วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

งานนิทรรศการและการสัมมนาแผนการลงทุนพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2556

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ 3 : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556

ผู้เล่าเรื่อง นางสาวทัศนันท์ ชูรัตน์                                    
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กลุ่มงานบริหารการคลังและเศรษฐกิจ

นิทรรศการ และการสัมมนาแผนการลงทุนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของประชาชน....   เพื่อประชาชน  วันที่ 8 -12 มีนาคม 2556  ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ
วิสัยทัศน์  ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทยอยู่ดีกินดี มีความเสมอภาคและเป็นธรรม 
ยุทธศาสตร์  “ ยุทธศาสตร์ ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีเป้าหมายสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยง (Connectivity) หมายถึง การพัฒนาเครือข่ายขนส่ง เครือข่ายสารสนเทศ และวัฒนธรรม การเชื่อมโยงไทยกับเพื่อนบ้าน          ทั้งเศรษฐกิจ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เราจะเห็นการกระจายความเจริญ การลงทุนวางรากฐาน พัฒนาประเทศ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเมือง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ภายในประเทศ และต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำ โดยเน้นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ” เพื่อประเทศไทยก้าวสู่ “ศูนย์กลางระบบการขนส่งแห่งภูมิภาคเอเชีย”
                หลักการของยุทธศาสตร์  เป็นการต่อยอดรายได้จากฐานเดิม สร้างรายได้จากโอกาสใหม่ เพื่อความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                การเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมทุน (PPP)
                การร่วมทุนภาครัฐและเอกชน  Public Private Partner (PPP) คือ สัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการให้บริการสาธารณะทั้งในด้านพาณิชย์ เช่น การก่อสร้างทางด่วน ท่าเรือ และในด้านสังคม เช่น การก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในการออกแบบ ก่อสร้าง บริหารและบำรุงรักษาโครงการ และภาครัฐจะนำทรัพย์สิน เช่นที่ดิน เพื่อร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือ จ่ายค่าตอบแทนคืนให้กับภาคเอกชน ตามระยะเวลาสัญญา
            จุดเด่นของ พ.ร.บ.การร่วมทุนภาครัฐและภาคเอกชน (PPP)
1.  รัฐบาลสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีแผน
ยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (แผน PPP) และสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นระบบครบถ้วน ลดภาระงบประมาณจากการลงทุนที่ซ้ำซ้อนได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์
2. จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการให้เอชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) โดยมี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในรูปแบบ GPP
3. ลดขั้นตอนให้มีความกระชับ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน และกำหนดกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
4. ปรับปรุงบทบัญญัติให้มีความชัดเจน มีหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าโครงการและมีมาตรการรองรับการแก้ไข และการทำสัญญาใหม่
5.  มีข้อกำหนดสัญญามาตรฐานที่เป็นสากล สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับของภาคเอกชน
6.   จัดให้มีกองทุนส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อผลักดันให้มีการจัดทำโครงการ ที่รวดเร็วมากขึ้น
                การแปรยุทธศาสตร์สู่แผนการลงทุนระบบคมนาคม
- สร้างเศรษฐกิจใหม่ จากรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง เพื่อเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างความเจริญไปสู่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างความเจริญไปสู่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการขยายฐานเศรษฐกิจตามแนวโครงข่ายเส้นทางรถไฟ
- ปรับปรุงถนน เพิ่มประสิทธิภาพขนส่ง
- เพิ่มท่าเรือขยายการค้า
- เร่งต่อเชื่อมระบบรถไฟฟ้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน จีน ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย
- ปรับสนามบินใหม่ เพิ่มรายได้ท่องเที่ยว ขยายสนามบินนานาชาติ
- ขยายประตูการค้า ผ่านศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ
แหล่งที่มาเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท (ภายใต้ พ.ร.บ. PPP)
1. เงินงบประมาณ
2. เงินกู้อื่น ๆ (ในประเทศ และต่างประเทศ)
3. รายได้รัฐวิสาหกิจ
4. ความร่วมมือของ ภาครัฐ-ภาคเอกชน
ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุน
                            การลงทุนดังกล่าว จะใช้เงินทุน 2 ล้านล้านบาท เพื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งใหม่จะนำประเทศไทยสู่เปลี่ยนวิถีแห่งการเดินทางและการขนส่งของประเทศไทย การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย  พร้อมนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจ โอกาสใหม่ด้านการค้า การลงทุน ประชาชนจะได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นเท่าเทียมกัน การปฏิวัติระบบขนส่งใหม่นี้ จะเป็นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ให้ประสบความสำเร็จและเป็นจริงได้ เพื่อให้ประเทศไทยทั่วทุกภาค ทุกจังหวัดได้เติบโตไปพร้อมกัน  
ผลทางด้านเศรษฐกิจไทย ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทยังคงอยู่ภายใต้วินัยทางการคลัง โดยในช่วงระยะเวลาการลงทุนระหว่างปี 2556-2563  มีดังนี้
- ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นไม่เกินร้อยละ 50 
- GDP ขยายตัวเพิ่มปีละ 1% 
- การจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แสนตำแหน่ง ได้แก่ภาคการผลิต ก่อสร้าง ขนส่ง ท่องเที่ยว การจ้างงานระดับภูมิภาค
- สินค้าราคาสูงขึ้นไม่เกิน 0.16%
- ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ยเพียง 1%
- หนี้สาธารณะ 50%
- ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง จากร้อยละ 15.2 เหลือ ร้อยละ 13.2 หรือคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท ในปี 2556  และจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป
- สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรถรางเพิ่มขึ้น จาก 2.5% เป็น 5%
- สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำจาก 15% เป็น 19%
- ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อไป









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น