ผู้เล่าเรื่อง : บุณยาพร หาญยืนยงสกุล
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 02-1277000 ต่อ 6850
หลักสูตรฝึกอบรม : เทคนิคการตกแต่งภาพด้วย Photoshop
หน่วยงานผู้จัด : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิกประเภทภาพบิทแมพ (Bitmap) ซึ่งเป็นภาพที่ประกอบด้วยจุดสีขนาดเล็กจำนวนมาก (Pixel) เรียงต่อกันเป็นภาพๆ หนึ่งและมีสีที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ไล่โทนสีได้อย่างสมจริง แต่ไม่สามารถขยายมากได้เพราะจะทำให้ภาพดูหยาบ โดยเวอร์ชั่นที่ใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ คือ Photoshop CS6 มีรายละเอียดการใช้ดังนี้
1.ชนิดของไฟล์ภาพที่ใช้ใน Photoshop
1) GIF : ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กและสามารถทำภาพโปร่งใส (Transparency) ได้ แต่มีข้อจำกัดเรื่องสี
เนื่องจากมีจำนวนสีสูงสุดเพียง 256 สี จึงไม่เหมาะกับภาพที่มีรายละเอียดมากนัก
2) JPEG : ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กและสามารถแสดงสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสี แต่ไม่สามารถทำภาพโปร่งใสได้
3) PNG : เป็นไฟล์ภาพที่รวมคุณสมบัติของไฟล์ภาพแบบ GIF และ JPEG เข้าด้วยกัน โดยไฟล์ภาพ PNG สามารถบีบอัดไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กลงและทำภาพโปร่งใสได้เหมือนกับ GIF แต่ยังคงแสดงสีได้มากเช่นเดียวกับ JPEG
4) Raw File เป็นไฟล์ภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล ซึ่งเก็บความละเอียดของสีมากกว่า JPEG
แต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่มากและไม่สามารถเปิดดูในคอมพิวเตอร์คุณภาพต่ำได้ โดยการจัดการกับภาพ
จะต้องใช้ Camera Raw ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสริมใน Photoshop ช่วยในการปรับแต่งภาพ
5) TIF : เป็นไฟล์ภาพที่นิยมนำไปใช้กับงานด้านสิ่งพิมพ์ เพราะสามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ดี และเลือกบีบข้อมูลได้
6) PSD : เป็นรูปแบบไฟล์ดั้งเดิมเวลาบันทึก Photoshop โดยเป็นไฟล์ที่มีโครงสร้างแบบ Layer เป็นภาพโปร่งใส และเมื่อนำ Layer ภาพต่างๆ มาซ้อนกันจะได้ภาพที่มีหลายองค์ประกอบบนภาพๆ หนึ่ง ไฟล์มีขนาดใหญ่
และสามารถนำกลับมาแก้ไขภายหลังได้
2.ส่วนประกอบหลักของหน้าจอโปรแกรม Photoshop
3.คำสั่งทั่วไปที่ใช้เป็นประจำใน Photoshop
3.1การสร้างไฟล์งานขึ้นมาใหม่ : เลือก File > New… เมื่อตั้งชื่อไฟล์ กำหนดขนาดภาพ แล้วเลือก OK
3.2การบันทึกไฟล์งาน : เลือก File > Save As… > ตั้งชื่อไฟล์และตำแหน่งที่จัดเก็บภาพ แล้วเลือก Save
