วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559
โครงการให้ความรู้เรื่องราววางแผนทางการเงินและการลงทุนปี 2560
ผู้เล่าเรื่อง : นางสาววัลภา แซ่ก๊วย
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการ ชำนาญการ
หน่วยงาน : กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : โทร. ๔614
หลักสูตรฝึกอบรม : โครงการให้ความรู้เรื่องราววางแผนทางการเงินและการลงทุนปี 2560
หน่วยงานผู้จัด : กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
เพื่อสมาชิก กบข. เกิดการตระหนักในสถานะหนี้สิน ระยะเวลาในการบริหารเงินเพื่อชำระหนี้สิน และสถานะความพอเพียงของเงินใช้ในวัยเกษียณ โดยใช้โปรแกรมประมาณการความเพียงพอเงินใช้หลังเกษียณ ซึ่งสมาชิกสามารถ Download Program ได้ที่เว็บไซต์ กบข. www.gpf.or.th
วิธีการ
1. สมาชิกระบุหนี้สิน ประมาณการค่าใช้จ่ายในอนาคต เงินเฟ้อ การขึ้นเงินเดือนและผลตอบแทนการลงทุน กบข. ในอนาคต โดย กบข. มีการระบุข้อมูลปัจจุบันประกอบการกำหนดตัวเลข
2. โปรแกรมประเมินเงิน กบข. ณ เกษียณภายใต้สมมุติฐานออมตามกฎหมาย และผลตอบแทนการลงทุนที่สมาชิกกำหนด
3. โปรแกรมคำนวณสรุปให้เห็นถึงสถานะการเงินในวัยเกษียณ และแนะนำให้สมาชิกลองเปลี่ยนสัดส่วนออมเพิ่มเพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง
เนื้อหาและหัวข้อวิชาของหลักสูตรการฝึกอบรม มีดังนี้
1) วางแผนการเงินด้วย “โปรแกรมประมาณการความเพียงพอเงินใช้หลังเกษียณ”
2) เข้าใจหน่วยลงทุน...... ไม่กลัวขาดทุน
3) การลงทุน กบข. และเปรียบเทียบผลตอบแทน
4) บริการ กบข.
- ออมเพิ่ม
- ออมต่อ
- แผนทางเลือกการลงทุน
5) ช่องทางการติดต่อ กบข.
6) Workshop เกมลงทุน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
เพื่อให้รู้จักวิธีการออมว่า มีหลายวิธีตามความสามารถของแต่ละบุคคล เข้าใจการลงทุนใน กบข. และการลงทุนในสถาบันอื่นๆ ว่า การลงทุนมีธรรมชาติของการลงทุน มีความเสี่ยงของการลงทุน เช่น ความผันผวน ความไม่แน่นอน ภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว และที่สำคัญที่สุด คือ เป็นข้อมูลในการวางแผน การใช้เงินเมื่อข้าราชการเกษียณอายุไปแล้ว
แนวทางในการนำความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมครั้งนี้
1)ทดลองจัดพอร์ตลงทุนโดย “วิเคราะห์” ข้อมูลจากข่าว
2)ทำความเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของสินทรัพย์เพื่อการลงทุน
3)รู้จักและเข้าใจคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในฐานะนักลงทุนสถาบัน เช่น กบข.
4)รู้จักและเข้าใจ “ธรรมชาติของการลงทุน” (ความผันผวน การลงทุนระยะสั้น ระยะยาว)
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
1.Financial Literacy
-เข้าใจหน่วยลงทุน... ไม่กลัวขาดทุน
-โปรแกรมประมาณการความเพียงพอเงินใช้หลังเกษียณ
-การลงทุน กบข. และเปรียบเทียบผลตอบแทน
-บริการจาก กบข.
oออมเพิ่ม
oออมต่อ
oแผนทางเลือกการลงทุน
2.การลดค่าใช้จ่ายบางอย่าง... เพื่อให้เหลือเงินออม
3.เกษียณ “หยุดทำงาน อย่างหยุดทำเงิน”
4.เรื่องรู้การลงทุน
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ผู้เล่าเรื่อง : นางสาวพรรณนภา เผ่าจินดา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน : กองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 0 2127 7439
หลักสูตรฝึกอบรม : ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)
2) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3) เพื่อให้ข้าราชการกระทรวงการคลัง มีความชำนาญ มีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานด้านพัสดุภาครัฐได้อย่างมั่นใจ
เนื้อหาและหัวข้อวิชาของหลักสูตรการฝึกอบรม มีดังนี้
1) แนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ
2) แนวทางและหลักปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิของเจ้าหน้าที่
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
ต่อตนเอง ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง
ต่อหน่วยงาน ได้แก่ การบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ของบุคลากรในสังกัดกระทรวงการคลัง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางในการนำความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมครั้งนี้ ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน
- นำไปปรับใช้ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
- รายละเอียดในเชิงเทคนิค
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
1. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ
1.1 การบริหารงานพัสดุภาครัฐ มีระเบียบ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
(2) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
(3) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)
ในการบริหารพัสดุจะต้องยึดหลักการในการดำเนินงาน คือ เปิดเผย โปร่งใส เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ การพัสดุ หมายรวมถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบควบคุมงาน การเช่า การแลกเปลี่ยน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสังจ้าง คณะกรรมการต่างๆ / ผู้ควบคุมงาน ซึ่งในบางครั้งอาจมีการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (การลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกันออกเป็นหลายครั้ง) ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่มีเหตุผลความจำเป็นและมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ (1) วิธีตกลงราคา : วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท (2) วิธีสอบราคา : วงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (3) วิธีประกวดราคา (วิธี e-Auction) วงเงินตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป (4) วิธีพิเศษ : วงเงินเกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข และ (5) วิธีกรณีพิเศษ : ไม่กำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข โดยก่อนการจัดซื้อจัดจ้างทุกวิธี ต้องทำรายงานขอซื้อขอจ้าง แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนการจัดหา การขออนุมัติ การทำสัญญา และการตรวจรับ ทั้งนี้ รายละเอียดของรายงานจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย 1) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง 2) รายละเอียดของพัสดุ 3) ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคครั้งหลังสุดไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ 4) วงเงินที่จะซื้อ/จ้าง/ระบุวงเงินงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ ที่จะซื้อ/จ้างในครั้งนั้น 5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ 6) วิธีจะซื้อ/จ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อ/จ้างโดยวิธีนั้น และ 7) ข้อเสนออื่นๆ (การแต่งตั้งคณะกรรมการ การออกประกาศสอบราคา หรือประกวดราคา)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา โดยหลักการแล้วห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ยกเว้นกรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ หรือกรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยการแก้ไขดังกล่าวต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของสัญญา กล่าวคือ ต้องอยู่ในขอบวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเดิม โดยต้องไม่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ทั้งนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจะกระทำในช่วงเวลาใดก็ได้ แต่อย่างช้าต้องก่อนตรวจรับงานงวดสุดท้าย เว้นแต่เป็นการแก้ไขเรื่องหลักประกัน โดยผู้มีอำนาจอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้คือหัวหน้าส่วนราชการ (คณะกรรมการตรวจรับเป็นผู้เสนอความเห็น)
การบอกเลิก/ตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หลักในการบอกเลิก ได้แก่ (1) มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด และ (2) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลง และค่าปรับจะเกิน 10% ของวงเงินทั้งสัญญา เว้นแต่จะยินยอมเสียค่าปรับ (โดยไม่มีเงื่อนไข) ก็ให้ผ่อนผันได้เท่าที่จำเป็น (กรณีที่งานใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว) และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วให้ดำเนินการแจ้งผู้รับจ้างรายดังกล่าวเป็น ผู้ทิ้งงานด้วย ส่วนในกรณีตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของราชการหากปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลงต่อไป
1.2 ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ... ซึ่งจะนำมาใช้แทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยเป็นไปตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล (ร่างพระราชบัญญัตินี้จะไม่กระทบการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจที่ทำการพาณิชย์) โดยกำหนดหลักการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ไว้ 4 ประการ คือ (1) ความคุ้มค่า (2) ความโปร่งใส (3) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ (4) ตรวจสอบได้ รวมทั้งกำหนดให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยการจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างก็ได้ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น ๆ และมีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้มีโอกสเข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ 5 คณะ ได้แก่ (1) คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (2) คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุภาครัฐ (3) คณะกรรมการกำกับราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (4) คณะกรรมการวความร่วมมือป้องกันการทุจริต และ (5) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน รวมทั้งกำหนดให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นองค์กรสนับสนุน ดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทั้งนี้ การพิจารณาการคัดเลือกข้อเสนอ กำหนดให้มีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ โดยให้พิจารณาคุณภาพประกอบราคา (price performance) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ราคาต่ำสุดเสมอไป นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดบทกำหนดโทษ โดยกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบ หรือ โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 40,000 บาท ถึง 400,000 บาท และผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
2. ความรู้เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันตือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เดิมคือ ระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบข้าราชการในทางแพ่ง พ.ศ. 2503
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ แบ่งเป็น (1) การกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือบุคคลภายนอก และ (2) การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
ในกรณีกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือบุคคลภายนอก สิทธิในการดำเนินคดีของผู้เสียหาย สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ และหากฟ้องผิดสามารถฟ้องใหม่ได้ภายใน 6 เดือน นับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด (ไม่ต้องดูอายุความ 1 ปี หรือ 10ปี)
อายุความการใช้สิทธิโดยยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัว รู้เหตุ หรือ 10 ปี นับแต่เหตุเกิด คือ รู้เหตุ แต่ไม่รู้ตัว
ในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ได้ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งการหำและความเป็นธรรม (3) หักส่วนความเสียหาย และ (4) ไม่นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ อายุความการเรียกชดใช้ค่าเสียหาย คือ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะ 2 ปี หรือ 1 ปี ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เหตุเกิด ทั้งนี้ การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ โดยการดำเนินการเมื่อหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย และต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เพื่อให้มีการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยการเต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาสอบข้อเท็จจริงว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ และในกรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้รายงานผู้บังคับบัญชา และหากผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยให้ยุติเรื่อง หากไม่เห็นด้วย ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดต่อไป
การชดใช้ค่าเสียหาย
(1)ถ้าเป็นเงิน ต้องชดใช้เป็นเงิน โดยเจ้าหน้าที่สามารถผ่อนชำระได้ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง (ว. 115) หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีไป
โดยห้ามฟ้องล้มละลายเจ้าหน้าที่ในกรณีไม่มีเงินผ่อนชำระ เว้นแต่เข้าเงื่อนไขแห่งระเบียบฯ (เช่น หากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดบอกว่าไม่เงินชำระหนี้ แต่มีพฤติกรรมร้ายแรง เป็นต้น)
(2) ถ้าเป็นสิ่งของ ต้องชดใช้เป็นสิ่งของที่มีสภาพ คุณภาพ ปริมาณ และลักษณะอย่างเดียวกัน โดยตั้งคณะกรรมการตรวจรับด้วย และในกรณีสิ่งของนั้นมีค่าเสื่อมราคา ต้องคิดค่าเสื่อมราคาด้วย และแจ้งหัวหน้าส่วนราชการรับทราบ
(3) ถ้าต้องซ่อม ให้ทำสัญญารับสภาพหนี้ เพื่อ่ให้อายุความสะดุดหยุดลง พร้อมทำสัญญาตกลงและซ่อมให้เสร็จโดยเร็ว (6 เดือน)
(4) ถ้าชดใช้ต่างจากทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย ต้องทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน : กองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 0 2127 7439
หลักสูตรฝึกอบรม : ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 รวมทั้งแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)
2) เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
3) เพื่อให้ข้าราชการกระทรวงการคลัง มีความชำนาญ มีความพร้อมและสามารถปฏิบัติงานด้านพัสดุภาครัฐได้อย่างมั่นใจ
เนื้อหาและหัวข้อวิชาของหลักสูตรการฝึกอบรม มีดังนี้
1) แนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ
2) แนวทางและหลักปฏิบัติราชการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิของเจ้าหน้าที่
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
ต่อตนเอง ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง
ต่อหน่วยงาน ได้แก่ การบริหารงานพัสดุภาครัฐ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ของบุคลากรในสังกัดกระทรวงการคลัง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางในการนำความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมครั้งนี้ ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน
- นำไปปรับใช้ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
- รายละเอียดในเชิงเทคนิค
