ผู้เล่าเรื่อง :
นางสาวพลอยวรัตม์ อินทชื่น
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
นางสาวอริณรภัสฌา ขันธอุดม
ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองการเจ้าหน้าที่
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร : หลักสูตรนักทรัพยากรบุคคลมืออาชีพ หมวดวิชาความรู้พื้นฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงาน ก.พ.วัตถุประสงค์ของโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร
1) เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของนักทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อเป็นพื้นฐานของการทำงานในระดับมืออาชีพต่อไป
2) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพให้กับนักทรัพยากรบุคคล
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : ความรู้พื้นฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. หลักคุณธรรม (Merit) ประกอบด้วย
1.1 ความเสมอภาคในโอกาส
1.2 ความรู้ความสามารถ
1.3 ความมั่นคง
1.4 ความเป็นกลางทางการเมือง
2. หลักสมรรถนะ (Competency)
3. หลักผลงาน (Performance)
4. คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of worklife)
หลักการกำหนดตำแหน่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. เป้าหมายขององค์การ จากการตอบคำถามเชิงนโยบาย ทิศทางขององค์การ แผนงาน
2. จัดโครงสร้างองค์การ โดยจะแบ่งงานออกเป็นกี่ฝ่ายที่สำคัญ
3. ออกแบบงาน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะมีกี่แผนก แต่ละแผนกจะมีงานอะไรบ้าง
4. วิเคราะห์งาน ดูรายละเอียดเกี่ยวกับงานและต้องไตร่ตรองงานอย่างรอบคอบ แล้วนำไปกำหนดตำแหน่ง
5. ทบทวนการออกแบบงาน
6. กิจกรรมต่างๆ ในงาน เป็นการกำหนดรายละเอียด ขั้นตอนของงาน
โดยองค์ประกอบของตำแหน่งประกอบด้วย
1. ความรู้ ความสามารถ (Knowledge & Ability)
2. ความยุ่งยากและความรับผิดชอบของงาน (Difficulty & Complexity)
3. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Duty & Responsibilty)
หลักการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. ความรู้ ความสามารถ
2. ความเสมอภาค ความเป็นธรรม ประโยชน์ของทางราชการ
3. พฤติกรรมทางจริยธรรม
4. ระบบคุณธรรม
การสรรหา หมายความว่า การเสาะแสวงหาบุคคลที่พร้อมและสามารถจะทำงานได้เข้ามาสมัครเข้าทำงานตามที่ ส่วนราชการกำหนด
การเลือกสรร หมายความว่า การพิจารณาบุคคลที่ส่วนราชการได้ทำการสรรหามาทั้งหมด และทำการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและส่วนราชการมากที่สุดไว้
โดยกระบวนการสรรหาและเลือกสรรบุคคล มีขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผนการสรรหาและเลือกสรร
1.1 เตรียมการในกิจกรรมต่างๆ ของการจัดหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้าปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ
1.2 จัดทำแผนปฏิบัติงาน
1.3 ซึ่งการวางแผนที่ดีต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับภาระหน้าที่ นโยบายและเป้าหมายของหน่วยงาน กำลังคนของหน่วยงานในปัจจุบันและสภาพการณ์ของตลาดแรงงาน ตลอดจนต้องครอบคลุมการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของการสรรและเลือกสรร
2. การกำหนดคุณลักษณะของบุคคลที่ต้องการ
2.1 การวิเคราะห์งานจากข้อมูลเกี่ยวกับงาน (หน้าที่ ภารกิจ ขั้นตอนการทำงาน)
2.2 คุณสมบัติที่จำเป็น “KSAOs” เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะอื่นๆ
2.3 เครื่องมือในการสรรหาและเลือกสรร เช่น การมาสมัครด้วยตนเอง การประกาศผ่านสื่อ เป็นต้น
3. การสรรหา “เน้นให้มีผู้มีคุณสมบัติตามประกาศรับสมัครมาสมัครให้มากที่สุด” โดยเลือกสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีคุณสมบัติที่ส่วนราชการต้องการ หรือแพร่ข่าวโดยให้ข้อมูลตามความจำเป็นของตำแหน่ง
4. การเลือกสรร
4.1 พิจารณาความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งสามารถทดสอบ/วัดได้
โดยมีข้อสมมติฐาน คือ ผู้ที่ได้รับการเลือกสรรจะปฏิบัติงานได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการเลือกสรร”
4.2 และการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสรรหาและเลือกสรรบุคคล
5. การติดตามประเมินผล ได้แก่
5.1 การประเมินผลกระบวนการสรรหาและเลือกสรร จากรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
5.2 การตรวจสอบคุณภาพ/ความสำเร็จของการสรรหาและเลือกสรร จากความเที่ยงตรง เป็นต้น
หลักการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 โดยมีปรัชญาของระบบพนักงานราชการ ดังนี้
1. ทางเลือกของการจ้างงานภาครัฐ
2. จ้างบุคลากรตามหลักสมรรถนะและหลักผลสัมฤทธิ์ของงาน
3. การเข้า – ออกตามสัญญาจ้าง
4. ไม่ใช่การจ้างงานตลอดชีพ มีระยะเวลาสิ้นสุดตามนโยบาย แผนงาน หรือโครงการ
5. มอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการบริหารจัดการเอง
การบรรจุ หมายความว่า การรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญด้วยวิธีการสอบแข่งขันหรือคัดเลือก โดยเป็นการทำให้มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือน
การแต่งตั้ง หมายความว่า เป็นการสั่งให้ข้าราชการมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบงานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง และมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
โดยหัวใจของการบรรจุแต่งตั้ง มี 5 ประการ ดังนี้
1. ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ตามมาตรา 57
2. มีตำแหน่งในระดับที่จะแต่งตั้ง
3. คุณสมบัติ ประกอบด้วย
3.1 คุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36
3.2 มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Spec) ตามมาตรา 63
3.3 อื่นๆ (ถ้ามี)
4. ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