โดยหากไม่ได้เลือกบันทึกไฟล์รูปแบบอื่นๆ โปรแกรมจะบันทึกเป็นไฟล์รูปแบบ PSD แต่หากต้องการนำไฟล์ไปใช้ใช้งานทั่วไป ให้เลือก Save for Web… แล้วเลือกรูปแบบไฟล์เป็น GIF JPEG PNG แล้วแต่การใช้งาน
3.3 การคัดลอกภาพ : กด Alt และคลิกเมาส์ที่รูปภาพลากไปอีกที่หนึ่ง
3.4 การปรับมุมมองการแสดงภาพและการปรับขนาดภาพ :
• การย่อ/ขยายมุมมองภาพ สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือ Zoom Tool คลิกบนตำแหน่งที่ต้องการซูมบนภาพ 2) กด Ctrl พร้อมเครืองหมาย+ 3) กด Alt พร้อมกับใช้ปุ่มเลื่อนตรงกลางเมาส์
• การปรับมุมมองภาพให้แสดงพอดีกับหน้าจอ (Fit) > กด Ctrl พร้อมเลข 0
• การปรับมุมมองภาพให้แสดง 100% > กด Ctrl พร้อมเลข 1
• การปรับขนาดและหมุนภาพตามต้องการ
- คำสั่ง Free Transform สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) เลือก Edit > Free Transform > Enter
2) กด Ctrl+T (หากต้องการรักษาสัดส่วนของภาพให้สมมาตรทั้ง 2 ด้าน ให้กด Shift ค้างไว้
ขณะปรับขนาดภาพ) และ 3) คลิกขวาที่ภาพ เลือก Free Transform
ทั้งนี้ หากย่อภาพแล้ว จะขยายภาพอีกไม่ได้ เนื่องจากภาพจะเบลอ แก้ไขได้โดยทำภาพให้เป็น Smart Object ก่อนย่อภาพ โดยเลือก Layer > Smart object ซึ่งหลังจากทำ Smart Object แล้ว ภาพนั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ หากต้องการแก้ไข ให้ดับเบิลคลิกที่ภาพในเลเยอร์
โปรแกรมจะสร้างไฟล์รูปภาพใหม่อีกไฟล์ เพื่อให้ทำการแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กด File > Save รูปภาพในไฟล์เดิมจะถูกแก้ไขอัตโนมัติ
- คำสั่งการหมุนในรูปแบบอื่นๆ ด้วยการคลิกขวาบนภาพ ดังนี้
หมายเหตุ การเลื่อนภาพให้เลือกเครื่องมือ Hand Tool (รูปมือ) ที่ Toolbox หรือกด Space bar ค้าง
เพื่อเป็นมือชั่วคราว
3.5การรวมภาพ ทำได้โดยเลือก File > Place
3.6คำสั่งย้อนกลับการทำงาน :
วิธีที่ 1 เลือก Edit > Undo หรือ Ctrl+Z (ย้อนกลับได้เพียงขั้นตอนเดียว) แต่หากต้องการย้อนกลับมากกว่าขั้นตอนเดียวให้กด Ctrl+Alt+Z ซึ่งสามารถยกเลิกได้ 20 ขั้นตอน
วิธีที่ 2 เลือกย้อนกลับไปขั้นตอนที่ได้ทำไปแล้วที่ Panel History โดย Panel History
เป็นที่เก็บขั้นตอนการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม โดยเรียงลำดับตั้งแต่เริ่มเปิดไฟล์ภาพ ปรับแต่งภาพ ถึงบันทึกไฟล์ภาพ ซึ่งเราสามารถเปิด/ปิด Panel History ได้โดยเลือก Window > History
3.7การเทสีทั้งภาพ : กด Alt+Delete เพื่อเทสี Forefround หรือกด Ctrl+Delete เพื่อเทสี Background
4.การปรับสีและแสงเงาด้วย Adjustment
Adjustment เป็นการรวมคำสั่งสำหรับปรับแต่งแสงเงาและโทนสี มี 2 วิธี 1) เลือก Image > Adjustments > เลือกคำสั่งปรับสีหรือแสงเงาตามต้องการ หรือ 2) เลือก Window > Adjustments >