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
1. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐ
1.1 การบริหารงานพัสดุภาครัฐ มีระเบียบ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม
(2) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
(3) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding)
ในการบริหารพัสดุจะต้องยึดหลักการในการดำเนินงาน คือ เปิดเผย โปร่งใส เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ การพัสดุ หมายรวมถึง การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบควบคุมงาน การเช่า การแลกเปลี่ยน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสังจ้าง คณะกรรมการต่างๆ / ผู้ควบคุมงาน ซึ่งในบางครั้งอาจมีการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (การลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ในครั้งเดียวกันออกเป็นหลายครั้ง) ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่มีเหตุผลความจำเป็นและมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ (1) วิธีตกลงราคา : วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท (2) วิธีสอบราคา : วงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (3) วิธีประกวดราคา (วิธี e-Auction) วงเงินตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไป (4) วิธีพิเศษ : วงเงินเกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข และ (5) วิธีกรณีพิเศษ : ไม่กำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข โดยก่อนการจัดซื้อจัดจ้างทุกวิธี ต้องทำรายงานขอซื้อขอจ้าง แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนการจัดหา การขออนุมัติ การทำสัญญา และการตรวจรับ ทั้งนี้ รายละเอียดของรายงานจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย 1) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง 2) รายละเอียดของพัสดุ 3) ราคามาตรฐาน หรือราคากลาง หรือราคครั้งหลังสุดไม่เกิน 2 ปีงบประมาณ 4) วงเงินที่จะซื้อ/จ้าง/ระบุวงเงินงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ ที่จะซื้อ/จ้างในครั้งนั้น 5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ 6) วิธีจะซื้อ/จ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อ/จ้างโดยวิธีนั้น และ 7) ข้อเสนออื่นๆ (การแต่งตั้งคณะกรรมการ การออกประกาศสอบราคา หรือประกวดราคา)
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา โดยหลักการแล้วห้ามแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา ยกเว้นกรณีจำเป็น ไม่ทำให้ราชการเสียประโยชน์ หรือกรณีแก้ไขเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยการแก้ไขดังกล่าวต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของสัญญา กล่าวคือ ต้องอยู่ในขอบวัตถุประสงค์แห่งสัญญาเดิม โดยต้องไม่เป็นการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ทั้งนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจะกระทำในช่วงเวลาใดก็ได้ แต่อย่างช้าต้องก่อนตรวจรับงานงวดสุดท้าย เว้นแต่เป็นการแก้ไขเรื่องหลักประกัน โดยผู้มีอำนาจอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้คือหัวหน้าส่วนราชการ (คณะกรรมการตรวจรับเป็นผู้เสนอความเห็น)
การบอกเลิก/ตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หลักในการบอกเลิก ได้แก่ (1) มีเหตุเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด และ (2) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลง และค่าปรับจะเกิน 10% ของวงเงินทั้งสัญญา เว้นแต่จะยินยอมเสียค่าปรับ (โดยไม่มีเงื่อนไข) ก็ให้ผ่อนผันได้เท่าที่จำเป็น (กรณีที่งานใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว) และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วให้ดำเนินการแจ้งผู้รับจ้างรายดังกล่าวเป็น ผู้ทิ้งงานด้วย ส่วนในกรณีตกลงกันเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ทำได้เฉพาะในกรณีที่เป็นประโยชน์ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของราชการหากปฏิบัติตามสัญญา/ข้อตกลงต่อไป
1.2 ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ... ซึ่งจะนำมาใช้แทนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้รูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างของไทยเป็นไปตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล (ร่างพระราชบัญญัตินี้จะไม่กระทบการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจที่ทำการพาณิชย์) โดยกำหนดหลักการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ไว้ 4 ประการ คือ (1) ความคุ้มค่า (2) ความโปร่งใส (3) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ (4) ตรวจสอบได้ รวมทั้งกำหนดให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยการจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างก็ได้ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนั้น ๆ และมีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้มีโอกสเข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ 5 คณะ ได้แก่ (1) คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (2) คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุภาครัฐ (3) คณะกรรมการกำกับราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (4) คณะกรรมการวความร่วมมือป้องกันการทุจริต และ (5) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน รวมทั้งกำหนดให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่เป็นองค์กรสนับสนุน ดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทั้งนี้ การพิจารณาการคัดเลือกข้อเสนอ กำหนดให้มีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ โดยให้พิจารณาคุณภาพประกอบราคา (price performance) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ราคาต่ำสุดเสมอไป นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดบทกำหนดโทษ โดยกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบ หรือ โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 40,000 บาท ถึง 400,000 บาท และผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
2. ความรู้เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันตือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เดิมคือ ระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบข้าราชการในทางแพ่ง พ.ศ. 2503
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ แบ่งเป็น (1) การกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือบุคคลภายนอก และ (2) การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
ในกรณีกระทำละเมิดต่อเอกชนหรือบุคคลภายนอก สิทธิในการดำเนินคดีของผู้เสียหาย สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ และหากฟ้องผิดสามารถฟ้องใหม่ได้ภายใน 6 เดือน นับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด (ไม่ต้องดูอายุความ 1 ปี หรือ 10ปี)
อายุความการใช้สิทธิโดยยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัว รู้เหตุ หรือ 10 ปี นับแต่เหตุเกิด คือ รู้เหตุ แต่ไม่รู้ตัว
ในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ได้ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) คำนึงถึงความร้ายแรงแห่งการหำและความเป็นธรรม (3) หักส่วนความเสียหาย และ (4) ไม่นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ อายุความการเรียกชดใช้ค่าเสียหาย คือ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะ 2 ปี หรือ 1 ปี ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เหตุเกิด ทั้งนี้ การกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ โดยการดำเนินการเมื่อหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย และต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เพื่อให้มีการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยการเต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อพิจารณาสอบข้อเท็จจริงว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ และในกรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้รายงานผู้บังคับบัญชา และหากผู้บังคับบัญชาเห็นด้วยให้ยุติเรื่อง หากไม่เห็นด้วย ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดต่อไป
การชดใช้ค่าเสียหาย
(1)ถ้าเป็นเงิน ต้องชดใช้เป็นเงิน โดยเจ้าหน้าที่สามารถผ่อนชำระได้ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง (ว. 115) หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณีไป
โดยห้ามฟ้องล้มละลายเจ้าหน้าที่ในกรณีไม่มีเงินผ่อนชำระ เว้นแต่เข้าเงื่อนไขแห่งระเบียบฯ (เช่น หากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดบอกว่าไม่เงินชำระหนี้ แต่มีพฤติกรรมร้ายแรง เป็นต้น)
(2) ถ้าเป็นสิ่งของ ต้องชดใช้เป็นสิ่งของที่มีสภาพ คุณภาพ ปริมาณ และลักษณะอย่างเดียวกัน โดยตั้งคณะกรรมการตรวจรับด้วย และในกรณีสิ่งของนั้นมีค่าเสื่อมราคา ต้องคิดค่าเสื่อมราคาด้วย และแจ้งหัวหน้าส่วนราชการรับทราบ
(3) ถ้าต้องซ่อม ให้ทำสัญญารับสภาพหนี้ เพื่อ่ให้อายุความสะดุดหยุดลง พร้อมทำสัญญาตกลงและซ่อมให้เสร็จโดยเร็ว (6 เดือน)
(4) ถ้าชดใช้ต่างจากทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย ต้องทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559
" Digital Government Transformation in Action "
ผู้เล่าเรื่อง
นางนพรัตน์ พรหมนารท
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนา
ระบบงานตรวจสอบภายใน
นางสาวกชพร รักอยู่
นักบัญชีชำนาญการพิเศษ
นางสาวน้ำเพชร วงษ์ประทีป
นักบัญชีชำนาญการ
นางสาวปภาสินี คลอวุฒิเสถียร
นักบัญชีปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองตรวจสอบภาครัฐ
หลักสูตรฝึกอบรม : การสัมมนา Digital Government Transformation in Action
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ความรู้ที่แบ่งปัน
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ " Digital Government Transformation in Action "
โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การผลักดันภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยแผนพัฒนาในประเทศไทยระยะ 3 ปี (ปี 2559 – 2561) แบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 18 มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล
มาตรการที่ 1 การบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลาง เพื่อบรูณาการข้อมูลประชาชนและ นิติบุคคลจากหลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นภาพเดียว อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ของงานบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยใช้เลข 13 หลัก รวมทั้งมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบุคคล
มาตรการที่ 2 การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิโดยใช้ Smart Card หรือ ผ่านบัญชีผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์กลาง สำหรับทำธุรกรรมภาครัฐทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน
มาตรการที่ 3 การให้ทุกข้อมูลงานบริการผ่านจุดเดียวโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนในการให้บริการภาครัฐ และการให้ข้อมูลรายบุคคลแก่ประชาชน เช่น ข้อมูลบุคคล และสิทธิสวัสดิการสังคมที่พึงได้รับ
มาตรการที่ 4 การแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการเข้าถึงความต้องการในเชิงรุก เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและการใช้งานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111 ให้เป็นระบบกลางที่สามารถเชื่อมโยง เรื่องร้องเรียนทุกประเภทของทุกหน่วยงานได้
มาตรการที่ 5 โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานกลางด้าน ICT ของภาครัฐเพื่อรองรับบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล
มาตรการที่ 6 ยกระดับศักยภาพบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถตามมาตรฐานและตรงตามความต้องการในยุคดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการที่ 7 การให้บริการความช่วยเหลือแบบบรูณาการในเชิงรุก เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
มาตรการที่ 8 การบรูณาการตลาดแรงงานแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคธุรกิจ
มาตรการที่ 9 การเกษตรแบบครบวงจรรายบุคคลผ่านการบูรณาการ โดยครอบคลุมการวางแผน การรวบรวมปัจจัยการผลิต การปลูกและดูแลรักษา การรับมือภัยธรรมชาติ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและ การขายผลผลิต
มาตรการที่ 10 การบรูณาการด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการค้นหาข้อมูล วางแผนและจัดซื้อสินค้า และบริการเพื่อการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์
มาตรการที่ 11 การบรูณาการงานบริการด้านการลงทุนข้ามหน่วยงาน เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ โดยครอบคลุม การจดทะเบียนธุรกิจ การขอรับสิทธิ ประโยชน์ด้านการลงทุน และการขอใบอนุญาตอื่น ๆ
มาตรการที่ 12 การบรูณาการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจรกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ณ จุดเดียว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยลดความซ้ำซ้อนในการป้อนข้อมูลและส่งเอกสาร
มาตรการที่ 13 การส่งเสริม SME แบบบูรณาการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเติบโต เป็นระบบที่บรูณาการเพื่อให้ข้อมูล ความรู้ และคำปรึกษา เพื่อประกอบธุรกิจแก่ SME แบบครบวงจร ณ จุดเดียว และภาครัฐสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการที่ 14 ระบบภาษีบรูณาการข้ามหน่วยงานแบบครบวงจร เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคธุรกิจในการยื่นแบบและชำระภาษีแก่ภาครัฐ โดยครอบคลุมการลงทะเบียนผู้เสียภาษี การยื่นแบบภาษี การชำระ/ขอคืนภาษี และการตรวจสอบภาษี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน
มาตรการที่ 15 การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โดยบรูณาการข้อมูลจากกล้องวงจรปิด เพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการผ่านระบบศูนย์บัญชาการ และใช้ระบบดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินงานของการสืบสวนและดำเนินคดี
มาตรการที่ 16 การประเมินความเสี่ยงผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้าและพิสูจน์ตัวตนผ่านช่องทางอัตโนมัติ เพื่อขยายผลระบบพิสูจน์ตัวตนด้วยลายนิ้วมือให้ครอบคลุมทุกด่าน สามารถรองรับพลเมืองและชาวต่างชาติที่มีการลงทะเบียนล่วงหน้า รวมถึงให้มีการประเมินความเสี่ยงของผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้า
มาตรการที่ 17 การบรูณาการข้อมูลเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงของ การเกิดภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบของการเกิดภัยธรรมชาติ รวมถึง
การเตรียมความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรับมือ โดยบรูณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลประชากรและภูมิศาสตร์ ข้อมูลน้ำ หรือข้อมูลดิบจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามและบริหารจัดการภัยธรรมชาติ
มาตรการที่ 18 การบรูณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต โดยครอบคลุมการแจ้งเตือน การค้นหาและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภายหลังการเกิดภัยพิบัติ เช่น ข้อมูลภูมิศาสตร์ ข้อมูลสถานพยาบาล ข้อมูลที่ตั้งหน่วยกู้ภัยเป็นการให้บริการสำหรับประชาชนผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทางเว็บไซต์ โดยศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน โดยการบริการแบบออนไลน์ประมาณกว่า 800 รายการ ได้แก่
1.ในการเป็นศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ biz.govchannel.go.th ของ การเริ่มต้นธุรกิจ โดยลดการยื่นเอกสารซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้จาก จุดเดียว (One Stop Service) ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบบจะใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับล็อกอิน และส่งรหัสผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลที่ผู้ประกอบการแจ้งต่อนายทะเบียน
2.ศูนย์รวมข้อมูล เพื่อติดต่อราชการ โดยผ่านเว็บไซต์ info.go.th และ แอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
3.ระบบสื่อสารออนไลน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Government Secure Chart) เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความลับทางราชการ รองรับการใช้งาน Mobile Device, เครื่องคอมพิวเตอร์ และผ่าน Web-based โดยดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ gchat.apps.go.th
4.ข้อมูล และบริการภาครัฐ เพื่อประชาชน โดยแอปพลิเคชัน แจ้งข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐ กับ
G-News
ในปัจจุบันมีตู้ในการให้บริการ 11 จุด ที่เป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร และในปี 2560 จะขยายผลทั่วประเทศประมาณ กว่า 100 ตู้ และอยู่ในบริเวณชุมชนหนาแน่นของแต่ละพื้นที่
การเสวนา : การดำเนินงานของส่วนราชการภายใต้พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกตามนโยบายรัฐบาลผ่านศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (GovChannel)
-Government Smart Kiosk : ความร่วมมือและประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ
-เว็บไซต์ info.go.th และแอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
ผู้ร่วมเสวนา
นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
บ. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร
ผอ.อาวุโส ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
ธนาคารไทยพาณิชย์
นายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์
นายแพทย์ปฏิบัติการ
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลราชวิถี
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล
ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สนง.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(องค์กรมหาชน)
การเสวนา : ภาครัฐกับการบรูณาการเพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในการเริ่มต้นธุรกิจ (Doing Business Platform) ตั้งแต่เวลา 13.00 – 14.30 น.
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปาจรีย์ ซาลิมี ผู้ช่วยผู้ว่าการ (เทคโนโลยีสารสนเทศ) การประปานครหลวง
นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายบุญสม โมจนกุล ผู้อำนวยการกองทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นางสาวอัญชลี นาคนิศร ผู้ช่วยผู้อำนวยการการฝ่ายพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศการไฟฟ้านครหลวง
ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและจัดการแอปพลิเคชัน สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน)
การประปานครหลวง : มีฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำเก็บอยู่ในระบบ โดยมีบริการฝากมิเตอร์น้ำ ซึ่งในการเก็บค่าบริการ หากชำระเกินเวลาที่กำหนด จะเสียค่าปรับ สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำร้อง จะลดระยะเวลาเดินทางในการติดต่อต้องการใช้น้ำ โดยผ่านเว็บไซต์ใน 24 ชั่วโมง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ : มีการผลักดันโดยให้รางวัลแก่หน่วยงานที่ให้บริการจุดเดียว แต่ได้รับบริการที่หลากหลาย จากพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เป็นการเปิดบริการแบบออนไลน์ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 12 ปี แบบดิจิทัลที่มีการเชื่อมโยง ซึ่งในการดำเนินการเพื่อยกระดับการอำนวยความสะดวกในการบริการ ได้มีการศึกษาดูงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมี Agency ใหญ่ในการรับเรื่อง เป็นตัว Gateway แบบช่องทางเดียวในการให้บริการเพื่อความสะดวก โดยในระยะที่ 1 มีการดำเนินการเชื่อมโยงในเรื่องธุรกิจการค้า โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (การจดทะเบียนการค้า) กรมสรรพากร (ด้านภาษี) กระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) จะใช้ข้อมูลโดยทำการเชื่อมโยงระหว่างกัน และเป็นการให้บริการประชาชน สำหรับในระยะที่ 2 มีการขยายผลในด้านการก่อสร้าง (ประปา ไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจส่งออก)
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : ได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดระยะเวลา และขั้นตอนในการให้บริการ
การไฟฟ้านครหลวง : ลดจำนวนเอกสารเน้นการเข้าใช้บริการผ่านระบบ การทำธุรกรรมผ่าน Website รวมถึงการชำระค่าบริการ
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : ได้ร่วมดำเนินการกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน ซึ่งให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และกระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) สำหรับด้านสาธารณูปโภค คือ ประปา ไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการเชื่อมโยงแล้ว และสำหรับด้านโทรคมนาคม (โทรศัพท์) กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
นางนพรัตน์ พรหมนารท
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนา
ระบบงานตรวจสอบภายใน
นางสาวกชพร รักอยู่
นักบัญชีชำนาญการพิเศษ
นางสาวน้ำเพชร วงษ์ประทีป
นักบัญชีชำนาญการ
นางสาวปภาสินี คลอวุฒิเสถียร
นักบัญชีปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองตรวจสอบภาครัฐ
หลักสูตรฝึกอบรม : การสัมมนา Digital Government Transformation in Action
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ความรู้ที่แบ่งปัน
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ " Digital Government Transformation in Action "
โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การผลักดันภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยแผนพัฒนาในประเทศไทยระยะ 3 ปี (ปี 2559 – 2561) แบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 18 มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล
มาตรการที่ 1 การบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลาง เพื่อบรูณาการข้อมูลประชาชนและ นิติบุคคลจากหลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นภาพเดียว อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ของงานบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยใช้เลข 13 หลัก รวมทั้งมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบุคคล
มาตรการที่ 2 การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิโดยใช้ Smart Card หรือ ผ่านบัญชีผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์กลาง สำหรับทำธุรกรรมภาครัฐทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน
มาตรการที่ 3 การให้ทุกข้อมูลงานบริการผ่านจุดเดียวโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนในการให้บริการภาครัฐ และการให้ข้อมูลรายบุคคลแก่ประชาชน เช่น ข้อมูลบุคคล และสิทธิสวัสดิการสังคมที่พึงได้รับ
มาตรการที่ 4 การแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการเข้าถึงความต้องการในเชิงรุก เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและการใช้งานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111 ให้เป็นระบบกลางที่สามารถเชื่อมโยง เรื่องร้องเรียนทุกประเภทของทุกหน่วยงานได้
มาตรการที่ 5 โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานกลางด้าน ICT ของภาครัฐเพื่อรองรับบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล
มาตรการที่ 6 ยกระดับศักยภาพบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถตามมาตรฐานและตรงตามความต้องการในยุคดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการที่ 7 การให้บริการความช่วยเหลือแบบบรูณาการในเชิงรุก เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
มาตรการที่ 8 การบรูณาการตลาดแรงงานแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคธุรกิจ
มาตรการที่ 9 การเกษตรแบบครบวงจรรายบุคคลผ่านการบูรณาการ โดยครอบคลุมการวางแผน การรวบรวมปัจจัยการผลิต การปลูกและดูแลรักษา การรับมือภัยธรรมชาติ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและ การขายผลผลิต
มาตรการที่ 10 การบรูณาการด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการค้นหาข้อมูล วางแผนและจัดซื้อสินค้า และบริการเพื่อการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์
มาตรการที่ 11 การบรูณาการงานบริการด้านการลงทุนข้ามหน่วยงาน เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ โดยครอบคลุม การจดทะเบียนธุรกิจ การขอรับสิทธิ ประโยชน์ด้านการลงทุน และการขอใบอนุญาตอื่น ๆ
มาตรการที่ 12 การบรูณาการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจรกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ณ จุดเดียว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยลดความซ้ำซ้อนในการป้อนข้อมูลและส่งเอกสาร
มาตรการที่ 13 การส่งเสริม SME แบบบูรณาการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเติบโต เป็นระบบที่บรูณาการเพื่อให้ข้อมูล ความรู้ และคำปรึกษา เพื่อประกอบธุรกิจแก่ SME แบบครบวงจร ณ จุดเดียว และภาครัฐสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการที่ 14 ระบบภาษีบรูณาการข้ามหน่วยงานแบบครบวงจร เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคธุรกิจในการยื่นแบบและชำระภาษีแก่ภาครัฐ โดยครอบคลุมการลงทะเบียนผู้เสียภาษี การยื่นแบบภาษี การชำระ/ขอคืนภาษี และการตรวจสอบภาษี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน
มาตรการที่ 15 การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โดยบรูณาการข้อมูลจากกล้องวงจรปิด เพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการผ่านระบบศูนย์บัญชาการ และใช้ระบบดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินงานของการสืบสวนและดำเนินคดี
มาตรการที่ 16 การประเมินความเสี่ยงผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้าและพิสูจน์ตัวตนผ่านช่องทางอัตโนมัติ เพื่อขยายผลระบบพิสูจน์ตัวตนด้วยลายนิ้วมือให้ครอบคลุมทุกด่าน สามารถรองรับพลเมืองและชาวต่างชาติที่มีการลงทะเบียนล่วงหน้า รวมถึงให้มีการประเมินความเสี่ยงของผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้า
มาตรการที่ 17 การบรูณาการข้อมูลเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงของ การเกิดภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบของการเกิดภัยธรรมชาติ รวมถึง
การเตรียมความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรับมือ โดยบรูณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลประชากรและภูมิศาสตร์ ข้อมูลน้ำ หรือข้อมูลดิบจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามและบริหารจัดการภัยธรรมชาติ
มาตรการที่ 18 การบรูณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต โดยครอบคลุมการแจ้งเตือน การค้นหาและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภายหลังการเกิดภัยพิบัติ เช่น ข้อมูลภูมิศาสตร์ ข้อมูลสถานพยาบาล ข้อมูลที่ตั้งหน่วยกู้ภัยเป็นการให้บริการสำหรับประชาชนผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทางเว็บไซต์ โดยศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน โดยการบริการแบบออนไลน์ประมาณกว่า 800 รายการ ได้แก่
1.ในการเป็นศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ biz.govchannel.go.th ของ การเริ่มต้นธุรกิจ โดยลดการยื่นเอกสารซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้จาก จุดเดียว (One Stop Service) ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบบจะใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับล็อกอิน และส่งรหัสผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลที่ผู้ประกอบการแจ้งต่อนายทะเบียน
2.ศูนย์รวมข้อมูล เพื่อติดต่อราชการ โดยผ่านเว็บไซต์ info.go.th และ แอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
3.ระบบสื่อสารออนไลน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Government Secure Chart) เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความลับทางราชการ รองรับการใช้งาน Mobile Device, เครื่องคอมพิวเตอร์ และผ่าน Web-based โดยดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ gchat.apps.go.th
4.ข้อมูล และบริการภาครัฐ เพื่อประชาชน โดยแอปพลิเคชัน แจ้งข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐ กับ
G-News
ในปัจจุบันมีตู้ในการให้บริการ 11 จุด ที่เป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร และในปี 2560 จะขยายผลทั่วประเทศประมาณ กว่า 100 ตู้ และอยู่ในบริเวณชุมชนหนาแน่นของแต่ละพื้นที่
การเสวนา : การดำเนินงานของส่วนราชการภายใต้พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกตามนโยบายรัฐบาลผ่านศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (GovChannel)
-Government Smart Kiosk : ความร่วมมือและประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ
-เว็บไซต์ info.go.th และแอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
ผู้ร่วมเสวนา
นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
บ. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร
ผอ.อาวุโส ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
ธนาคารไทยพาณิชย์
นายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์
นายแพทย์ปฏิบัติการ
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลราชวิถี
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล
ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สนง.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(องค์กรมหาชน)
การเสวนา : ภาครัฐกับการบรูณาการเพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในการเริ่มต้นธุรกิจ (Doing Business Platform) ตั้งแต่เวลา 13.00 – 14.30 น.
