วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง ทิศทางของเศรษฐกิจไทย ในปี 2557 และการลงทุนใน ASEAN

เล่าเรื่อง  : 1. นางสุรีพร ศิริขันตยกุล     ผู้อำนวยการสำนักการเงินการคลัง
         2. นายวรสิทธิ์ ประจันพล     นักวิชาการคลังชำนาญการ
         3. นางสาวจิตติสุดา สายมาลา นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักการเงินการคลัง
หลักสูตรฝึกอบรม  :  โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง ทิศทางของเศรษฐกิจไทย
ในปี 2557 และการลงทุนใน ASEAN
หน่วยงานผู้จัด  :  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม
2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจเอกชนให้สามารถเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน  เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
3) เพื่อเผยแพร่ ข้อมูล ความรู้ แนวทางปฏิบัติ ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ตลอดจนประเด็นต่างๆ ที่สะท้อนสภาวะทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนแก่สมาชิกสมาคมสโมสรนักลงทุน นักธุรกิจ นักลงทุน และผู้สนใจทั่วไป

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : 
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง ทิศทางของเศรษฐกิจไทยในปี 2557 และการลงทุนใน ASEAN มีผู้เข้าร่วมเสวนา 3 ท่าน ได้แก่
1) นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2) ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
3) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)

โดยมีหัวข้อในการเสวนา ดังนี้
1) สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของไทย
-สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
ภายหลังประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (Subprime mortgage crisis) หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในช่วงปี 2550 ต่อเนื่องถึงปี 2551 ทำให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาต้องดำเนินมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณ หรือ Q.E. (Quantitative Easing) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินมาตรการ Q.E. 3 และลดอัตราการซื้อพันธบัตรลง เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดแรงงานสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เงินทุนไหลออกออกจากประเทศไทย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียชลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศจีน ประกอบกับผู้นำคนใหม่ของประเทศจีนมีนโยบายที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เน้นตัวเลขอัตราการเติบโต 2 หลักอย่างที่ผ่านมา รวมถึงการหาตลาดส่งออกใหม่
-สถานการณ์เศรษฐกิจไทย
-ภาคเกษตร แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภค (demand) ของประเทศจีนลดลง ประกอบกับวงจรราคาสินค้าเกษตรที่ผ่านมาอยู่ในช่วงขาขึ้นนานกว่าปกติ ส่งผลให้ช่วงขาลงจะลงอย่างรวดเร็ว
-ภาคอุตสาหกรรม แนวโน้มราคาน้ำมันโลกลดลง ราคาปรับตัวไม่เกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล 
-การบริโภคในประเทศ มีอัตราการขยายตัวต่ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภาระหนี้สินครัวเรือน ความต้องการบริโภคสินค้าคงทนลดลง ได้แก่ รถยนต์
-ภาคธนาคาร แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อลดลง และเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น 
-ภาคอสังหาริมทรัพย์ แนวโน้มการเติบโตชลอตัวลงเนื่องจากความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น
-การลงทุน
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า แนวโน้มมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมในช่วงปี พ.ศ. 2553 มีแนวโน้มสูงขึ้น และสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2555 ที่ระดับ 1,182 พันล้านบาท ก่อนลดลงเหลือ 1,110 พันล้านบาท ในปี 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 6 โดยหมวดบริการและสาธารณูปโภคมีมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมสูงสุด 523 พันล้านบาท รองลงมาได้แก่ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (ได้แก่ Eco Car) 254 พันล้านบาท โดยหมวดอุตสาหกรรมเบามีมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมต่ำสุด 16 พันล้านบาท 
โดยประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนสูงเป็นอันดับ 1 จำนวน 283 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด (FDI: Foreign Direct Investment) จำนวน 525 พันล้านบาท รองลงมาได้แก่ หมู่เกาะเคย์แมน (Cayman Island) มีมูลค่าการลงทุน 49 พันล้านบาท (เนื่องจากมีโครงการขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกาและไต้หวันลงทุนผ่านหมู่เกาะเคย์แมน) ประเทศจีน 43 พันล้านบาท ประเทศมาเลเซีย 29 พันล้านบาท ประเทศสิงคโปร์ 23 พันล้านบาท และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง 20 พันล้านบาท 
2. ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในปี 2557
- ปัจจัยเฉพาะปี 2557
ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
- การลงทุนจากญี่ปุ่นยังมีอย่างต่อเนื่อง
- อุตสาหกรรมหลักยังมีการลงทุนสูง เช่น ยานยนต์ รวมทั้ง Eco Car รุ่น 2 ประหยัดพลังงานทดแทน ขนส่งทางอากาศ แปรรูปเกษตร
- เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว การส่งออกดีขึ้น
- โครงการ Mega Projects ของรัฐบาล (หากมีการลงทุนเกิดขึ้น)
- อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
- มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่สำคัญจะสิ้นสุดปี 2557 (มาตรการ SMEs และมาตรการให้สิทธิพิเศษในนิคมฯ เขต 2 แหลมฉบัง และระยอง