เลือกคำสั่งปรับสีหรือแสงเงาตามต้องการที่ Panel Adjustment โดยวิธีที่ 2 เรียกว่า Layer Adjustment กล่าวคือ เมื่อใช้คำสั่งปรับแต่งภาพในพาแนล Adjustments โปรแกรมจะสร้าง Layer ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติ
โดยการปรับแต่งภาพบน Layer นี้ จะไม่มีผลต่อภาพต้นฉบับแต่อย่างใด ต่างจากวิธีที่ 1 ที่เป็นการแก้ไข
ภาพต้นฉบับโดยตรง คำสั่งปรับสีหรือแสงเงาใน Adjustment มีดังนี้
การปรับแสง
1)Brightness/Contrast : Brightness คือ การเพิ่มลดความสว่างของภาพ และ Contrast คือ การปรับค่า
ความแตกต่างระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างของภาพ เหมาะกับภาพที่มีปัญหาเรื่องแสงในภาพมืด หรือสว่างเกินไป
2)Levels : ใช้ในการปรับแต่งความมืดหรือความสว่างของภาพด้วยฮิสโตแกรม (Histogram) โดยควบคุมได้ 3 โทนสี คือ มืด-กลาง-สว่าง
3)Curves : ใช้ในการปรับภาพย้อนแสง อาจคลิกปุ่ม Auto เพื่อให้โปรแกรมช่วยปรับแต่งความสว่างอัตโนมัติ
4)Exposure : เป็นการปรับรูรับแสง ใช้ในการปรับภาพที่มีแสงไม่สดใส โดย Exposure เป็นการชดเชยแสงทางบวกหรือทางลบ Offset ปรับความเข้มข้นของเงา และ Gamma Correction เพิ่มแสงสีขาวหรือสีดำ
การปรับสี
5)Vibrance : การปรับสีหรือความสดของภาพให้มีชีวิตชีวามากขึ้น โดย Vibrance เพิ่ม/ลดความสดของสีหลัก และ Saturation เพิ่ม/ลดความสดทุกสี
6)Hue/Saturation : เป็นคำสั่งสำหรับปรับแต่งสีสัน โดยการเพิ่มความสดและความสว่างของสี ส่วนใหญ่มักนำไปปรับสีให้ดูเหนือธรรมชาติมากขึ้น โดยสามารถปรับสีได้ทั้งภาพหรือเฉพาะบางสีที่ต้องการก็ได้
7)Color Balance : ใช้แก้ไขภาพที่สีเพี้ยน โดยปรับเพิ่ม/ลดสัดส่วนของแม่สีที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เพื่อให้ได้ภาพตามโทนสีที่ต้องการ
8)Black & White : ใช้เปลี่ยนภาพสีให้เป็นขาว-ดำ อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเลือกระดับความเข้ม-จางของแต่ละสีได้ตามต้องการ เช่นเดียวกับคำสั่ง Desaturation แต่นิยมใช้ Black & White มากกว่า
9)Photo Filter : ใช้ปรับโทนสีหรืออุณหภูมิสีของภาพให้ออกไปในโทนสีต่างๆ เช่น ถ้าต้องการให้ภาพดูอบอุ่น (Warm) ให้เลือก Filter โทนสีเหลือง ถ้าต้องการให้ภาพเป็นโทนเย็น (Cool) ให้เลือก Filter โทนสีฟ้า เป็นต้น
10)Channel Mixer : ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
11)Color Lookup : เป็นการย้อมสีภาพสำเร็จรูป โดยมีให้เลือกใช้งานมากกว่า 30 แบบ ให้ภาพมีสีสวยงามหลากหลายอารมณ์
12)Invert : ใช้สลับสีต่างๆในภาพให้เป็นสีตรงกันข้าม
13)Posterize : ใช้ลดจำนวนสีทั้งหมดในภาพลง ทำให้ได้ภาพที่มีสีสันฉูดฉาดเหมือนโปสเตอร์ปิดประกาศ
