ผู้เล่าเรื่อง : นางสาววาสนา เกษณา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชานาญการพิเศษ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังเขต 5
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 062-9298944.
ช่องทางร่วมปันความรู้อื่นๆ (ถ้ามี) : vasana_k@cgd.go.th
หลักสูตรฝึกอบรม : หลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่7
หน่วยงานผู้จัด : มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ผู้จัดโครงการ ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงาน ณ จังหวัด
สุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ที่จังหวัดสุโขทัย ศึกษาดูงานด้านวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ และที่จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาดูงานเรื่อง การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง ด้านการคลังการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงกำหนดกลยุทธ์ การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยการใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม คณะและทีมงานได้ไปศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการ
จัดการขยะรีไซเคิล ตามคำขวัญ “ขยะคือทองคำ” ของโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ เจ้าของและผู้บริหาร คือ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ เจ้าของสโลแกนดังกล่าว เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเก็บขยะเพื่อคัดแยกจนประสบความสาเร็จสูงสุด ขยายสาขาโรงงานไปต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
การดำเนินการของโรงงานคัดแยก จะรับซื้อขยะจากชาวบ้านที่มีอาชีพรับเก็บขยะขาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือและส่งเสริมการมีอาชีพของชาวบ้าน ขยะทุกชิ้น จะนำมาคัดแยกตามประเภทของขยะ ส่งเข้าเครื่องเพื่อจัดการ มีคนงานจำนวนมากทำงานในโรงงานฯ โดยส่วนหนึ่งมาจากสถานสงเคราะห์หรือ
สถานพักฟื้น นำมาสอน ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ เป็นการทำให้ขยะช่วยเหลือคนในสังคมได้ ซึ่ง ดร.สมไทย ฯ กล่าวว่า “จริงๆแล้วในโลกใบนี ไม่มีขยะ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่ไว้ผิดที่เท่านั้นเอง”
การดำเนินการจัดการขยะ บนแนวคิดหรือยุทธศาสตร์ 3 ขั้น ได้แก่ การแยกขยะให้มากที่สุดในต้นทาง การแยกขยะเปียกและขยะมีพิษ และ การนำขยะที่เหลือไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน ของวงษ์พาณิชย์กรุ๊ป
ประสบความสำเร็จมาก
จากความรู้ที่ได้รับมา ได้เห็นวิธีการจัดการขยะ จึงเกิดแนวคิดส่งต่อเรื่องการจัดการขยะเพื่อ
ชุมชน เริ่มที่บ้านของตัวเอง ที่ทำงาน ในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว มีความสะอาดไม่เกิดมลพิษ สิ่งแรกคือการทาความเข้าใจกับทุกคนเพื่อให้มีการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นจิ๊กซอร์ตัวเล็กๆหลายๆตัวรวมเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว และการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพสร้างรายได้อย่างมหาศาล และรางวัลแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมายอย่าง “วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป”
ตัวอย่างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขยะในบ้าน
1. ขยะในห้องรับแขก ได้แก่ หนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสาร ปฏิทิน อัลบั้มรูป โคมไฟ เศษผ้าขี้ริ้ว
หลอดไฟฟ้า ซึ่งหากแตกกระจาย จะมีสารปรอทเป็นอันตราย ฯลฯ