- วิกฤติการเมืองส่งผลกระทบดังนี้
      - ความไม่ชัดเจของการปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่
      - ความล่าช้าของ Mega Projects ทั้งโครงการ 2 ล้านล้านบาท และ 3.5 แสนล้านบาท
      - รัฐไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่
      - ผู้บริโภคในประเทศและนักท่องเที่ยว    ขาดความเชื่อมั่น
- ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โลกยังไม่ฟื้นตัวดีนัก
- ความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ

- ปัจจัยพื้นฐาน
ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
- การลงทุนเพื่อรองรับการรวมกลุ่ม AEC (+3   และ +6)
- ความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุนสำหรับอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเลียม
- ศักยภาพของไทยด้านการเกษตรและธุรกิจบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว บันเทิง การแพทย์และสุขภาพ
- นโยบายรัฐที่เปิดเสรีและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
- อัตราภาษีเงินได้ที่ลดลงต่ำมาก
- Urbanization ช่วยเพิ่มอำนาจซื้อของชนชั้นกลาง และขยายโอกาสทางธุรกิจ

- ปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษา และ S&T
- ขาดแคลนแรงงาน ปัญหาสหภาพแรงงาน  และต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น
- การต่อต้านของมวลชน และขาดพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมหนัก
- ขาดความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว  และต้นทุนพลังงานสูงขึ้น
- ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมานาน โดยเฉพาะขนส่งทางราง การขยายสนามบิน   และท่าเรือ เขื่อนและระบบชลประทาน
- ความเสี่ยงต่ออุทกภัยในพื้นที่อุตสาหกรรม
นอกจากนี้ รัฐบาลควรส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในด้านการบริหารจัดการและนวัตกรรม เน้นการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร รวมถึงการหาตลาดภายนอกประเทศด้วย

3. ผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- การชักจูงการลงทุนจากต่างชาติ
จุดแข็ง
จุดอ่อน
- ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค
- ระบบคมนาคมและสาธารณูปโภคอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม
- ฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น       ยานยนต์ ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ความโดดเด่นของธุรกิจบริการ เช่น ท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น
- ทักษะฝีมือของแรงงานไทยอยู่ในระดับที่ดี
- ขนาดของตลาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค เป็นรองเพียงแค่อินโดนีเซีย
- ระบบสถาบันการเงินที่มั่นคงและมีความเข้มแข็ง
- ค่าครองชีพต่ำ สภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย

- ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ     ของคนไทย
- ต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูง เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน เป็นต้น
- การขาดเสถียรภาพทางการเมืองและปัญหาคอรัปชั่น
- ผลิตภาพ (Productivity) และการวิจัย และพัฒนาอยู่ในระดับที่ต่ำ
- ขาดแคลนแรงงานและปัญหาเรื่อง Aging Society
- ปัญหาการละเมิดสิขสิทธิ์


- การลงทุนของไทยในภูมิภาคอาเซียน
จุดแข็ง
จุดอ่อน
- ความรู้และเทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรม มีความก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน
- การเชื่อมโยง Supply Chain กับอุตสาหกรรม   ในประเทศ

- ทักษะด้านภาษาของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs
- ขาดความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่จำเป็น  ในการทำธุรกิจในกลุ่ม AEC
- ขาดแคลนแหล่งเงินทุน
- ความสนใจของผู้ประกอบการไทยยังต่ำ
- การสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่เพียงพอ เช่น  การเก็บภาษีซ้ำซ้อน การอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูลแก่เอกชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน AEC เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น