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปาจรีย์ ซาลิมี ผู้ช่วยผู้ว่าการ (เทคโนโลยีสารสนเทศ) การประปานครหลวง
นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายบุญสม โมจนกุล ผู้อำนวยการกองทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นางสาวอัญชลี นาคนิศร ผู้ช่วยผู้อำนวยการการฝ่ายพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศการไฟฟ้านครหลวง
ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและจัดการแอปพลิเคชัน สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน)
การประปานครหลวง : มีฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำเก็บอยู่ในระบบ โดยมีบริการฝากมิเตอร์น้ำ ซึ่งในการเก็บค่าบริการ หากชำระเกินเวลาที่กำหนด จะเสียค่าปรับ สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำร้อง จะลดระยะเวลาเดินทางในการติดต่อต้องการใช้น้ำ โดยผ่านเว็บไซต์ใน 24 ชั่วโมง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ : มีการผลักดันโดยให้รางวัลแก่หน่วยงานที่ให้บริการจุดเดียว แต่ได้รับบริการที่หลากหลาย จากพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เป็นการเปิดบริการแบบออนไลน์ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 12 ปี แบบดิจิทัลที่มีการเชื่อมโยง ซึ่งในการดำเนินการเพื่อยกระดับการอำนวยความสะดวกในการบริการ ได้มีการศึกษาดูงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมี Agency ใหญ่ในการรับเรื่อง เป็นตัว Gateway แบบช่องทางเดียวในการให้บริการเพื่อความสะดวก โดยในระยะที่ 1 มีการดำเนินการเชื่อมโยงในเรื่องธุรกิจการค้า โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (การจดทะเบียนการค้า) กรมสรรพากร (ด้านภาษี) กระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) จะใช้ข้อมูลโดยทำการเชื่อมโยงระหว่างกัน และเป็นการให้บริการประชาชน สำหรับในระยะที่ 2 มีการขยายผลในด้านการก่อสร้าง (ประปา ไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจส่งออก)
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : ได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดระยะเวลา และขั้นตอนในการให้บริการ
การไฟฟ้านครหลวง : ลดจำนวนเอกสารเน้นการเข้าใช้บริการผ่านระบบ การทำธุรกรรมผ่าน Website รวมถึงการชำระค่าบริการ
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : ได้ร่วมดำเนินการกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน ซึ่งให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และกระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) สำหรับด้านสาธารณูปโภค คือ ประปา ไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการเชื่อมโยงแล้ว และสำหรับด้านโทรคมนาคม (โทรศัพท์) กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
หลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง” ประจำปี พ.ศ. 2559
ผู้เล่าเรื่อง : นางนวลอนงค์ พงศ์นภารักษ์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 0 5541 1223 ต่อ 306
ส่วนที่ 1 : การรายงานผล
ชื่อโครงการสัมมนา : หลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง” ประจำปี พ.ศ. 2559
หน่วยงานผู้จัด : มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
วัตถุประสงค์ของโครงการสัมมนา :
1) เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะด้านการบริหารที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนแนวคิดและประสบการณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2) กระตุ้นให้มีการปรับตัว สามารถรองรับภารกิจการพัฒนาการปฏิบัติราชการทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม
3) เพื่อให้นักบริหารระดับกลางมีความรู้ ความเข้าใจแนวนโยบายแห่งรัฐ มีความคิดริเริ่ม มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการวางแผน การค้นคว้าวิจัย การบริหาร สามารถเสนอความคิดเห็นและแก้ปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เพื่อพัฒนาทัศนคติค่านิยมและพฤติกรรมการบริหาร โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม และ มุ่งผลสัมฤทธิ์ถึงประชาชน
5) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างกัน ตลอดจนได้มีโอกาสและเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
ต่อตนเอง ได้แก่ สามารถนำประสบการณ์ด้านการบริหารและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรต่อไป
ต่อหน่วยงาน ได้แก่
1) เกิดความสามัคคี มีความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถประสานประโยชน์ในการปฏิบัติงานภายในกระทรวงการคลังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์จากการฝึกอบรมในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
แนวทางในการนำความรู้ / ทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน มีดังนี้
1) เทคนิคการทำงานเป็นทีม ซึ่งก่อให้เกิดความรักความสามัคคีและความร่วมมือในหน่วยงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ภาวะผู้นำ ทำให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้การแก้ปัญหาและตัดสินใจในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน
ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
-ไม่มี-
ความต้องการการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เพื่อส่งเสริมให้สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล คือ
ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางและวิธีการในการสร้างความสามัคคีให้กับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อสร้างความผาสุกในการทำงาน รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นองค์กรแห่งความสุข
ส่วนที่ 2 : การแบ่งปันความรู้
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance GG ) เป็นพระราชกฤษฎีกาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ปรกอบด้วยหลักสำคัญ 6 ประการคือ (1)หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ และ (6) หลักความคุ้มค่า
การบริหารงานแบบมุ่งผลสำฤทธิ์ โดยที่ผลสัมฤทธิ์ (result) ประกอบด้วยผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) โดยที่ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการแนวใหม่ ได้มีการนำเครื่องมือ KPI มาใช้ในการวัดผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและถูกบรรจุเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการ
สมรรถนะ (Competency) เป็นองค์ประกอบรวมของบุคคลที่ถูกนำมาใช้ในการผลักดันเพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงาน และเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีสมรรถนะที่สูงขึ้น มุ่งพัฒนาสมรรถนะให้ครอบคลุม 3 ประเภท คือ (1) สมรรถนะหลัก (Core Competency) (2) สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) และ (3) สมรรถนะตามหน้าที่ (Functional Competency)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ข้าราชการได้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันในองค์กร ในการจัดการความรู้ในองค์กร ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือ การบ่งชี้ความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นของข้าราชการในส่วนราชการนั้นๆ
ความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อให้การบริหารราชการของไทยเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ ก.พ.ร. ได้นำแนวคิดของการบริหารความเสี่ยง (Resk Management) มาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ มุ่งหาทางให้ความเสี่ยงขององค์กรอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความโปร่งใสได้มีการนำเรื่องการควบคุม
ภายใน (Internal Audit) มาใช้ โดยให้ความสำคัญต่อ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (2) กิจกรรมการควบคุม (3) สารสนเทศและการสื่อสาร (4) การประเมินความเสี่ยง
การพัฒนาคุณภาพของการบริหารการจัดการภาครัฐ (PMQA) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารราชการของไทยมีระบบการบริหารที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีการกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ จำแนกออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ (3) การให้บริการและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (5) การบริหารทรัพยากรบุคคล (6) การจัดการกระบวนการ (7) ผลการปฏิบัติงาน
การบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ การพัฒนาองค์กรสมัยใหม่มุ่งไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) และเป็นที่ที่ซึ่งคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง จะมีคุณลักษณะสำคัญ 5ประการ คือ (1) เป็นผู้รอบรู้และใฝ่รู้ (Personal Mastery (2) มีแบบแผนทางความคิด (Mental Model) (3) มีวิสัยทัศน์ร่วม
(Shared Vision) (4) มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Term Learning) และ (5) มีความคิดเชิงระบบ (System Thinking)
กฎหมายปกครองกับการบริหารงานภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ให้ความหมายของคำว่า “คำสั่งทางปกครอง” ว่า หมายถึง (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น (2) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
นโยบายของกระทรวงการคลังด้านรายได้ ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อรายได้รัฐบาลมี 4 เรื่องใหญ่คือ (1) การกระจายอำนาจทางการคลัง (2) การลดลงของรายได้ภาษีศุลกากร (3) การก้าวเข้าสู่รัฐสวัสดิการ (4)การใช้นโยบายภาษีสนับสนุนด้านต่างๆๆ ส่วนแนวนโยบายการคลังในระยะยาว จะให้ความสำคัญ ใน 3ประเด็นสำคัญ คือ
(1) การสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (2)การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (3) การสร้างความเท่าเทียมในการกระจายรายได้
ระบบงบประมาณของไทย เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยมีความเชื่อมโยงจากระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับส่วนราชการ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 0 5541 1223 ต่อ 306
ส่วนที่ 1 : การรายงานผล
ชื่อโครงการสัมมนา : หลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง” ประจำปี พ.ศ. 2559
หน่วยงานผู้จัด : มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
วัตถุประสงค์ของโครงการสัมมนา :
1) เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะด้านการบริหารที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนแนวคิดและประสบการณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2) กระตุ้นให้มีการปรับตัว สามารถรองรับภารกิจการพัฒนาการปฏิบัติราชการทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม
3) เพื่อให้นักบริหารระดับกลางมีความรู้ ความเข้าใจแนวนโยบายแห่งรัฐ มีความคิดริเริ่ม มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการวางแผน การค้นคว้าวิจัย การบริหาร สามารถเสนอความคิดเห็นและแก้ปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เพื่อพัฒนาทัศนคติค่านิยมและพฤติกรรมการบริหาร โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม และ มุ่งผลสัมฤทธิ์ถึงประชาชน
5) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างกัน ตลอดจนได้มีโอกาสและเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
ต่อตนเอง ได้แก่ สามารถนำประสบการณ์ด้านการบริหารและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรต่อไป
ต่อหน่วยงาน ได้แก่
1) เกิดความสามัคคี มีความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถประสานประโยชน์ในการปฏิบัติงานภายในกระทรวงการคลังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์จากการฝึกอบรมในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