14)Threshold : ใช้แปลงภาพสีให้เป็นภาพขาว-ดำ โดยจะแสดงเพียงสีขาวและดำเท่านั้น ไม่มีสีเทา สามารถปรับระดับการลดสีลงได้ตามต้องการ หากลดระดับค่า Threshold ลงต่ำสุด ภาพจะกลายเป็นสีขาว ถ้ากำหนด
ค่าให้สูงขึ้นภาพจะกลายเป็นสีดำ
15)Gradient Map : เป็นคำสั่งที่นำสีที่ต้องการมาไล่โทนสีจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่ง ซึ่งจะจับคู่กับระดับความสว่างในภาพโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้ภาพที่มีการไล่ระดับสีที่มีสีสันแปลกตา
16)Selective Color : ใช้ปรับเพิ่มหรือลดความอิ่มตัวของสีในภาพโดยการผสมสีอื่นๆ ลงไป หรือใช้ลดโทนสีอื่นนอกจากสีที่เลือก
17)Shadow/Highlights : ใช้สำหรับแก้ไขภาพที่มีบางส่วนมืดหรือสว่างเกินไป เช่น ภาพถ่ายย้อนแสง
18)Variations : ใช้ปรับเพิ่มหรือลดสีให้สมดุล โดยเลือกจากภาพตัวอย่างที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ ซึ่งแต่ละภาพจะมีสีหรือแสงเงาแตกต่างกันเล็กน้อย
19)Desaturate : ใช้เปลี่ยนภาพสีให้เป็นขาว-ดำ อย่างรวดเร็ว โดยจะปรับภาพให้เหลือเพียงเฉดสีเทา
20)Match Color : ใช้เปลี่ยนสีให้ภาพ โดยใช้วิธีดูดสีจากภาพต้นแบบ
21)Replace Color : ใช้เปลี่ยนสีเฉพาะบางสีที่ต้องการ โดยไม่กระทบกับสีอื่นๆ ในภาพ สามารถเลือกโทนสีความสด และความสว่างของสีได้
22)Equalize : ใช้แก้ไขภาพที่ไม่คมชัด เนื่องจากมีเม็ดสีอื่นเข้ามาปน โดยการเพิ่ม Contrast ให้ภาพคมชัดขึ้น
5.การใช้งานเลเยอร์ (Layer)
เลเยอร์เปรียบเสมือนแผ่นพลาสติกใสที่ประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพ เมื่อนำมาวางเรียงซ้อนกัน
จนกลายเป็นชิ้นเดียวกัน ภาพในเลเยอร์บนจะบังเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง การใช้เลเยอร์จะช่วยให้สามารถแก้ไขภาพแต่ละส่วนได้ง่ายและเป็นอิสระขึ้น โดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถสลับลำดับการซ่อน/แสดงเลเยอร์แต่ละชั้นได้ โดยเลือก Window > Layers
5.1เลเยอร์ Background : ไฟล์รูปภาพที่เปิดขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรกจะอยู่ในเลเยอร์ชื่อ Background เสมอ ซึ่งจะถูกล็อคไว้ สามารถปรับให้โปร่งใส ย้ายตำแหน่ง ใช้เอฟเฟกต์ เลเยอร์สไตล์ หรือเลเยอร์มาสก์ได้
หากต้องการนำภาพในเลเยอร์ Background มาปรับแต่งหรือตัดต่อภาพ จะต้องแปลงเลเยอร์ Background
ให้เป็นเลเยอร์ธรรมดาก่อน โดยคลิกขวาบนเลเยอร์ Background > เลือก Layer From Background
5.2การเปลี่ยนลำดับเลเยอร์ : ภาพของเลเยอร์ที่อยู่ชั้นบนสุดจะแสดงอยู่บนสุด โดยจะบังภาพของเลเยอร์ล่างตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนลำดับของเลเยอร์ เพื่อให้แสดงภาพตามต้องการ สามารถทำได้
