วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อมูลสำคัญพึงทราบ หลักคิดสำคัญประกอบการตัดสินใจ สำหรับข้าราชการ และผู้รับบำนาญ

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวพยุง จันทร์งามดี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักบริหารการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ ส่วนบริหารการจ่ายเงิน 1
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร  :  บรรยายเรื่องการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ
ตามพระราชบัญญํติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 (พ.ร.บ.UNDO)
หน่วยงานผู้จัด  :  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร
1) ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตาม พรบ.2494
2) สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญได้อย่างถูกต้อง

ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง :  ข้อมูลสำคัญพึงทราบ หลักคิดสำคัญประกอบการตัดสินใจ สำหรับข้าราชการ และผู้รับบำนาญ

ข้อมูลสำคัญพึงทราบ การขอกลับไปใช้สิทธิใน พรบ.บำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 (Undo) คือการเปิดโอกาสให้สมาชิก กบข.ภาคสมัครใจ หมายถึง ข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญที่รับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครใจเป็นสมาชิก กบข. สามารถกลับไปใช้สิทธิรับบำนาญสูตรเก่า (สูตร พ.ศ.2494) ได้ตั้งแต่เกษียณ (กรณีผู้รับบำนาญ
อยู่ปัจจุบัน) หรือเมื่อเกษียณ (กรณีข้าราชการที่ยังไม่เกษียณ) ผลสืบเนื่องตามมาคือ การยุติการเป็นสมาชิก กบข. ซึ่งจะ
มีผลเกี่ยวข้องกับผู้ประสงค์ใช้สิทธิ Undo ดังนี้
กรณีผู้รับบำนาญ (ปัจจุบันรับเงินบำนาญสูตรสมาชิก กบข.)  หากประสงค์ใช้สิทธิ Undo พึงทราบข้อมูลต่อไปนี้
1.ต้องนำเงินรัฐที่รับจาก กบข. ไปแล้ว หมายถึง เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินทั้ง 3 ก้อน หรือเรียกว่าเงินต้องคืนรัฐ มาหักกลบลบกันกับบำนาญส่วนเพิ่ม (หมายถึงส่วนต่างของบำนาญสูตรเก่า ลบ บำนาญสูตร กบข. คูณ จำนวนเดือนตั้งแต่ เกษียณถึง 30 กันยายน 2558 หรือ เรียกว่าเงินรัฐต้องคืน)
2.กรณีหักกลบลบกันแล้ว ได้เงินคืนจากรัฐ รัฐจะจ่ายคืนให้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
3.กรณีหักกลบลบกันแล้ว ต้องคืนเงินรัฐ ผู้รับบำนาญต้องคืนเงินเหล่านั้นให้รัฐ (โดยคืนที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ) ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยสามารถจ่ายครั้งเดียวเป็นเงินก้อนทั้งจำนวน ภายใน 30 มิถุนายน  หรือแบ่งชำระเป็นส่วน ๆ ส่วนละเท่า ๆ กันได้ตั้งแต่  1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2558
4.สามารถยื่นเรื่องใช้สิทธิ ได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
5.เอกสารประกอบในการยื่นเรื่องใช้สิทธิ Undo คือ
-สำเนาบัตรประชาชนพร้อมสำเนาถูกต้อง
-แบบแสดงความประสงค์ขอใช้สิทธิรับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 (แบบ บ.1)

หลักคิดในการตัดสินใจ กรณีผู้รับบำนาญ
ถ้าได้เงินคืน...............ควร Undo
ถ้าต้องคืนเงิน............ควรประเมินระยะเวลารอคอยว่าจะต้องรอเก็บบำนาญที่ได้เพิ่มกี่ปี จึงจะเท่ากับเงิน
ที่คืนรัฐไป เมื่อทราบระยะเวลารอคอยแล้วจึงค่อยตัดสินใจว่าจะ Undo ดีหรือไม่