แนวทางในการนำความรู้ / ทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน มีดังนี้
1) เทคนิคการทำงานเป็นทีม ซึ่งก่อให้เกิดความรักความสามัคคีและความร่วมมือในหน่วยงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ภาวะผู้นำ ทำให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้การแก้ปัญหาและตัดสินใจในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน
ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
-ไม่มี-
ความต้องการการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เพื่อส่งเสริมให้สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล คือ
ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางและวิธีการในการสร้างความสามัคคีให้กับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อสร้างความผาสุกในการทำงาน รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นองค์กรแห่งความสุข
ส่วนที่ 2 : การแบ่งปันความรู้
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance GG ) เป็นพระราชกฤษฎีกาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ปรกอบด้วยหลักสำคัญ 6 ประการคือ (1)หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ และ (6) หลักความคุ้มค่า
การบริหารงานแบบมุ่งผลสำฤทธิ์ โดยที่ผลสัมฤทธิ์ (result) ประกอบด้วยผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) โดยที่ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการแนวใหม่ ได้มีการนำเครื่องมือ KPI มาใช้ในการวัดผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและถูกบรรจุเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการ
สมรรถนะ (Competency) เป็นองค์ประกอบรวมของบุคคลที่ถูกนำมาใช้ในการผลักดันเพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงาน และเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีสมรรถนะที่สูงขึ้น มุ่งพัฒนาสมรรถนะให้ครอบคลุม 3 ประเภท คือ (1) สมรรถนะหลัก (Core Competency) (2) สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) และ (3) สมรรถนะตามหน้าที่ (Functional Competency)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ข้าราชการได้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันในองค์กร ในการจัดการความรู้ในองค์กร ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือ การบ่งชี้ความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นของข้าราชการในส่วนราชการนั้นๆ
ความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อให้การบริหารราชการของไทยเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ ก.พ.ร. ได้นำแนวคิดของการบริหารความเสี่ยง (Resk Management) มาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ มุ่งหาทางให้ความเสี่ยงขององค์กรอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความโปร่งใสได้มีการนำเรื่องการควบคุม
ภายใน (Internal Audit) มาใช้ โดยให้ความสำคัญต่อ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1 สภาพแวดล้อมของการควบคุม (2) กิจกรรมการควบคุม (3) สารสนเทศและการสื่อสาร (4) การประเมินความเสี่ยง
การพัฒนาคุณภาพของการบริหารการจัดการภาครัฐ (PMQA) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารราชการของไทยมีระบบการบริหารที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีการกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ จำแนกออกเป็น 7 หมวด ได้แก่ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ (3) การให้บริการและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (5) การบริหารทรัพยากรบุคคล (6) การจัดการกระบวนการ (7) ผลการปฏิบัติงาน
การบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ การพัฒนาองค์กรสมัยใหม่มุ่งไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) และเป็นที่ที่ซึ่งคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง จะมีคุณลักษณะสำคัญ 5ประการ คือ (1) เป็นผู้รอบรู้และใฝ่รู้ (Personal Mastery (2) มีแบบแผนทางความคิด (Mental Model) (3) มีวิสัยทัศน์ร่วม
(Shared Vision) (4) มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Term Learning) และ (5) มีความคิดเชิงระบบ (System Thinking)
กฎหมายปกครองกับการบริหารงานภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ให้ความหมายของคำว่า “คำสั่งทางปกครอง” ว่า หมายถึง (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น (2) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
นโยบายของกระทรวงการคลังด้านรายได้ ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อรายได้รัฐบาลมี 4 เรื่องใหญ่คือ (1) การกระจายอำนาจทางการคลัง (2) การลดลงของรายได้ภาษีศุลกากร (3) การก้าวเข้าสู่รัฐสวัสดิการ (4)การใช้นโยบายภาษีสนับสนุนด้านต่างๆๆ ส่วนแนวนโยบายการคลังในระยะยาว จะให้ความสำคัญ ใน 3ประเด็นสำคัญ คือ
(1) การสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (2)การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (3) การสร้างความเท่าเทียมในการกระจายรายได้
ระบบงบประมาณของไทย เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยมีความเชื่อมโยงจากระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับส่วนราชการ
โครงการสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่) หลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดี รุ่นที่ 1/2559
ผู้เล่าเรื่อง : นางสาวบัวสอน บัวลา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดอำนาจเจริญ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 045-523154
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร :
โครงการสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่) หลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดี รุ่นที่ 1/2559 .
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : ข้อคิดที่ได้จากการฟังการบรรยายของท่านวิทยากร เรื่องการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
ท่านวิทยากรที่ได้มาบรรยายในหัวข้อการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท คือท่านอาจารย์วุฒิชัย บุญครอง (ครูอ๊อฟ) ซึ่งการถ่ายทอดของท่านวิทยากรจะเป็นไปด้วยความสนุกสนานแต่ก็แฝงไปด้วยแนวคิดที่ควรนำมาใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อตัวของข้าพเจ้าเองและต่อองค์กรที่ข้าพเจ้าทำงานด้วย ซึ่งเรื่องที่ท่านวิทยากรได้ถ่ายทอดให้ฟังจะแบ่งเป็นสองเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่
เรื่องที่หนึ่ง เรื่องของการเป็นยอดคน ซึ่งยอดคนก็สามารถแบ่งได้เป็น
1.1 เมื่อยังเป็นผู้น้อย เราก็ต้องรู้จัก อ่อนน้อม ถ่อมตน
1.2 เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เราต้องรู้จักการอำนวยความสะดวก และรู้จักการใช้อำนาจแต่ทั้งสองอย่างนี้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ และความกตัญญูจึงจะได้ชื่อว่าเป็นยอดคน
ความกตัญญู คือการที่เราจะต้องให้เวลากับคนที่เรารักมากที่สุด การใส่ใจและการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้เป็นยอดคนคนหนึ่ง
ส่วนเรื่องที่สอง ที่ท่านวิทยากรได้แนะนำไว้คือ
มากเรื่อง มากเรื่องในที่นี้ก็คือ การทำตัวให้เป็นที่รัก ได้แก่
2.1 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
2.2 การรีบประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเรียนรู้และค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาเพื่อให้เติบโต โดยต้องประกอบไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม
2.3 การเลี้ยงครอบครัวได้ เลี้ยงตนเองได้ คือการเป็นคนดีและคนเก่ง
นอกจากนี้ท่านวิทยากร ยังสอนให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งประกอบไปด้วย
- ความพอประมาณ ไม่มากไป ไม่น้อยไป พอดี พอเพียง
- ความมีเหตุผล จะทำอะไรต้องมีเหตุผลไม่ทำตามความรู้สึกของตัวเองเพียงอย่างเดียว
- มีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งจะประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ มีความรู้ และ มีคุณธรรม
และสุดท้ายท่านวิทยากรได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจเอาไว้อย่างหนึ่งว่า
“ทุกๆ การเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการฝืนเสมอ
ถ้าเมื่อใดที่เราทำอะไรแล้วไม่มีการฝืน
การเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีทางเกิดขี้นได้เลย
แต่ถ้าหากมีการฝืนเกิดขึ้นเมื่อไหร่
เมื่อนั้นย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเสมอ”
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดอำนาจเจริญ
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 045-523154
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร :
โครงการสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่) หลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดี รุ่นที่ 1/2559 .
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : ข้อคิดที่ได้จากการฟังการบรรยายของท่านวิทยากร เรื่องการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
ท่านวิทยากรที่ได้มาบรรยายในหัวข้อการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท คือท่านอาจารย์วุฒิชัย บุญครอง (ครูอ๊อฟ) ซึ่งการถ่ายทอดของท่านวิทยากรจะเป็นไปด้วยความสนุกสนานแต่ก็แฝงไปด้วยแนวคิดที่ควรนำมาใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อตัวของข้าพเจ้าเองและต่อองค์กรที่ข้าพเจ้าทำงานด้วย ซึ่งเรื่องที่ท่านวิทยากรได้ถ่ายทอดให้ฟังจะแบ่งเป็นสองเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่
เรื่องที่หนึ่ง เรื่องของการเป็นยอดคน ซึ่งยอดคนก็สามารถแบ่งได้เป็น
1.1 เมื่อยังเป็นผู้น้อย เราก็ต้องรู้จัก อ่อนน้อม ถ่อมตน
1.2 เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เราต้องรู้จักการอำนวยความสะดวก และรู้จักการใช้อำนาจแต่ทั้งสองอย่างนี้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ และความกตัญญูจึงจะได้ชื่อว่าเป็นยอดคน
ความกตัญญู คือการที่เราจะต้องให้เวลากับคนที่เรารักมากที่สุด การใส่ใจและการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้เป็นยอดคนคนหนึ่ง
ส่วนเรื่องที่สอง ที่ท่านวิทยากรได้แนะนำไว้คือ
มากเรื่อง มากเรื่องในที่นี้ก็คือ การทำตัวให้เป็นที่รัก ได้แก่
2.1 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
2.2 การรีบประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเรียนรู้และค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาเพื่อให้เติบโต โดยต้องประกอบไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม
2.3 การเลี้ยงครอบครัวได้ เลี้ยงตนเองได้ คือการเป็นคนดีและคนเก่ง
นอกจากนี้ท่านวิทยากร ยังสอนให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งประกอบไปด้วย
- ความพอประมาณ ไม่มากไป ไม่น้อยไป พอดี พอเพียง
- ความมีเหตุผล จะทำอะไรต้องมีเหตุผลไม่ทำตามความรู้สึกของตัวเองเพียงอย่างเดียว
- มีภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งจะประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ มีความรู้ และ มีคุณธรรม
และสุดท้ายท่านวิทยากรได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจเอาไว้อย่างหนึ่งว่า
“ทุกๆ การเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการฝืนเสมอ
ถ้าเมื่อใดที่เราทำอะไรแล้วไม่มีการฝืน
การเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีทางเกิดขี้นได้เลย
แต่ถ้าหากมีการฝืนเกิดขึ้นเมื่อไหร่
เมื่อนั้นย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเสมอ”
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
“Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
ผู้เล่าเรื่อง : นางสาวมนพร เบญจพร..
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 6850
ส่วนที่ ๑ : การรายงานผล
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
หน่วยงานผู้จัด : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Independent Evaluation ADB
ส่วนที่ ๒ : การแบ่งปันความรู้
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia and Pacific’s Middle-Income countries) โดยเฉพาะ lower middle-income economies ยังคงเผชิญกับกับดักความยากจนและความท้าทาย ในด้านต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรและพลังงาน เป็นต้น ซึ่งการจะก้าวผ่านกับดักดังกล่าว จะต้องมีการพัฒนา/ปรับปรุงในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาระบบการศึกษา สร้างบุคลากรที่มีความรู้และทักษะความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น บุคลากรทางสาขาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีการสร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้น
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบขนส่งสินค้า ระบบขนส่งมวลชน การพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
3. การพัฒนาพลังงานสะอาด พัฒนาการผลิตที่ประหยัดพลังงานและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุนการผลิต/การขนส่ง ลดความสูญเสีย/การขาดแคลนจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. การพัฒนาด้าน Social Protection เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่อ่อนแอ/ด้อยโอกาส เช่น คนยากจน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. การพัฒนาและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน โดยพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ ให้เอื้อต่อการลงทุน/ การดำเนินงานของภาคเอกชน ลดอุปสรรคทางการค้าและด้านต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)
6. การพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการลงทุน ด้านระบบการเงิน ด้านพลังงาน ด้านสุขภาพ และด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7. การกระจายอำนาจ/การพัฒนาการปกครองระดับท้องถิ่น การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้และการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความจำเป็นของท้องถิ่น
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 6850
ส่วนที่ ๑ : การรายงานผล
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
หน่วยงานผู้จัด : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Independent Evaluation ADB
ส่วนที่ ๒ : การแบ่งปันความรู้
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia and Pacific’s Middle-Income countries) โดยเฉพาะ lower middle-income economies ยังคงเผชิญกับกับดักความยากจนและความท้าทาย ในด้านต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรและพลังงาน เป็นต้น ซึ่งการจะก้าวผ่านกับดักดังกล่าว จะต้องมีการพัฒนา/ปรับปรุงในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาระบบการศึกษา สร้างบุคลากรที่มีความรู้และทักษะความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น บุคลากรทางสาขาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีการสร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้น
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบขนส่งสินค้า ระบบขนส่งมวลชน การพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
3. การพัฒนาพลังงานสะอาด พัฒนาการผลิตที่ประหยัดพลังงานและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุนการผลิต/การขนส่ง ลดความสูญเสีย/การขาดแคลนจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. การพัฒนาด้าน Social Protection เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่อ่อนแอ/ด้อยโอกาส เช่น คนยากจน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. การพัฒนาและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน โดยพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ ให้เอื้อต่อการลงทุน/ การดำเนินงานของภาคเอกชน ลดอุปสรรคทางการค้าและด้านต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)
6. การพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการลงทุน ด้านระบบการเงิน ด้านพลังงาน ด้านสุขภาพ และด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7. การกระจายอำนาจ/การพัฒนาการปกครองระดับท้องถิ่น การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้และการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความจำเป็นของท้องถิ่น
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
เทคนิคการตกแต่งภาพด้วย Photoshop
ผู้เล่าเรื่อง : บุณยาพร หาญยืนยงสกุล
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 02-1277000 ต่อ 6850
หลักสูตรฝึกอบรม : เทคนิคการตกแต่งภาพด้วย Photoshop
หน่วยงานผู้จัด : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟฟิกประเภทภาพบิทแมพ (Bitmap) ซึ่งเป็นภาพที่ประกอบด้วยจุดสีขนาดเล็กจำนวนมาก (Pixel) เรียงต่อกันเป็นภาพๆ หนึ่งและมีสีที่เป็นธรรมชาติ ทำให้ไล่โทนสีได้อย่างสมจริง แต่ไม่สามารถขยายมากได้เพราะจะทำให้ภาพดูหยาบ โดยเวอร์ชั่นที่ใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ คือ Photoshop CS6 มีรายละเอียดการใช้ดังนี้
1.ชนิดของไฟล์ภาพที่ใช้ใน Photoshop
1) GIF : ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กและสามารถทำภาพโปร่งใส (Transparency) ได้ แต่มีข้อจำกัดเรื่องสี
เนื่องจากมีจำนวนสีสูงสุดเพียง 256 สี จึงไม่เหมาะกับภาพที่มีรายละเอียดมากนัก
2) JPEG : ไฟล์ภาพมีขนาดเล็กและสามารถแสดงสีได้สูงสุดถึง 16.7 ล้านสี แต่ไม่สามารถทำภาพโปร่งใสได้
3) PNG : เป็นไฟล์ภาพที่รวมคุณสมบัติของไฟล์ภาพแบบ GIF และ JPEG เข้าด้วยกัน โดยไฟล์ภาพ PNG สามารถบีบอัดไฟล์ภาพให้มีขนาดเล็กลงและทำภาพโปร่งใสได้เหมือนกับ GIF แต่ยังคงแสดงสีได้มากเช่นเดียวกับ JPEG
4) Raw File เป็นไฟล์ภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล ซึ่งเก็บความละเอียดของสีมากกว่า JPEG
แต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่มากและไม่สามารถเปิดดูในคอมพิวเตอร์คุณภาพต่ำได้ โดยการจัดการกับภาพ
จะต้องใช้ Camera Raw ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสริมใน Photoshop ช่วยในการปรับแต่งภาพ
5) TIF : เป็นไฟล์ภาพที่นิยมนำไปใช้กับงานด้านสิ่งพิมพ์ เพราะสามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้ดี และเลือกบีบข้อมูลได้
6) PSD : เป็นรูปแบบไฟล์ดั้งเดิมเวลาบันทึก Photoshop โดยเป็นไฟล์ที่มีโครงสร้างแบบ Layer เป็นภาพโปร่งใส และเมื่อนำ Layer ภาพต่างๆ มาซ้อนกันจะได้ภาพที่มีหลายองค์ประกอบบนภาพๆ หนึ่ง ไฟล์มีขนาดใหญ่
และสามารถนำกลับมาแก้ไขภายหลังได้
2.ส่วนประกอบหลักของหน้าจอโปรแกรม Photoshop
3.คำสั่งทั่วไปที่ใช้เป็นประจำใน Photoshop
3.1การสร้างไฟล์งานขึ้นมาใหม่ : เลือก File > New… เมื่อตั้งชื่อไฟล์ กำหนดขนาดภาพ แล้วเลือก OK
3.2การบันทึกไฟล์งาน : เลือก File > Save As… > ตั้งชื่อไฟล์และตำแหน่งที่จัดเก็บภาพ แล้วเลือก Save
โดยหากไม่ได้เลือกบันทึกไฟล์รูปแบบอื่นๆ โปรแกรมจะบันทึกเป็นไฟล์รูปแบบ PSD แต่หากต้องการนำไฟล์ไปใช้ใช้งานทั่วไป ให้เลือก Save for Web… แล้วเลือกรูปแบบไฟล์เป็น GIF JPEG PNG แล้วแต่การใช้งาน
3.3 การคัดลอกภาพ : กด Alt และคลิกเมาส์ที่รูปภาพลากไปอีกที่หนึ่ง
3.4 การปรับมุมมองการแสดงภาพและการปรับขนาดภาพ :
• การย่อ/ขยายมุมมองภาพ สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือ Zoom Tool คลิกบนตำแหน่งที่ต้องการซูมบนภาพ 2) กด Ctrl พร้อมเครืองหมาย+ 3) กด Alt พร้อมกับใช้ปุ่มเลื่อนตรงกลางเมาส์
• การปรับมุมมองภาพให้แสดงพอดีกับหน้าจอ (Fit) > กด Ctrl พร้อมเลข 0
• การปรับมุมมองภาพให้แสดง 100% > กด Ctrl พร้อมเลข 1
• การปรับขนาดและหมุนภาพตามต้องการ
- คำสั่ง Free Transform สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ 1) เลือก Edit > Free Transform > Enter
2) กด Ctrl+T (หากต้องการรักษาสัดส่วนของภาพให้สมมาตรทั้ง 2 ด้าน ให้กด Shift ค้างไว้
ขณะปรับขนาดภาพ) และ 3) คลิกขวาที่ภาพ เลือก Free Transform
ทั้งนี้ หากย่อภาพแล้ว จะขยายภาพอีกไม่ได้ เนื่องจากภาพจะเบลอ แก้ไขได้โดยทำภาพให้เป็น Smart Object ก่อนย่อภาพ โดยเลือก Layer > Smart object ซึ่งหลังจากทำ Smart Object แล้ว ภาพนั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ หากต้องการแก้ไข ให้ดับเบิลคลิกที่ภาพในเลเยอร์
โปรแกรมจะสร้างไฟล์รูปภาพใหม่อีกไฟล์ เพื่อให้ทำการแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กด File > Save รูปภาพในไฟล์เดิมจะถูกแก้ไขอัตโนมัติ
- คำสั่งการหมุนในรูปแบบอื่นๆ ด้วยการคลิกขวาบนภาพ ดังนี้
หมายเหตุ การเลื่อนภาพให้เลือกเครื่องมือ Hand Tool (รูปมือ) ที่ Toolbox หรือกด Space bar ค้าง
เพื่อเป็นมือชั่วคราว
3.5การรวมภาพ ทำได้โดยเลือก File > Place
3.6คำสั่งย้อนกลับการทำงาน :
วิธีที่ 1 เลือก Edit > Undo หรือ Ctrl+Z (ย้อนกลับได้เพียงขั้นตอนเดียว) แต่หากต้องการย้อนกลับมากกว่าขั้นตอนเดียวให้กด Ctrl+Alt+Z ซึ่งสามารถยกเลิกได้ 20 ขั้นตอน
วิธีที่ 2 เลือกย้อนกลับไปขั้นตอนที่ได้ทำไปแล้วที่ Panel History โดย Panel History
เป็นที่เก็บขั้นตอนการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม โดยเรียงลำดับตั้งแต่เริ่มเปิดไฟล์ภาพ ปรับแต่งภาพ ถึงบันทึกไฟล์ภาพ ซึ่งเราสามารถเปิด/ปิด Panel History ได้โดยเลือก Window > History
3.7การเทสีทั้งภาพ : กด Alt+Delete เพื่อเทสี Forefround หรือกด Ctrl+Delete เพื่อเทสี Background
4.การปรับสีและแสงเงาด้วย Adjustment
Adjustment เป็นการรวมคำสั่งสำหรับปรับแต่งแสงเงาและโทนสี มี 2 วิธี 1) เลือก Image > Adjustments > เลือกคำสั่งปรับสีหรือแสงเงาตามต้องการ หรือ 2) เลือก Window > Adjustments >
เลือกคำสั่งปรับสีหรือแสงเงาตามต้องการที่ Panel Adjustment โดยวิธีที่ 2 เรียกว่า Layer Adjustment กล่าวคือ เมื่อใช้คำสั่งปรับแต่งภาพในพาแนล Adjustments โปรแกรมจะสร้าง Layer ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติ
โดยการปรับแต่งภาพบน Layer นี้ จะไม่มีผลต่อภาพต้นฉบับแต่อย่างใด ต่างจากวิธีที่ 1 ที่เป็นการแก้ไข
ภาพต้นฉบับโดยตรง คำสั่งปรับสีหรือแสงเงาใน Adjustment มีดังนี้
การปรับแสง
1)Brightness/Contrast : Brightness คือ การเพิ่มลดความสว่างของภาพ และ Contrast คือ การปรับค่า
ความแตกต่างระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างของภาพ เหมาะกับภาพที่มีปัญหาเรื่องแสงในภาพมืด หรือสว่างเกินไป
2)Levels : ใช้ในการปรับแต่งความมืดหรือความสว่างของภาพด้วยฮิสโตแกรม (Histogram) โดยควบคุมได้ 3 โทนสี คือ มืด-กลาง-สว่าง
3)Curves : ใช้ในการปรับภาพย้อนแสง อาจคลิกปุ่ม Auto เพื่อให้โปรแกรมช่วยปรับแต่งความสว่างอัตโนมัติ
4)Exposure : เป็นการปรับรูรับแสง ใช้ในการปรับภาพที่มีแสงไม่สดใส โดย Exposure เป็นการชดเชยแสงทางบวกหรือทางลบ Offset ปรับความเข้มข้นของเงา และ Gamma Correction เพิ่มแสงสีขาวหรือสีดำ
การปรับสี
5)Vibrance : การปรับสีหรือความสดของภาพให้มีชีวิตชีวามากขึ้น โดย Vibrance เพิ่ม/ลดความสดของสีหลัก และ Saturation เพิ่ม/ลดความสดทุกสี
6)Hue/Saturation : เป็นคำสั่งสำหรับปรับแต่งสีสัน โดยการเพิ่มความสดและความสว่างของสี ส่วนใหญ่มักนำไปปรับสีให้ดูเหนือธรรมชาติมากขึ้น โดยสามารถปรับสีได้ทั้งภาพหรือเฉพาะบางสีที่ต้องการก็ได้
7)Color Balance : ใช้แก้ไขภาพที่สีเพี้ยน โดยปรับเพิ่ม/ลดสัดส่วนของแม่สีที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เพื่อให้ได้ภาพตามโทนสีที่ต้องการ
8)Black & White : ใช้เปลี่ยนภาพสีให้เป็นขาว-ดำ อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเลือกระดับความเข้ม-จางของแต่ละสีได้ตามต้องการ เช่นเดียวกับคำสั่ง Desaturation แต่นิยมใช้ Black & White มากกว่า
9)Photo Filter : ใช้ปรับโทนสีหรืออุณหภูมิสีของภาพให้ออกไปในโทนสีต่างๆ เช่น ถ้าต้องการให้ภาพดูอบอุ่น (Warm) ให้เลือก Filter โทนสีเหลือง ถ้าต้องการให้ภาพเป็นโทนเย็น (Cool) ให้เลือก Filter โทนสีฟ้า เป็นต้น
10)Channel Mixer : ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
11)Color Lookup : เป็นการย้อมสีภาพสำเร็จรูป โดยมีให้เลือกใช้งานมากกว่า 30 แบบ ให้ภาพมีสีสวยงามหลากหลายอารมณ์
12)Invert : ใช้สลับสีต่างๆในภาพให้เป็นสีตรงกันข้าม
13)Posterize : ใช้ลดจำนวนสีทั้งหมดในภาพลง ทำให้ได้ภาพที่มีสีสันฉูดฉาดเหมือนโปสเตอร์ปิดประกาศ
14)Threshold : ใช้แปลงภาพสีให้เป็นภาพขาว-ดำ โดยจะแสดงเพียงสีขาวและดำเท่านั้น ไม่มีสีเทา สามารถปรับระดับการลดสีลงได้ตามต้องการ หากลดระดับค่า Threshold ลงต่ำสุด ภาพจะกลายเป็นสีขาว ถ้ากำหนด
ค่าให้สูงขึ้นภาพจะกลายเป็นสีดำ
15)Gradient Map : เป็นคำสั่งที่นำสีที่ต้องการมาไล่โทนสีจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่ง ซึ่งจะจับคู่กับระดับความสว่างในภาพโดยอัตโนมัติ ทำให้ได้ภาพที่มีการไล่ระดับสีที่มีสีสันแปลกตา
16)Selective Color : ใช้ปรับเพิ่มหรือลดความอิ่มตัวของสีในภาพโดยการผสมสีอื่นๆ ลงไป หรือใช้ลดโทนสีอื่นนอกจากสีที่เลือก
17)Shadow/Highlights : ใช้สำหรับแก้ไขภาพที่มีบางส่วนมืดหรือสว่างเกินไป เช่น ภาพถ่ายย้อนแสง
18)Variations : ใช้ปรับเพิ่มหรือลดสีให้สมดุล โดยเลือกจากภาพตัวอย่างที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ ซึ่งแต่ละภาพจะมีสีหรือแสงเงาแตกต่างกันเล็กน้อย
19)Desaturate : ใช้เปลี่ยนภาพสีให้เป็นขาว-ดำ อย่างรวดเร็ว โดยจะปรับภาพให้เหลือเพียงเฉดสีเทา
20)Match Color : ใช้เปลี่ยนสีให้ภาพ โดยใช้วิธีดูดสีจากภาพต้นแบบ
21)Replace Color : ใช้เปลี่ยนสีเฉพาะบางสีที่ต้องการ โดยไม่กระทบกับสีอื่นๆ ในภาพ สามารถเลือกโทนสีความสด และความสว่างของสีได้
22)Equalize : ใช้แก้ไขภาพที่ไม่คมชัด เนื่องจากมีเม็ดสีอื่นเข้ามาปน โดยการเพิ่ม Contrast ให้ภาพคมชัดขึ้น
5.การใช้งานเลเยอร์ (Layer)
เลเยอร์เปรียบเสมือนแผ่นพลาสติกใสที่ประกอบด้วยข้อความหรือรูปภาพ เมื่อนำมาวางเรียงซ้อนกัน
จนกลายเป็นชิ้นเดียวกัน ภาพในเลเยอร์บนจะบังเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง การใช้เลเยอร์จะช่วยให้สามารถแก้ไขภาพแต่ละส่วนได้ง่ายและเป็นอิสระขึ้น โดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถสลับลำดับการซ่อน/แสดงเลเยอร์แต่ละชั้นได้ โดยเลือก Window > Layers
5.1เลเยอร์ Background : ไฟล์รูปภาพที่เปิดขึ้นมาใช้งานเป็นครั้งแรกจะอยู่ในเลเยอร์ชื่อ Background เสมอ ซึ่งจะถูกล็อคไว้ สามารถปรับให้โปร่งใส ย้ายตำแหน่ง ใช้เอฟเฟกต์ เลเยอร์สไตล์ หรือเลเยอร์มาสก์ได้
หากต้องการนำภาพในเลเยอร์ Background มาปรับแต่งหรือตัดต่อภาพ จะต้องแปลงเลเยอร์ Background
ให้เป็นเลเยอร์ธรรมดาก่อน โดยคลิกขวาบนเลเยอร์ Background > เลือก Layer From Background
5.2การเปลี่ยนลำดับเลเยอร์ : ภาพของเลเยอร์ที่อยู่ชั้นบนสุดจะแสดงอยู่บนสุด โดยจะบังภาพของเลเยอร์ล่างตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนลำดับของเลเยอร์ เพื่อให้แสดงภาพตามต้องการ สามารถทำได้
โดยคลิกเมาส์ลากเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยนลำดับไปยังลำดับที่ต้องการ
5.3การคัดลอกเลเยอร์ : กด Ctrl+J
5.4การรวมเลเยอร์ (Merge) : เป็นการรวมภาพในแต่ละเลเยอร์ให้เป็นเลเยอร์เดียว ซึ่งเมื่อรวมเลเยอร์แล้ว
จะไม่สามารถแก้ไขภาพในแต่ละเลเยอร์ได้อีก ทำได้โดย
1)Marge Layers : รวมเฉพาะเลเยอร์ที่เลือก ให้คลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Marge Layers
2)Merge Visible : รวมเฉพาะเลเยอร์ที่เลือกแสดง ไม่รวมเลเยอร์ที่ถูกซ่อน ให้คลิกเลือกเลเยอร์ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Merge Visible
3)Flatten Image : รวมทุกเลเยอร์เป็นเลเยอร์เดียว รวมถึงเลเยอร์ที่ถูกซ่อนไว้ด้วย ให้คลิกเลือกเลเยอร์
ที่ต้องการรวม > คลิกขวาเลือก Flatten Image
5.5การปรับความโปร่งใสของเลเยอร์ (Opacity) : หากค่าความโปร่งใสของเลเยอร์บนมีค่ามาก (100%) จะบังเลเยอร์ล่างจนมองไม่เห็น แต่หากปรับความโปร่งใสของเลเยอร์บนลง จะทำให้มองเห็นภาพในเลเยอร์ล่างได้บางส่วน โดยคลิก Opacity แล้วปรับระดับความโปร่งใสตามต้องการ
5.6การผสมสีด้วย Blend Mode จะเป็นวิธีการผสมสีระหว่างเลเยอร์ โดยจะผสมสีระหว่างเลเยอร์ที่เลือกและเลเยอร์ล่างด้วยรูปแบบการผสมสีที่มีให้เลือก 6 กลุ่ม ดังนี้
1)การผสมสีเลเยอร์ในโหมดปกติ มี 2 แบบ ได้แก่
-Normal เป็นการผสมสีเลเยอร์ในโหมดปกติ โดยไม่มีการผสมสีและเป็นค่าเริ่มต้นของเลเยอร์
-Dissolve ใช้กับภาพที่มีขอบภาพแบบฟุ้งกระจาย โดยขอบภาพจะเปลี่ยนเป็นจุดโดยผสมกับสีของเลเยอร์ล่าง
2)การผสมสีเลเยอร์ให้มืดลง โดยใช้วิธีเปรียบเทียบความสว่างของพื้นสีทั้ง 2 เลเยอร์ แล้วตัดส่วนที่สว่างที่สุดของเลเยอร์บนทิ้งไป มี 5 แบบ ได้แก่ Darken, Multiply, Color Burn, Linear Burn
3)การผสมสีเลเยอร์ให้สว่างขึ้น ใช้วิธีการนำสีของทั้ง 2 เลเยอร์ที่ซ้อนกันมาเทียบแล้วตัดส่วนที่มืดที่สุดออกไป และแสดงส่วนที่สว่าง มี 5 รูปแบบ ได้แก่ Lighten, Screen, Color Dodge, Linear Dodge(Add), Lighter Color
4)การผสมสีเลเยอร์ให้สีสดขึ้น โดยเน้นส่วนมืดและส่วนสว่างให้เข้มยิ่งขึ้นด้วย โดยใช้วิธีเทียบสีและเร่งสีของภาพให้เข้มขึ้น มี 7 แบบ ได้แก่ Overlay, Hard Light, Soft Light, Vivid Light, Linear Light, Pin Light, Hard Mix
5)การผสมสีในกลุ่มสีตรงข้าม ใช้วิธีการเทียบสีของเลเยอร์ทั้ง 2 ที่ซ้อนกันแล้วแสดงเป็นสีตรงข้าม
ทำให้ได้ภาพที่ดูเหนือธรรมชาติ มี 4 แบบ ได้แก่ Difference, Exclusion, Subtract, Divide
6)การผสมสีในกลุ่มของสี ความสดและความสว่าง ใช้วิธีการเลือกผสม มี 4 แบบ ได้แก่ Hue, Saturation, Color, Luminosity
6.หน้ากากมาสก์บังภาพ (Mask)
มาสก์เป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นมาเพื่อปิดบังพื้นที่บางส่วนที่เราไม่ได้เลือกหรือไม่ต้องการให้แสดงออกมา ซึ่งจะทำให้ส่วนที่ถูกบังไม่ได้รับผลจากการใช้คำสั่งปรับแต่ง ตัดต่อ ระบายภาพต่างๆ
6.1การสร้าง Layer Mask มีลักษณะเหมือนกับการเจาะภาพบริเวณที่ต้องการแสดงด้วยการระบายสีขาวลงไปในเลเยอร์มาสก์ หรือระบายสีดำเพื่อบังพื้นที่บริเวณนั้น การสร้างเลเยอร์มาสก์ทำให้สามารถนำบางส่วนของภาพ
ไปปรับแต่งหรือตัดต่อภาพกับภาพอื่นๆ ได้โดยไม่ทำให้ภาพต้นฉบับเสียหาย โดยคลิกปุ่มเลเยอร์มาสก์บนพาเนล และใช้เครื่องมือ Blush Tool ระบายลงบนช่องของเลเยอร์มาสก์ เพื่อแสดงให้เห็นภาพเลเยอร์ชั้นล่าง หรืออาจทำ Selection ส่วนที่ต้องการตัดออกจากพื้นหลังเดิม และคลิกปุ่มเลเยอร์มาสก์
6.2การซ่อน/แสดงเลเยอร์มาสก์ การซ่อนเลเยอร์มาสก์จะทำให้ภาพที่ถูกบังแสดงออกมาทั้งหมดตามปกติ
เมื่อซ่อนเลเยอร์มาสก์จะเห็นเครื่องหมายกากบาทสีแดงในช่องเลเยอร์มาสก์นั้น โดยกด Shift
แล้วคลิกช่องมาสก์ (หากต้องการแสดงเหมือนเดิมให้ทำซ้ำ)
7.ข้อความและตัวอักษร
7.1การสร้างข้อความ : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool โดยสามารถเลือกลักษณะตัวอักษร
ความคมชัด ขนาด ตำแหน่งข้อความ สีตัวอักษรได้
7.2การแก้ไขข้อความ : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool ลากเมาส์คลุมตัวอักษรที่ต้องการแก้ไข
และปรับแต่งตัวอักษรตามต้องการ
7.3การปรับระยะห่างระหว่างบรรทัด : เลือกเครื่องมือ Horizontal Type Tool ลากเมาส์คลุมตัวอักษรที่มีระยะห่างระหว่างบรรทัดมากเกินไป จากนั้น ให้กำหนดค่าที่ Set the leading ที่ช่อง Character
บนพาเนล เพื่อปรับระยะห่างระหว่างบรรทัด
7.4การหมุนและปรับขนาดข้อความ : สามารถทำได้ 2 วิธี