โดยคลิกเมาส์ลากเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยนลำดับไปยังลำดับที่ต้องการ
5.3การคัดลอกเลเยอร์ : กด Ctrl+J
5.4การรวมเลเยอร์ (Merge) : เป็นการรวมภาพในแต่ละเลเยอร์ให้เป็นเลเยอร์เดียว ซึ่งเมื่อรวมเลเยอร์แล้ว
จะไม่สามารถแก้ไขภาพในแต่ละเลเยอร์ได้อีก ทำได้โดย
1)Marge Layers : รวมเฉพาะเลเยอร์ที่เลือก ให้คลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Marge Layers
2)Merge Visible : รวมเฉพาะเลเยอร์ที่เลือกแสดง ไม่รวมเลเยอร์ที่ถูกซ่อน ให้คลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Merge Visible
3)Flatten Image : รวมทุกเลเยอร์เป็นเลเยอร์เดียว รวมถึงเลเยอร์ที่ถูกซ่อนไว้ด้วย ให้คลิกเลือกเลเยอร์
ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Flatten Image
5.5การปรับความโปร่งใสของเลเยอร์ (Opacity) : หากค่าความโปร่งใสของเลเยอร์บนมีค่ามาก (100%) จะบังเลเยอร์ล่างจนมองไม่เห็น แต่หากปรับความโปร่งใสของเลเยอร์บนลง จะทำให้มองเห็นภาพในเลเยอร์ล่างได้บางส่วน โดยคลิก Opacity แล้วปรับระดับความโปร่งใสตามต้องการ
5.6การผสมสีด้วย Blend Mode จะเป็นวิธีการผสมสีระหว่างเลเยอร์ โดยจะผสมสีระหว่างเลเยอร์ที่เลือกและเลเยอร์ล่างด้วยรูปแบบการผสมสีที่มีให้เลือก 6 กลุ่ม ดังนี้
1)การผสมสีเลเยอร์ในโหมดปกติ มี 2 แบบ ได้แก่
-Normal เป็นการผสมสีเลเยอร์ในโหมดปกติ โดยไม่มีการผสมสีและเป็นค่าเริ่มต้นของเลเยอร์
-Dissolve ใช้กับภาพที่มีขอบภาพแบบฟุ้งกระจาย โดยขอบภาพจะเปลี่ยนเป็นจุดโดยผสมกับสีของเลเยอร์ล่าง
2)การผสมสีเลเยอร์ให้มืดลง โดยใช้วิธีเปรียบเทียบความสว่างของพื้นสีทั้ง 2 เลเยอร์ แล้วตัดส่วนที่สว่างที่สุดของเลเยอร์บนทิ้งไป มี 5 แบบ ได้แก่ Darken, Multiply, Color Burn, Linear Burn
3)การผสมสีเลเยอร์ให้สว่างขึ้น ใช้วิธีการนำสีของทั้ง 2 เลเยอร์ที่ซ้อนกันมาเทียบแล้วตัดส่วนที่มืดที่สุดออกไป และแสดงส่วนที่สว่าง มี 5 รูปแบบ ได้แก่ Lighten, Screen, Color Dodge, Linear Dodge(Add), Lighter Color
4)การผสมสีเลเยอร์ให้สีสดขึ้น โดยเน้นส่วนมืดและส่วนสว่างให้เข้มยิ่งขึ้นด้วย โดยใช้วิธีเทียบสีและเร่งสีของภาพให้เข้มขึ้น มี 7 แบบ ได้แก่ Overlay, Hard Light, Soft Light, Vivid Light, Linear Light, Pin Light, Hard Mix
5)การผสมสีในกลุ่มสีตรงข้าม ใช้วิธีการเทียบสีของเลเยอร์ทั้ง 2 ที่ซ้อนกันแล้วแสดงเป็นสีตรงข้าม
ทำให้ได้ภาพที่ดูเหนือธรรมชาติ มี 4 แบบ ได้แก่ Difference, Exclusion, Subtract, Divide
6)การผสมสีในกลุ่มของสี ความสดและความสว่าง ใช้วิธีการเลือกผสม มี 4 แบบ ได้แก่ Hue, Saturation, Color, Luminosity
6.หน้ากากมาสก์บังภาพ (Mask)