5. การออกคำสั่งแต่งตั้งตามแต่กรณี
การย้าย หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
การโอน หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงหรือกรมหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงหรือกรมอื่น ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
การเลื่อนระดับ หมายความว่า การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม
การบริหารผลการปฏิบัติราชการ หมายความว่า เครื่องมือทางการบริหารที่จะสร้างความเชื่อมโยงและความชัดเจนให้กับเป้าหมายการปฏิบัติงานของทุกระดับในองค์กร เพื่อให้คนทั้งองค์กรปฏิบัติงานมุ่งไปในทิศทางเดียวกันเพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติราชการขององค์กรบรรลุเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของการบริหารผลการปฏิบัติราชการ
1. เพื่อเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในการกำกับติดตามเพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดสามารถบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุ้มค่า
2. เพื่อให้ผู้บังคับบัญชานำผลการประเมินการปฏิบัติราชการไปใช้ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน และการให้เงินรางวัลประจำปีแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามหลักการของระบบคุณธรรม
หลักการของระบบบริหารผลการปฏิบัติราชการ
1. ยืดหยุ่นในการเลือกวิธีการ ประกอบด้วย น้ำหนักองค์ประกอบ ระดับผลการประเมิน และแบบประเมิน
2. โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ประกอบด้วย การประกาศหลักเกณฑ์การประเมิน คณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมิน และการประกาศรายชื่อผู้ได้ดีเด่น ดีมาก
โดยมีกระบวนการบริหารผลงาน
1. การวางแผนการปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการสื่อสารอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บังคับบัญชาในเรื่องการกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจน ผลสำเร็จของงานที่ต้องการและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
2. การติดตามผลการปฏิบัติงาน เป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับถึงผลการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานรับรู้ถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ทำได้จริง โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานความสำเร็จของงานที่คาดหวังไว้ในขั้นตอนการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาผลงานและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
3. การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนของการพัฒนาผลการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ผลงานที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้นในช่วงต้นรอบการประเมิน ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องทำหน้าที่ในการคิดหาเครื่องมือการพัฒนาความสามารถของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เป้าหมายหรือตัวชี้วัด (KPIs) บรรลุผลสำเร็จ
4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการสรุปผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ปฏิบัติได้จริงว่าใครมีผลงานดีมาก ดีน้อย แตกต่างกันอย่างไร โดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานและพฤติกรรมการปฏิบัติราชการของผู้ปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นตลอดรอบการประเมินเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลงานและเป้าหมายผลสำเร็จของงานตามแผนการปฏิบัติงานที่ได้กำหนดไว้เมื่อต้นรอบการประเมิน
5. การให้รางวัล เป็นการให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความมุ่งมั่น ความทุ่มเทในการทำงานและมีพฤติกรรมที่ดี ทำให้มีผลงานดีเด่นเกิดขึ้นในหน่วยงาน องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่กำหนด
ค่าตอบแทน หมายความว่า สิ่งที่องค์การให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่ปฏิบัติงานและเป็นสมาชิกขององค์การ หมายรวมถึงค่าตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นรางวัลเพื่อจูงใจในการทำงาน ส่งเสริมขวัญกำลังใจและเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น โดยหลักในการกำหนดค่าตอบแทนมีดังนี้
1. หลักความพอเพียง (Adequacy)
2. หลักความเป็นธรรม (Equity)
3. หลักความสมดุล (Balance)
4. หลักความมั่นคง (Security)
5. หลักการจูงใจ (Incentive)
6. หลักการควบคุม (Control)
ซึ่งค่าตอบแทนมี 4 ประเภท คือ เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง/เงินเพิ่ม เงินรางวัล สวัสดิการ/ประโยชน์เกื้อกูล
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล หมายความว่า การพัฒนาและปลดปล่อยความเชี่ยวชาญ/ความสามารถของคนในองค์กรผ่านกระบวนการพัฒนาและฝึกอบรมและการพัฒนาองค์กรเพื่อปรับปรุงผลงานขององค์กรในภาพรวม ซึ่งในกระบวนการพัฒนา มีดังนี้
1. เป้าหมายการพัฒนา
2. วิเคราะห์ความต้องการขององค์กร กลุ่ม พนักงานรายบุคคล การทำงาน โดยการสำรวจ การสังเกตการณ์ เป็นต้น
3. ออกแบบการพัฒนา โดยเลือกวิธีการพัฒนาของการเรียนรู้ เช่น การสอนงาน (Coaching) การหมุนเวียนงาน (Rotation Practice) การมอบหมายงาน (Job Assignment) เป็นต้น
4. ดำเนินการพัฒนา
5. ประเมินผลการพัฒนา จากแนวคิดการประเมินผลการพัฒนา Kirkpatrick’s model + ROI ดังนี้
5.1 Reaction and Planned Action : ผู้เข้าอบรมมีปฏิกิริยาอย่างไร
5.2 Learning : ผู้เข้าอบรมมีการเปลี่ยนแปลงอะไร
5.3 Behavior : ผู้เข้าอบรมมีพฤติกรรมการทำงานเปลี่ยนอย่างไร
5.4 Results : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กรอันเกิดจากการพัฒนาคืออะไร
5.5 ROI : ความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร