วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การใช้งาน Windows 7

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวทิพวรรณ สุธีกุล
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  : เจ้าพนักงานการคลังชำนาญงาน
หน่วยงาน :  กรมบัญชีกลางสำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐส่วน 1
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
                  1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ที่ได้พัฒนาขึ้นมา และการเปลี่ยนแปลงของระบบปฏิบัติการของ Windows 7
                2) เพื่อให้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ในการใช้งาน ตลอดจนวิธีการใช้งาน คุณสมบัติ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. การซ่อนและการแสดงนามสกุลไฟล์ นามสกุลของไฟล์หรือ File Extension คือส่วนขยายที่ใช้บอกประเภทของไฟล์ต้องเปิดใช้งานด้วยโปรกแกรมอะไร เป็นต้น เช่น ไฟล์ .doc คือเอกสารที่สร้างจากโปรแกรมWord
เวอร์ชั่นเก่า หรือ .
docx คือเอกสารที่สร้างจาก word 2007 โดยเริ่มแรกจะไม่แสดงนามสกุลไฟล์ แต่เราสามารถเปิดให้แสดงหรือซ่อนได้ โดยการเปิด windows ขึ้นมาเลือก Organize เลือก Folder and search option  เข้าเมนูคำสั่ง View ตรง Advanced settings  ถ้าจะโชว์นามสกุลให้เอาเครื่องหมาย ถูก หน้า Hide extension for know file types ออกและกด ok.
2. การย้ายไฟล์และโฟลเดอร์ (Move) การย้ายไฟล์หรือโฟลเดอร์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไดรว์เดียวกัน หรือจะย้ายข้ามไดรว์ได้ โดยการคลิกลากหรือตัด (Cut) ไปวาง ซึ่งจะมีข้อสังเกตดังนี้
 - การคลิกลากไอคอนไฟล์จากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์ที่อยู่ในไดรว์เดียวกันจะเป็นการย้ายไฟล์
 - การคลิกลากไอคอนไฟล์จากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์ที่อยู่คนละไดรว์ เช่น จากไดรว์ c ไปยังไดรว์ D จะเป็นการก๊อปปี๊ไฟล์โดยอัตโนมัติ
 - การเลือกไอคอนไฟล์หรือโฟลเดอร์  แล้วใช้คำสั่ง Cut จากนั้นใช้คำสั่ง Paste ที่ไดรว์หรือโฟลเดอร์ปลายทางจะเป็นการย้ายไฟล์ไม่ว่าจะอยู่ในไดรว์เดียวกันหรือคนละไดรว์ก็ตามย้ายไฟล์โดยการคลิกลาก การย้ายไฟล์ด้วยการคลิกลากนี้จะใช้วิธีคลิกลากจากที่หนึ่งไปวางอีกที่หนึ่งได้เลยโดยไม่ต้องใช้คำสั่งอะไร แต่จะทำได้เฉพาะภายในไดรว์เดียวกันเท่านั้น
ย้ายไฟล์ด้วยคำสั่ง Cut การย้ายไฟล์/โฟลเดอร์ ด้วยคำสั่ง Cut คือการตัดไฟล์จากที่หนึ่งแล้วนำไปวางอีกที่หนึ่ง ด้วยคำสั่ง Paste ซึ่งจะทำภายในไดรว์เดียวกันหรือต่างไดรว์ได้เช่นเดียวกัน
3. การบีบอัดไฟล์ (Compress) และการขยายไฟล์ที่บีบอัดไว้ การบียอัดหรือเรียกกันทั่วไปว่า Zip เป็นการทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะเหมาะสมกับไฟล์หรือโฟลเดอร์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของเรามีพื้นที่ว่างมากขึ้น โดยใน Windows 7 จะมีคำสั่งสร้างโฟลเดอร์ Compressed (zipped) Folder เก็บไฟล์หรือโฟลเดอร์
ที่บีบอัดให้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่น ๆ มาช่วยสร้างไฟล์
zip แต่อย่างใดดังนี้
การบีบอัดไฟล์ คลิกเลือกไฟล์/โฟลเดอร์ที่จะบีบอัด แล้วคลิกขวา เลือก Send to Compressed (zipped) folder เครื่องจะแสดงสถานะขณะบีบอัดไฟล์ปรากฏขึ้น เมื่อเสร็จแล้วผลที่ได้จะเป็นอีกโฟล์เดอร์หนึ่งต่างหากจากต้นฉบับซึ่งเป็นโฟล์เดอร์ที่มีรูปซิป

การขยายไฟล์ คลิกขวาบนไฟล์ zip และเลือก Extract All กำหนดไดรว์และโฟลเดอร์ที่จะวางไฟล์ที่ขยายแล้ว เครื่องจะแสดงสถานะขณะขยายไฟล์ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นโฟล์เดอร์ที่ได้ขยายไฟล์แล้ว

การสัมมนาเพื่อสำรวจและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภารกิจภาครัฐที่สามารถถ่ายโอนให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนภาครัฐในการจัดบริการสาธารณะ

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ 3 : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

ผู้เล่าเรื่อง  :  นายนัทพล บุญบรรเทิงวัฒน์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กลุ่มงานประเมินผล กองแผนงาน

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : หลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการจัดบริการสาธารณะ สภาพความจำเป็นและความเป็นไปได้
การสัมมนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ “โครงการศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจ การจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน” โดยการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวคือการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามาดำเนินการจัดบริการสาธารณะร่วมกับ/ดำเนินการแทนภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการปรับรูปแบบการทำงาน ให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ประเด็นการสัมมนาประกอบด้วยสาเหตุที่ต้องมีการส่งเสริมภาคประชาชนเข้ามา ภารกิจที่เหมาะสมให้ภาคประชาชนเข้ามาทำ สามารถทำได้ทันที และข้อพึงระมัดระวังในการให้ภาคประชาชนเข้ามา  มีรายละเอียดดังนี้
1. สาเหตุที่ต้องมีการส่งเสริมภาคประชาชนเข้ามา
รัฐสมัยใหม่จะมีบริการสาธารณะที่เพิ่มขึ้นมาก เช่น ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ และภารกิจมี    ความหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่หน่วยงานราชการจะสามารถจัดทำได้ทั้งหมด จึงมีการตั้งรัฐวิสาหกิจ และมีการกำหนดให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบเป็นหน่วยงานมหาชน เพื่อความคล่องตัว นอกจากนี้ บริการสาธารณะอาจต้องพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ภาครัฐจะจัดบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อประชาชนในทุกพื้นที่ได้ องค์กรภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมจะเป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุน การจัดบริการสาธารณะให้ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนมีจิตสำนึก มีส่วนร่วมกับการพัฒนาสังคมได้มากขึ้น และภาครัฐสามารถอาศัยทักษะความรู้ของภาคประชาสังคมมาช่วยพัฒนาบริการสาธารณะต่อไปได้
2. ภารกิจที่เหมาะสมให้ภาคประชาชนเข้ามาทำ สามารถทำได้ทันที
ภาคประชาสังคมสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาคประชาสังคมที่ปฏิเสธ กดดันภาครัฐโดยตรง ไม่พร้อมมีส่วนร่วมกับภาครัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ด้านการตรวจสอบภาครัฐ และกลุ่มภาคประชาสังคมที่ดำเนินการควบคู่กับภาครัฐอยู่แล้ว ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถรับภารกิจบริการสาธารณะได้ ตัวอย่างของกลุ่มภาคประชาสังคมที่ดำเนินการควบคู่กับภาครัฐ ได้แก่ องค์กรจัดสวัสดิการและบรรเทาทุกข์ เช่น มูลนิธิ  สาธารณกุศล ธนาคารขยะ สมาคมวิชาชีพ ศูนย์ดูแลคนชรา บ้านเด็กกำพร้า กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยในอนาคตอาจให้กลุ่มภาคประชาสังคมเหล่านี้รับภารกิจในการจัดบริการสาธารณะโดยภาครัฐจะมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนหรือประสานงานร่วมกัน 
3. ข้อพึงระมัดระวังในการให้ภาคประชาชนเข้ามา
การให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะมีข้อพึงระวังคือบริการสาธารณะเมื่อให้ภาคประชาสังคมทำจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่ากรณีที่ภาครัฐทำ และแนวความร่วมมือควรเป็นไปในทางร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนมากกว่าการที่ภาครัฐวางแผนการทำงานแล้วให้ภาคประชาชนมาปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว การถ่ายโอนภารกิจไม่ได้เป็นการยกงานให้ภาคประชาสังคมทำแทนทั้งหมดและไม่ทำให้งานของภาครัฐลดลง แต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นการประสานงานทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม
การสัมมนาดังกล่าวได้มีข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดให้มีหน่วยงานกลางตรวจสอบภาคประชาสังคมที่จัดทำบริการสาธารณะเพื่อให้บริการสาธารณะมีประสิทธิภาพและป้องกันการหาผลประโยชน์จากการเข้ามาดำเนินการ การพิจารณาข้อกฎหมายให้เหมาะสมกับแนวทางการถ่ายโอนภารกิจ การให้องค์ความรู้แก่ภาคประชาสังคม รวมถึงข้อกังวลเรื่องเป้าหมายของกลุ่มประชาสังคมที่อาจเปลี่ยนแปลงในทางลบเมื่อภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง



ไอทีพาสปอร์ตใบเบิกทางสู่ AEC

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

ผู้เล่าเรื่อง  :  นายปิ่นยศ ฉายาสกุลวิวัฒน์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  สำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที (Information Technology Professional Examination: ITPE)
ในยุคปัจจุบัน  Information Technology เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้าน ซึ่งไอทีมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในขณะที่บุคลากรไอทีในตลาดแรงงานนั้นยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนผู้ที่มีพื้นฐานและความรอบรู้ด้านไอทีอีกมากแม้จะมีความพยายามในใช้การศึกษาเข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติมแต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาบุคคลากรเพื่อให้ทันต่อสังคมยุคไอที ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในเวทีประชาคมอาเซียน ที่กำลังจะมาถึงในระยะอันใกล้นี้สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรี ซึ่งส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของบุคคลากร ไอที ออกไปสู่ต่างประเทศ หรือการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ในประเทศของบุคคลากรไอทีจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนจึงจำต้องเตรียมบุคลากรโดยยกระดับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาแนวคิดและวัฒนธรรมการเรียนรู้ พัฒนาวิสัยทัศน์ และแนวคิดมุมมองให้กว้างไกล พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ให้พร้อมรับกับการที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
          โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที หรือ Information Technology Professionals Examination: ITPE ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) ทำความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มภาคี 7 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า มองโกเลีย และประเทศไทย ภายใต้ชื่อ Information Technology Professionals Examination Council: ITPEC ซึ่งถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ความร่วมมือดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค โดยจะร่วมกันจัดสอบเพื่อวัดระดับความรู้และทักษะพื้นฐานด้าน ไอที แบบไม่อิงผลิตภัณฑ์ใด ๆ การสอบนี้เหมาะสำหรับชาวไอที นักวิเคราะห์ทุกสาขา นักวิชาการ อีกทั้งในกลุ่มตำแหน่งอื่น ที่สนใจสอบเทียบความรู้ด้าน ไอที ของตนเองอีกด้วย โดยจะเป็นเครื่องมือช่วยประเมินว่ามีความรู้ความเข้าใจและความสามารถด้านไอที รวมถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ในสถานประกอบการ มีความพร้อมด้านไอทีมากน้อยแค่ไหน ทั้งยังเป็นการอัพเดทความรู้ด้านเทคโนโลยี และที่สำคัญเป็นการเสริมความมั่นใจและภาคภูมิใจ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพ ไอที ในระดับบุคคลเพื่อให้ผู้มีความรู้ด้าน ไอที ทำการยกระดับทักษะของตนเองให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสในการเข้าทำงานและเป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเป็นโอกาสสำหรับบุคลากรที่ไม่มีพื้นฐานการศึกษาในสายไอทีมาก่อน แต่มีทักษะและความสามารถได้ปรับวุฒิให้ตรงความสามารถ โดยผู้สอบผ่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรระดับภูมิภาครับรองโดยภาคีสมาชิก ITPEC ยังเปรียบเสมือน ใบเบิกทางสามารถรับงานของประเทศญี่ปุ่นและมีคุณสมบัติประกอบการขอ Work Perm IT ทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งในระดับองค์กรสามารถใช้โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาคัดเลือกบุคลากรด้านไอทีหรือเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรด้านไอทีเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับหน่วยงาน องค์กรที่มีผู้ผ่านโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีจะสามารถรับงานจากประเทศในภาคีสมาชิก ITPEC ได้ สถาบันการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก ตำแหน่งบุคลากรสายไอที ในระดับประเทศ โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีจะสามารถบอกถึงความมีศักยภาพ มีความสามารถในการแข่งขันในนานาชาติ เป็นการขยายตัวและส่งเสริมมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเตรียมพร้อมมีรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นภาคีหนึ่งในประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งในแต่ละปีทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดสอบปีละ 2 ครั้ง คือ เมษายนและตุลาคม โดยจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 และจัดต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้มีจำนวนผู้สมัครสอบโดยรวมมากกว่า 2,000 คนต่อปี สวทช. จึงร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 15 แห่ง สนับสนุนสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและเครือข่ายภายนอกเข้าร่วมสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยเป็นศูนย์สอบและศูนย์ติวสอบทั่วประเทศพร้อมนำตัวอย่างข้อสอบเก่ามารวบรวมไว้ที่หน้าเว็บโครงการ เพื่อเป็นแนวทางการทำข้อสอบ

งานนิทรรศการและการสัมมนาแผนการลงทุนพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. 2556

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ 3 : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556

ผู้เล่าเรื่อง นางสาวทัศนันท์ ชูรัตน์                                    
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กลุ่มงานบริหารการคลังและเศรษฐกิจ

นิทรรศการ และการสัมมนาแผนการลงทุนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของประชาชน....   เพื่อประชาชน  วันที่ 8 -12 มีนาคม 2556  ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ
วิสัยทัศน์  ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขัน คนไทยอยู่ดีกินดี มีความเสมอภาคและเป็นธรรม 
ยุทธศาสตร์  “ ยุทธศาสตร์ ของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีเป้าหมายสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยง (Connectivity) หมายถึง การพัฒนาเครือข่ายขนส่ง เครือข่ายสารสนเทศ และวัฒนธรรม การเชื่อมโยงไทยกับเพื่อนบ้าน          ทั้งเศรษฐกิจ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เราจะเห็นการกระจายความเจริญ การลงทุนวางรากฐาน พัฒนาประเทศ ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเมือง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ภายในประเทศ และต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำ โดยเน้นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ” เพื่อประเทศไทยก้าวสู่ “ศูนย์กลางระบบการขนส่งแห่งภูมิภาคเอเชีย”
                หลักการของยุทธศาสตร์  เป็นการต่อยอดรายได้จากฐานเดิม สร้างรายได้จากโอกาสใหม่ เพื่อความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                การเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมทุน (PPP)
                การร่วมทุนภาครัฐและเอกชน  Public Private Partner (PPP) คือ สัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการให้บริการสาธารณะทั้งในด้านพาณิชย์ เช่น การก่อสร้างทางด่วน ท่าเรือ และในด้านสังคม เช่น การก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งภาคเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในการออกแบบ ก่อสร้าง บริหารและบำรุงรักษาโครงการ และภาครัฐจะนำทรัพย์สิน เช่นที่ดิน เพื่อร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือ จ่ายค่าตอบแทนคืนให้กับภาคเอกชน ตามระยะเวลาสัญญา
            จุดเด่นของ พ.ร.บ.การร่วมทุนภาครัฐและภาคเอกชน (PPP)
1.  รัฐบาลสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีแผน
ยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (แผน PPP) และสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นระบบครบถ้วน ลดภาระงบประมาณจากการลงทุนที่ซ้ำซ้อนได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์
2. จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการให้เอชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) โดยมี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในรูปแบบ GPP
3. ลดขั้นตอนให้มีความกระชับ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน และกำหนดกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
4. ปรับปรุงบทบัญญัติให้มีความชัดเจน มีหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าโครงการและมีมาตรการรองรับการแก้ไข และการทำสัญญาใหม่
5.  มีข้อกำหนดสัญญามาตรฐานที่เป็นสากล สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับของภาคเอกชน
6.   จัดให้มีกองทุนส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเพื่อผลักดันให้มีการจัดทำโครงการ ที่รวดเร็วมากขึ้น
                การแปรยุทธศาสตร์สู่แผนการลงทุนระบบคมนาคม
- สร้างเศรษฐกิจใหม่ จากรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง เพื่อเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างความเจริญไปสู่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างความเจริญไปสู่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุนการขยายฐานเศรษฐกิจตามแนวโครงข่ายเส้นทางรถไฟ
- ปรับปรุงถนน เพิ่มประสิทธิภาพขนส่ง
- เพิ่มท่าเรือขยายการค้า
- เร่งต่อเชื่อมระบบรถไฟฟ้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน จีน ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย
- ปรับสนามบินใหม่ เพิ่มรายได้ท่องเที่ยว ขยายสนามบินนานาชาติ
- ขยายประตูการค้า ผ่านศูนย์กระจายสินค้าเชียงของ
แหล่งที่มาเงินลงทุน 2 ล้านล้านบาท (ภายใต้ พ.ร.บ. PPP)
1. เงินงบประมาณ
2. เงินกู้อื่น ๆ (ในประเทศ และต่างประเทศ)
3. รายได้รัฐวิสาหกิจ
4. ความร่วมมือของ ภาครัฐ-ภาคเอกชน
ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุน
                            การลงทุนดังกล่าว จะใช้เงินทุน 2 ล้านล้านบาท เพื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งใหม่จะนำประเทศไทยสู่เปลี่ยนวิถีแห่งการเดินทางและการขนส่งของประเทศไทย การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย  พร้อมนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถของภาคธุรกิจ โอกาสใหม่ด้านการค้า การลงทุน ประชาชนจะได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นเท่าเทียมกัน การปฏิวัติระบบขนส่งใหม่นี้ จะเป็นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ให้ประสบความสำเร็จและเป็นจริงได้ เพื่อให้ประเทศไทยทั่วทุกภาค ทุกจังหวัดได้เติบโตไปพร้อมกัน  
ผลทางด้านเศรษฐกิจไทย ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาท
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทยังคงอยู่ภายใต้วินัยทางการคลัง โดยในช่วงระยะเวลาการลงทุนระหว่างปี 2556-2563  มีดังนี้
- ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นไม่เกินร้อยละ 50 
- GDP ขยายตัวเพิ่มปีละ 1% 
- การจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แสนตำแหน่ง ได้แก่ภาคการผลิต ก่อสร้าง ขนส่ง ท่องเที่ยว การจ้างงานระดับภูมิภาค
- สินค้าราคาสูงขึ้นไม่เกิน 0.16%
- ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ยเพียง 1%
- หนี้สาธารณะ 50%
- ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง จากร้อยละ 15.2 เหลือ ร้อยละ 13.2 หรือคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท ในปี 2556  และจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป
- สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรถรางเพิ่มขึ้น จาก 2.5% เป็น 5%
- สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำจาก 15% เป็น 19%
- ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อไป









การซ่อม บำรุง และแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

โครงการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ชาวกรมบัญชีกลาง (CoP : Community of Practice)
กิจกรรมที่ ๓ : เล่าเรื่องเร้าพลังชาวกรมบัญชีกลาง (Storytelling) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

ผู้เล่าเรื่อง  :  น.ส.วรรณา วงศ์ประเสริฐ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  เจ้าพนักงานการคลังชำนาญงาน
หน่วยงาน :  สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ ส่วนบริหารการจ่ายเงิน 3

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน และแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
            อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัส 
           ซึ่งจะพบในกรณีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วหน้าจอมีความผิดปกติไปจากที่เคยทำงานอยู่ เช่น
1.  Windows หรือโปรแกรมต่างๆ ทำงานผิดปกติ หรือมีข้อความแสดงความผิดพลาดขึ้นมา
2.   Files ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องหายไป โดยที่ไม่ได้ลบ
3.   ตัวอักษร ภาพ ที่ปรากฏบนหน้าจอมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือมีเสียงดังขึ้นมาโดยไม่ทราบ   สาเหตุ
4.   โปรแกรมทำงานช้ากว่าปกติ หรือหยุดการทำงานโดยไม่มีสาเหตุ
5.   พบชื่อ Files หรือโปรแกรม หรือสัญลักษณ์แปลก ๆ ในคอมพิวเตอร์
การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น (ที่ได้รับจาการอบรม)
1.   ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและ update โปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ
2.   ตรวจสอบแผ่น Diskette หรือ Thumbs Drive ด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสก่อนการใช้งานกับเครื่องคอมพิเตอร์ทุกครั้ง
3.   Update โปรแกรมที่ใช้ในการเข้า Internet และ e-mail  เพื่อป้องกันไวรัสโจมตี
4.   อย่าเปิดไฟล์แนบใด ที่แนบมาพร้อม e-mail จากแหล่งผู้ส่งที่ไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่ารู้จัก
5.   ลบ e-mail ลูกโซ่ หรือ e-mail ขยะทันทีที่ได้รับ
6.   ระวังการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์