มาสก์เป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นมาเพื่อปิดบังพื้นที่บางส่วนที่เราไม่ได้เลือกหรือไม่ต้องการให้แสดงออกมา ซึ่งจะทำให้ส่วนที่ถูกบังไม่ได้รับผลจากการใช้คำสั่งปรับแต่ง ตัดต่อ ระบายภาพต่างๆ
6.1การสร้าง Layer Mask มีลักษณะเหมือนกับการเจาะภาพบริเวณที่ต้องการแสดงด้วยการระบายสีขาวลงไปในเลเยอร์มาสก์ หรือระบายสีดำเพื่อบังพื้นที่บริเวณนั้น การสร้างเลเยอร์มาสก์ทำให้สามารถนำบางส่วนของภาพ
ไปปรับแต่งหรือตัดต่อภาพกับภาพอื่นๆ ได้โดยไม่ทำให้ภาพต้นฉบับเสียหาย โดยคลิกปุ่มเลเยอร์มาสก์บนพาเนล และใช้เครื่องมือ Blush Tool ระบายลงบนช่องของเลเยอร์มาสก์ เพื่อแสดงให้เห็นภาพเลเยอร์ชั้นล่าง หรืออาจทำ Selection ส่วนที่ต้องการตัดออกจากพื้นหลังเดิม และคลิกปุ่มเลเยอร์มาสก์
6.2การซ่อน/แสดงเลเยอร์มาสก์ การซ่อนเลเยอร์มาสก์จะทำให้ภาพที่ถูกบังแสดงออกมาทั้งหมดตามปกติ
เมื่อซ่อนเลเยอร์มาสก์จะเห็นเครื่องหมายกากบาทสีแดงในช่องเลเยอร์มาสก์นั้น โดยกด Shift
แล้วคลิกช่องมาสก์ (หากต้องการแสดงเหมือนเดิมให้ทำซ้ำ)
7.ข้อความและตัวอักษร
7.1การสร้างข้อความ : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool โดยสามารถเลือกลักษณะตัวอักษร
ความคมชัด ขนาด ตำแหน่งข้อความ สีตัวอักษรได้
7.2การแก้ไขข้อความ : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool ลากเมาส์คลุมตัวอักษรที่ต้องการแก้ไข
และปรับแต่งตัวอักษรตามต้องการ
7.3การปรับระยะห่างระหว่างบรรทัด : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool ลากเมาส์คลุมตัวอักษรที่มีระยะห่างระหว่างบรรทัดมากเกินไป จากนั้น ให้กำหนดค่าที่ Set the leading ที่ช่อง Character
บนพาเนล เพื่อปรับระยะห่างระหว่างบรรทัด
7.4การหมุนและปรับขนาดข้อความ : สามารถทำได้ 2 วิธี
1)กดปุ่ม Ctrl+T แล้วลากเมาส์ปรับขนาดตามที่ต้องการ หากต้องการปรับให้ได้สัดส่วนสมมาตรเท่ากัน
ให้กด Shift ขณะลากเมาส์ด้วย
2.เลือก Edit > Free Transform หรือคลิกขวาบนข้อความแล้วเลือกคำสั่งในการปรับขนาดและหมุน
7.5การแก้สระลอยในภาษาไทย : คลิกวางเคอร์เซอร์หลังสระลอยตัวที่จะแก้ไข แล้วกด Shift+ เพื่อเลื่อนสระลอยที่อยู่ข้างหน้าเคอร์เซอร์ หรือ กด Shift+ เพื่อเลื่อนสระลงมาให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
เมื่อแก้สระลอยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กด Ctrl+Enter เพื่อออกจากกรอบข้อความ
8.เส้นและวาดรูปทรวงแบบเวคเตอร์
8.1การวาดรูปทรงด้วย Selection โดยเลือก Marquee Tool ลากเมาส์สร้างรูปทรง และเทสีด้วยเครื่องมือ Paint Bucket Tool
8.2การวาดรูปทรงแบบมีเส้นขอบ (Shape) โดยวาดรูปทรงที่ต้องการ จากนั้นเลือกสีเส้นขอบที่ช่อง Stroke โดยสามารถเลือกความหนาและรูปแบบเส้นขอบ และลากเมาส์วาดรูปทรง
8.3การวาดรูปทรงสำเร็จรูป โดยใช้เครื่องมือ Custom Shape แล้วเลือกช่อง Shape ทั้งนี้ สามารถเลือกรูปทรงอื่นเพิ่มเติมที่โปรแกรมมีให้ได้ โดยคลิกที่รูปเฟืองมุมขวาบน และเลือกรูปแบบที่ต้องการ จากนั้น
คลิก Ok หรือ Append
9.การระบายสีภาพ
9.1ระบายสีภาพด้วย Gradient Tool : Gradient Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเติมสีแบบไล่ระดับสี
สามารถกำหนดโทนสีและทิศทางการไล่โทนสีได้ตามต้องการ
9.2ระบายสีภาพด้วย Pattern : โดยใช้เครื่องมือ Paint Bucket Tool เติมลวดลายลงไปบนภาพหรือ Selection ที่สร้างขึ้น
9.3ระบายสีภาพด้วย Brush Tool : Brush Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบายสีหรือวาดภาพได้เหมือนพู่กัน
โดยสามารถเลือกหัวแปรงได้หลากหลายรูปแบบ
10.การรีทัชภาพ (Retouching)
10.1Content-Aware Move Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งเกลี่ยภาพพื้นหลังให้กลมกลืน
โดยอัตโนมัติ ใช้ในการย้ายตำแหน่งภาพหรือคัดลอกภาพ โดยโปรแกรมจะเกลี่ยสีขอบภาพให้ดูกลมกลืน
10.2Healing Brush เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับลบสิ่งที่ไม่ต้องการออก โดยคัดลอกพื้นที่ที่เลือกมาแปะทับแล้ว
ปรับเกลี่ยสีภาพ ซึ่งวิธีนี้จะคงแสงเงาและสภาพพื้นผิวของส่วนที่ถูกระบายไว้ด้วย ทำให้ได้ภาพที่มีความกลมกลืน
10.3Blur Tool ใช้ระบายส่วนที่ต้องการให้เนียนหรือเบลอ เพื่อลดความคมชัดให้ภาพบริเวณนั้นให้ดูกลมกลืนหรือเนียนขึ้น โดยเลือกปรับขนาดหัวแปรงได้
10.4Dodge Tool เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขความสว่างของภาพในจุดที่ต้องการ เช่นการปรับสีผิวให้ขาวใส โดยระบายบนภาพส่วนที่ต้องการปรับ
10.5Burn Tool เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความสว่างของภาพให้มืดลง โดยสามารถเลือกปรับแต่ง
ในบริเวณที่ต้องการได้
10.6Red Eye Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ภาพถ่ายบุคคลที่อาจเกิดภาพตาแดง เนื่องจากแสงแฟลชที่สะท้อนไปที่ม่านตา
10.7Clone Stamp Tool ใช้ปรับแต่งพื้นผิวส่วนที่ไม่ต้องการด้วยการคัดลอกพื้นที่ต้นแบบไปแปะทับหรือคัดลอกวัตถุไปวางเพิ่มอีกจุดหนึ่ง ซึ่งการใช้งานเครื่องมือนี้ จะต้องกด Alt ค้างไว้แล้วคลิกเลือกพื้นที่ต้นแบบ
10.8Content-Aware Fill ใช้ลบภาพที่ไม่ต้องการออกจากภาพอย่างรวดเร็ว โดยการนำพื้นผิวรอบนอก Selection มาแปะทับอย่างกลมกลืนโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพดูสมจริงขึ้น โดยสร้าง Selection > Edit > Fill >เลือก Content-Aware ตรงช่อง Use > OK
11.ตัวอย่างผลงาน Photoshop