2. ขยะในครัว ได้แก่ ถุงหูหิ้วต่างๆ ถุงใส่อาหาร ยางวง พลาสติกห่ออาหาร ขวดน้ำ จาน ตะกร้า
ขวดซีอิ้ว หรือขวดซอสต่างๆ หม้อหุงข้าว กระป๋องกาแฟ น้ำมันพืช ที่ใช้หลายครั้ง เป็นขยะอันตราย มีสารก่อมะเร็งฯลฯ
3. ขยะในห้องนอน ที่นอนเก่า หมอนนุ่นเก่า ที่นอนใยสังเคราะห์ ผ้าเช็ดตัว ผ้าม่าน หนังสือ ทีวี
เครื่องเล่นซีดี กระป๋องแป้ง ไฟฉาย สเปรย์ ดีดีที ซึ่งเป็นขยะอันตราย ใกล้ความร้อนอาจจะระเบิดได้ ฯลฯ
4. ขยะในห้องทำงาน เครื่องใช้สำนักงาน จอคอมพิวเตอร์ ซีพียู ยูพีเอส เครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องแฟกซ์
กระดาษ หนังสือ ตลับหมึกเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นขยะอันตราย ผงหมึกเป็นโลหะหนัก ส่งผล
กระทบกับทางเดินหายใจ และขยะปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีแผงวงจรที่มีสาร
ตะกั่ว เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
5. ขยะในห้องน้ำ ขวดแชมพูพลาสติก ขวดสบู่เหลว ขวดโลชั่นพลาสติก หลอดยาสีฟัน หวีพลาสติก
ก๊อกน้ำทองเหลือง ฝักบัวทองเหลือง ท่อน้ำพลาสติก กาละมังซักผ้า ฯลฯ
6. ขยะในห้องพระ เศษเทียนไข น้ำตาเทียน ก้านธูป ดอกไม้แห้ง ดอกไม้พลาสติก แจกัน ไฟแช็ก
หลอดไฟ กองธูป ถุงพลาสติก ฯลฯ
7. ขยะในห้องเก็บของ โต๊ะเก้าอี พลาสติก กล่องเครื่องมือ หลอดไฟเสีย เศษไม้ มอเตอร์เก่า พัดลม
ทีวีเก่า ไม้กวาด ไม้ถูพื น ผ้าขี้ริ้ว ตู้เย็นเก่า ซึ่งในตู้เย็นจะมีสารอันตราย สร้างภาวะเรือนกระจกใน
ชั้นบรรยากาศ ฯลฯ
8. ขยะในโรงรถ ซากรถยนต์ ซากมอเตอร์ไซค์ ยางรถยนต์ กระป๋องน้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่เก่า เป็น
ขยะอันตราย มีโลหะหนักประเภทตะกั่ว ฯลฯ
9. ขยะบริเวณสนามหญ้า ประตูเหล็ก ประตูอัลลอยด์ รั้วเหล็ก เศษใบไม้ ของเด็กเล่น กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องกาแฟ สายยางพีวีซี ขวดยาฆ่าแมลง เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของขยะภายในบ้านเท่านั้น ยังมีขยะอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และหลายบ้าน
ทิ้งขยะทั้งหลายไป แล้วส่งปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนโดยส่วนรวม อย่างที่เห็นในข่าวว่ามีการทิ้งที่นอนเก่าๆลงในคลองน้ำทำให้อุดตัน ส่งผลให้น้ำท่วมขังเดือดร้อนกันในวงกว้าง ขยะภายในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี
1. ขยะขายได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
2. ขยะแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
3. ขยะเปียก สำหรับเป็นปุ๋ยและทำอาหารสัตว์
4. ขยะอันตราย สาหรับรีไซเคิล ขายได้ และที่ส่งกำจัดหรือขายไม่ได้
(ขอบคุณข้อมูลจาก : คู่มือคัดแยกขยะประจำบ้าน ของ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ)
ผู้สนใจหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และช่วยกันรณรงค์คัดแยกขยะ เพื่อลดปัญหา
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ภาครัฐก็จะนำเงินงบประมาณไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ลดการสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดขยะและด้านอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งในการดำเนินการจัดการกับขยะไม่ว่าจะเป็นของส่วนราชการ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่งเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหลายที่ได้รับการต่อต้านจากชุมชน รวมถึงการกำจัดที่ไม่ถูกวิธีก่อผลร้ายแก่ชีวิตของชุมชนได้อีก ฉะนั้นช่วยกันคัดแยกขยะทุกบ้าน ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียวอย่างถาวร และทำให้ “ขยะเป็นทองคา” ของแต่ละบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น