กรณีข้าราชการ (เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครเป็นสมาชิก กบข.) หากประสงค์ใช้สิทธิ Undo พึงทราบข้อมูลต่อไปนี้
1.เงินสะสมของท่าน
-ท่านจะยุติการส่งเงินสะสมตามกฎหมาย 3% และเงินสะสมว่วนเพิ่มตามความสมัครใจ 1-12% (ถ้ามี) เข้าบัญชีของท่านใน กบข. ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
-กบข. จะคืนเงินสะสมของท่านที่ส่งสะสมตั้งแต่มีนาคม 2540 – กันยายน 2558 พร้อมผลประโยชน์
ที่ผ่านมาที่ กบข.บริหารให้ของเงินส่วนนี้ ด้วยวิธีการโอนเข้าบัญชีของท่าน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
2.เงินสะสมของรัฐ
-รัฐยุติการส่ง “เงินสมทบ 3% และเงินชดเชย 2%” เข้าบัญชีของท่านตั้งแต่ 1 ตุลาคม  เป็นต้นไป
-ท่าน ไม่มีสทิธิได้รับ เงินของรัฐทั้งหมด เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ ที่รัฐเคยส่งสะสมให้ในบัญชี กบข. ของท่าน พร้อมผลประโยชน์ที่ผ่านมาที่ กบข.บริหารให้ รัฐกำหนดให้มีการโอนเงินเหล่านี้เข้า บัญชีเงินสำรองของรัฐ และมอบหมายให้ กบข. บริหารต่อไป เหตุที่ท่านไม่ได้รับเงินเหล่านี้เพราะเงินเหล่านี้คือ เงินสำหรับผู้เป็นสมาชิก กบข. เพื่อชดเชยบำนาญที่ลดลง ในเมื่อท่านประสงค์ใช้สิทธิ Undo (บำนาญไม่ลดลง) รัฐจึงระบุใน พรบ.Undo ว่าท่านไม่มีสิทธิรับเงินเหล่านี้เมื่อเกษียณ
-ผู้ประสงค์ใช้สิทธิ สามารถยื่นเรื่องใช้สิทฺธิ ได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด ได้ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
-เอกสารประกอบในการยื่นเรื่องใช้สิทธิ Undo คือ
  1.สำเนาบัตรประชาชนหร้อมรับรอบสำเนาถูกต้อง
  2.สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทสะสะ เผื่อเรียก และออมทรัพย์ (ยกเว้นบัญชีฝากประจำ)
  3.แบบแสดงความประสงค์ขอกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 สำหรับข้าราชการ (แบบ ข.1)
หลักคิดสำคัญประกอบการตัดสินใจ สำหรับข้าราชการ ต้องประเมินให้ได้ว่า หาก Undo
1.จะได้บำนาญเพิ่มเท่าไหร่ (คำนวณจาก บำนาญสูตรเก่า – บำนาญสูตรสมาชิก กบข.)
2.จะทิ้ง “เงินรัฐ + ผลประโยชน์ที่ กบข. บริหาร” เท่าไหร่ (เงินรัฐ หมายถึง เงินประเดิม เงินสมทบ และเงินชดเชย ที่รัฐส่งให้ตั้งแต่ มีนาคม 2540 จนถึงเกษียณ  ผลประโยชน์ กบข. บริหาร หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุนสำหรับเงินรัฐทั้งหมดตั้งแต่ 2540 จนถึงเกษียณ)
3.จะทิ้ง “เงินก้อนทั้งหมด” ที่ควรได้เมื่อเกษียณเท่าไหร่ (เงินสะสมของตัวเอง + เงินรัฐสะสมให้ + ผลประโยชน์ที่ กบข. บริหารให้)
4.ระยะเวลารอคอย ในการรอรับ “บำนาญส่วนเพิ่ม” ให้เท่ากับ “เงินรัฐที่ทิ้งไป” คือกี่ปี กี่เดือน และระยะเวลารอคอยนั้น “คุ้มค่า” กับการทิ้งเงินรัฐ และเงินก้อนหรือไม่
5.อย่าลืมว่าสำหรับข้าราชการเป็น การคำนวณตัวเลขในอนาคตเท่านั้น ซึ่งมีตัวแปรทั้งอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นต่อปี และประมาณการผลตอบแทนการลงทุน กบข. ต่อปี สมาชิกเป็นผู้กำหนดเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น