชาชนคนไทยต้องร่วมมือร่วมใจสานสัมพันธ์เพื่อลดความขัดแย้ง
ทางสังคม และพัฒนาทักษะทางด้านภาษา ฝีมือแรงงาน และทักษะในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม การก้าวสู่ AEC และวัฒนธรรมที่หลากหลายที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทย 

การใช้งานแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)

กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖
ผู้เล่าเรื่อง  :  นายวรสิทธิ์   ประจันพล
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด สำนักการเงินการคลัง
หลักสูตรฝึกอบรม  :  “การใช้งานแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบของ 
                           นโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม”
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
                        เพื่อให้เข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจในบริบทของดุลยภาพทั่วไป    จากแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium : CGE) มาใช้เป็นเครื่องมือผ่านโปรแกรมคำนวณ GEMPACK มาใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญๆ ในเบื้องต้น พร้อมทั้งแปลผลลัพธ์จากแบบจำลอง CGE ได้อย่างถูกต้อง

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium : CGE) เป็นเครื่องมือที่นำแนวความคิดดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจภายใต้ข้อสมมติอิงตามทฤษฎี กล่าวไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะอยู่ในสภาวะสมดุลเสมอ หากเศรษฐกิจส่วนหนึ่งส่วนใด เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ไม่อยู่ในภาวะสมดุล ภาคเศรษฐกิจที่ไม่อยู่ภาวะสมดุล จะมีการปรับตัวตามพฤติกรรมของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะสมดุล หรือภาวะดุลยภาพทั่วไป และเมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะสมดุลแล้ว หากปัจจัยทางเศรษฐกิจภายนอกเปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบเชื่อมโยงถึงภายในระบบเศรษฐกิจ และตามพฤติกรรมของเศรษฐกิจในส่วนต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ โดยที่ระบบสมการในแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจมหาภาคในรูปเชิงคณิตศาสตร์ และมีการวัดออกมาเป็นในเชิงปริมาณ
ทั้งนี้แบบจำลอง CGE นำมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง และหลากหลาย เนื่องจากได้จำลองพฤติกรรมของกิจกรรมสำคัญๆ ทางเศรษฐกิจไว้ในแบบจำลองอย่างครบถ้วน เช่น การผลิต การบริโภค การลงทุน การส่งออก การนำเข้า การเก็บภาษี การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นต้น โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ และสามารถให้คำตอบในเชิงปริมาณซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปของทิศทางผลกระทบที่ชัดเจน ไม่ว่าผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลกระทบย้อนกลับระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ
แบบจำลอง CGE มีอยู่หลายประเภท ได้แก่ แบบจำลอง MONASH/ ORANI-G (วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาภาค) แบบจำลอง A-K (วิเคราะห์นโยบายสวัสดิการ) แบบจำลอง CAMGEM  แบบจำลอง GEMTAP (วิเคราะห์นโยบายภาษี) แบบจำลอง GTAP (วิเคราะห์ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก) แบบจำลอง LINKAGE และแบบจำลอง G-Cubed (วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม)
ขอบเขตของการใช้งานแบบจำลอง CGE เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านนโยบายที่จะกำหนดขึ้น (Policy Impact analysis) และวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินนโยบายที่ผ่านมา (Evaluating Policies analysis) รวมไปถึงการพยากรณ์ไปในอนาคต (Forecasting) และการที่จะทำให้นโยบายเกิดผลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด (Policy Optimization) ซึ่งที่ผ่านมาแบบจำลอง CGE ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการประเมินผลกระทบของนโยบายและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ   อาทิ
1. การปรับโครงสร้างภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการ  แข่งขัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างค่าใช้จ่ายภาครัฐ
3. การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน
4. การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าจ้างแรงงาน
5. การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
6. การเปิดเสรีทางการค้าผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุ
แบบจำลอง CGE ที่ใช้ในการอบรมครั้งนี้ คือ แบบจำลอง ORANI-G ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์เชิงพลวัต (Dynamic) การวิเคราะห์ภายใต้สภาวะตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect Competition) การแบ่งพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศออกเป็นหลายพื้นที่ การวิเคราะห์การกระจายรายได้ การวิเคราะห์นโยบายพลังงาน เป็นต้น
โครงสร้างแบบจำลอง ORANI-G ประกอบด้วย การผลิต การลงทุน การบริโภคของครัวเรือน อุปสงค์การส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐ การสะสมสินค้าคงคลัง อุปสงค์ต่อสินค้าเหลื่อม (margin demand) สมการเกลี่ยตลาด (Market clearing equation) สมการราคา การเก็บภาษี สมการมหาภาคและดัชนี และตลาดแรงงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณผลลัพธ์ของแบบจำลอง คือ โปรแกรม GEMPACK เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาระบบสมการแบบไม่เชิงเส้น (Non-linear) ขนาดใหญ่ ซึ่งโปรแกรม GEMPACK ใช้วิธีแก้ระบบสมการแบบไม่เชิงเส้นโดยการแปลงระบบสมการให้อยู่ในรูปสมการเชิงเส้นแล้วใช้เทคนิคการลดความผิดพลาดจากการแปลงเป็นเชิงเส้น (Linearization Error) เพื่อให้ได้คำตอบของประมวลผลสมการที่แท้จริง
ดังนั้น แบบจำลอง CGE ประเภทแบบจำลอง ORANI-G ที่ทำบนโปรแกรม GEMPACK จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสังคมได้ด้วยตนเองในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำ และทำให้เข้าใจกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจในภาพรวม รวมทั้งสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้กับแบบจำลอง CGE ประเภทอื่นได้
ความรู้เกี่ยวกับแบบจำลอง CGE ประเภทแบบจำลอง ORANI-G ที่ทำบนโปรแกรม GEMPACK ที่ใช้วิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการวิเคราะห์ในลักษณะที่ให้ตัวแปรต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจสามารถผันแปรได้อย่างอิสระตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จึงเป็นวิธีที่สามารถศึกษาหรือวิเคราะห์ผลกระทบทางตรง ทางอ้อม และผลกระทบย้อนกลับระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ได้อย่างละเอียด และตอบคำถามของตัวแปรเศรษฐกิจทั้งในระดับมหาภาคไปจนถึงระดับหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ
จากความรู้ดังกล่าวสามารถนำกลับมาปรับใช้กับงานด้านการสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยนำโปรแกรม GEMPACK มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม ที่ผ่านกลไกระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อให้การกำหนดนโยบาย และประมาณการเศรษฐกิจจังหวัด มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น