1)กดปุ่ม Ctrl+T แล้วลากเมาส์ปรับขนาดตามที่ต้องการ หากต้องการปรับให้ได้สัดส่วนสมมาตรเท่ากัน
ให้กด Shift ขณะลากเมาส์ด้วย
2.เลือก Edit > Free Transform หรือคลิกขวาบนข้อความแล้วเลือกคำสั่งในการปรับขนาดและหมุน
7.5การแก้สระลอยในภาษาไทย : คลิกวางเคอร์เซอร์หลังสระลอยตัวที่จะแก้ไข แล้วกด Shift+ เพื่อเลื่อนสระลอยที่อยู่ข้างหน้าเคอร์เซอร์ หรือ กด Shift+ เพื่อเลื่อนสระลงมาให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
เมื่อแก้สระลอยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กด Ctrl+Enter เพื่อออกจากกรอบข้อความ
8.เส้นและวาดรูปทรวงแบบเวคเตอร์
8.1การวาดรูปทรงด้วย Selection โดยเลือก Marquee Tool ลากเมาส์สร้างรูปทรง และเทสีด้วยเครื่องมือ Paint Bucket Tool
8.2การวาดรูปทรงแบบมีเส้นขอบ (Shape) โดยวาดรูปทรงที่ต้องการ จากนั้นเลือกสีเส้นขอบที่ช่อง Stroke โดยสามารถเลือกความหนาและรูปแบบเส้นขอบ และลากเมาส์วาดรูปทรง
8.3การวาดรูปทรงสำเร็จรูป โดยใช้เครื่องมือ Custom Shape แล้วเลือกช่อง Shape ทั้งนี้ สามารถเลือกรูปทรงอื่นเพิ่มเติมที่โปรแกรมมีให้ได้ โดยคลิกที่รูปเฟืองมุมขวาบน และเลือกรูปแบบที่ต้องการ จากนั้น
คลิก Ok หรือ Append
9.การระบายสีภาพ
9.1ระบายสีภาพด้วย Gradient Tool : Gradient Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเติมสีแบบไล่ระดับสี
สามารถกำหนดโทนสีและทิศทางการไล่โทนสีได้ตามต้องการ
9.2ระบายสีภาพด้วย Pattern : โดยใช้เครื่องมือ Paint Bucket Tool เติมลวดลายลงไปบนภาพหรือ Selection ที่สร้างขึ้น
9.3ระบายสีภาพด้วย Brush Tool : Brush Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบายสีหรือวาดภาพได้เหมือนพู่กัน
โดยสามารถเลือกหัวแปรงได้หลากหลายรูปแบบ
10.การรีทัชภาพ (Retouching)
10.1Content-Aware Move Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแต่งเกลี่ยภาพพื้นหลังให้กลมกลืน
โดยอัตโนมัติ ใช้ในการย้ายตำแหน่งภาพหรือคัดลอกภาพ โดยโปรแกรมจะเกลี่ยสีขอบภาพให้ดูกลมกลืน
10.2Healing Brush เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับลบสิ่งที่ไม่ต้องการออก โดยคัดลอกพื้นที่ที่เลือกมาแปะทับแล้ว
ปรับเกลี่ยสีภาพ ซึ่งวิธีนี้จะคงแสงเงาและสภาพพื้นผิวของส่วนที่ถูกระบายไว้ด้วย ทำให้ได้ภาพที่มีความกลมกลืน
10.3Blur Tool ใช้ระบายส่วนที่ต้องการให้เนียนหรือเบลอ เพื่อลดความคมชัดให้ภาพบริเวณนั้นให้ดูกลมกลืนหรือเนียนขึ้น โดยเลือกปรับขนาดหัวแปรงได้
10.4Dodge Tool เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขความสว่างของภาพในจุดที่ต้องการ เช่นการปรับสีผิวให้ขาวใส โดยระบายบนภาพส่วนที่ต้องการปรับ
10.5Burn Tool เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความสว่างของภาพให้มืดลง โดยสามารถเลือกปรับแต่ง
ในบริเวณที่ต้องการได้
10.6Red Eye Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้แก้ภาพถ่ายบุคคลที่อาจเกิดภาพตาแดง เนื่องจากแสงแฟลชที่สะท้อนไปที่ม่านตา
10.7Clone Stamp Tool ใช้ปรับแต่งพื้นผิวส่วนที่ไม่ต้องการด้วยการคัดลอกพื้นที่ต้นแบบไปแปะทับหรือคัดลอกวัตถุไปวางเพิ่มอีกจุดหนึ่ง ซึ่งการใช้งานเครื่องมือนี้ จะต้องกด Alt ค้างไว้แล้วคลิกเลือกพื้นที่ต้นแบบ
10.8Content-Aware Fill ใช้ลบภาพที่ไม่ต้องการออกจากภาพอย่างรวดเร็ว โดยการนำพื้นผิวรอบนอก Selection มาแปะทับอย่างกลมกลืนโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพดูสมจริงขึ้น โดยสร้าง Selection > Edit > Fill >เลือก Content-Aware ตรงช่อง Use > OK
11.ตัวอย่างผลงาน Photoshop
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ผู้เล่าเรื่อง : นางสาววาสนา เกษณา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชานาญการพิเศษ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังเขต 5
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 062-9298944.
ช่องทางร่วมปันความรู้อื่นๆ (ถ้ามี) : vasana_k@cgd.go.th
หลักสูตรฝึกอบรม : หลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่7
หน่วยงานผู้จัด : มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ผู้จัดโครงการ ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงาน ณ จังหวัด
สุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ที่จังหวัดสุโขทัย ศึกษาดูงานด้านวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ และที่จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาดูงานเรื่อง การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง ด้านการคลังการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงกำหนดกลยุทธ์ การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยการใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม คณะและทีมงานได้ไปศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการ
จัดการขยะรีไซเคิล ตามคำขวัญ “ขยะคือทองคำ” ของโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ เจ้าของและผู้บริหาร คือ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ เจ้าของสโลแกนดังกล่าว เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเก็บขยะเพื่อคัดแยกจนประสบความสาเร็จสูงสุด ขยายสาขาโรงงานไปต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
การดำเนินการของโรงงานคัดแยก จะรับซื้อขยะจากชาวบ้านที่มีอาชีพรับเก็บขยะขาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือและส่งเสริมการมีอาชีพของชาวบ้าน ขยะทุกชิ้น จะนำมาคัดแยกตามประเภทของขยะ ส่งเข้าเครื่องเพื่อจัดการ มีคนงานจำนวนมากทำงานในโรงงานฯ โดยส่วนหนึ่งมาจากสถานสงเคราะห์หรือ
สถานพักฟื้น นำมาสอน ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ เป็นการทำให้ขยะช่วยเหลือคนในสังคมได้ ซึ่ง ดร.สมไทย ฯ กล่าวว่า “จริงๆแล้วในโลกใบนี ไม่มีขยะ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่ไว้ผิดที่เท่านั้นเอง”
การดำเนินการจัดการขยะ บนแนวคิดหรือยุทธศาสตร์ 3 ขั้น ได้แก่ การแยกขยะให้มากที่สุดในต้นทาง การแยกขยะเปียกและขยะมีพิษ และ การนำขยะที่เหลือไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน ของวงษ์พาณิชย์กรุ๊ป
ประสบความสำเร็จมาก
จากความรู้ที่ได้รับมา ได้เห็นวิธีการจัดการขยะ จึงเกิดแนวคิดส่งต่อเรื่องการจัดการขยะเพื่อ
ชุมชน เริ่มที่บ้านของตัวเอง ที่ทำงาน ในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว มีความสะอาดไม่เกิดมลพิษ สิ่งแรกคือการทาความเข้าใจกับทุกคนเพื่อให้มีการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นจิ๊กซอร์ตัวเล็กๆหลายๆตัวรวมเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว และการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพสร้างรายได้อย่างมหาศาล และรางวัลแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมายอย่าง “วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป”
ตัวอย่างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขยะในบ้าน
1. ขยะในห้องรับแขก ได้แก่ หนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสาร ปฏิทิน อัลบั้มรูป โคมไฟ เศษผ้าขี้ริ้ว
หลอดไฟฟ้า ซึ่งหากแตกกระจาย จะมีสารปรอทเป็นอันตราย ฯลฯ
2. ขยะในครัว ได้แก่ ถุงหูหิ้วต่างๆ ถุงใส่อาหาร ยางวง พลาสติกห่ออาหาร ขวดน้ำ จาน ตะกร้า
ขวดซีอิ้ว หรือขวดซอสต่างๆ หม้อหุงข้าว กระป๋องกาแฟ น้ำมันพืช ที่ใช้หลายครั้ง เป็นขยะอันตราย มีสารก่อมะเร็งฯลฯ
3. ขยะในห้องนอน ที่นอนเก่า หมอนนุ่นเก่า ที่นอนใยสังเคราะห์ ผ้าเช็ดตัว ผ้าม่าน หนังสือ ทีวี
เครื่องเล่นซีดี กระป๋องแป้ง ไฟฉาย สเปรย์ ดีดีที ซึ่งเป็นขยะอันตราย ใกล้ความร้อนอาจจะระเบิดได้ ฯลฯ
4. ขยะในห้องทำงาน เครื่องใช้สำนักงาน จอคอมพิวเตอร์ ซีพียู ยูพีเอส เครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องแฟกซ์
กระดาษ หนังสือ ตลับหมึกเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นขยะอันตราย ผงหมึกเป็นโลหะหนัก ส่งผล
กระทบกับทางเดินหายใจ และขยะปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีแผงวงจรที่มีสาร
ตะกั่ว เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
5. ขยะในห้องน้ำ ขวดแชมพูพลาสติก ขวดสบู่เหลว ขวดโลชั่นพลาสติก หลอดยาสีฟัน หวีพลาสติก
ก๊อกน้ำทองเหลือง ฝักบัวทองเหลือง ท่อน้ำพลาสติก กาละมังซักผ้า ฯลฯ
6. ขยะในห้องพระ เศษเทียนไข น้ำตาเทียน ก้านธูป ดอกไม้แห้ง ดอกไม้พลาสติก แจกัน ไฟแช็ก
หลอดไฟ กองธูป ถุงพลาสติก ฯลฯ
7. ขยะในห้องเก็บของ โต๊ะเก้าอี พลาสติก กล่องเครื่องมือ หลอดไฟเสีย เศษไม้ มอเตอร์เก่า พัดลม
ทีวีเก่า ไม้กวาด ไม้ถูพื น ผ้าขี้ริ้ว ตู้เย็นเก่า ซึ่งในตู้เย็นจะมีสารอันตราย สร้างภาวะเรือนกระจกใน
ชั้นบรรยากาศ ฯลฯ
8. ขยะในโรงรถ ซากรถยนต์ ซากมอเตอร์ไซค์ ยางรถยนต์ กระป๋องน้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่เก่า เป็น
ขยะอันตราย มีโลหะหนักประเภทตะกั่ว ฯลฯ
9. ขยะบริเวณสนามหญ้า ประตูเหล็ก ประตูอัลลอยด์ รั้วเหล็ก เศษใบไม้ ของเด็กเล่น กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องกาแฟ สายยางพีวีซี ขวดยาฆ่าแมลง เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของขยะภายในบ้านเท่านั้น ยังมีขยะอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และหลายบ้าน
ทิ้งขยะทั้งหลายไป แล้วส่งปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนโดยส่วนรวม อย่างที่เห็นในข่าวว่ามีการทิ้งที่นอนเก่าๆลงในคลองน้ำทำให้อุดตัน ส่งผลให้น้ำท่วมขังเดือดร้อนกันในวงกว้าง ขยะภายในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี
1. ขยะขายได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
2. ขยะแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
3. ขยะเปียก สำหรับเป็นปุ๋ยและทำอาหารสัตว์
4. ขยะอันตราย สาหรับรีไซเคิล ขายได้ และที่ส่งกำจัดหรือขายไม่ได้
(ขอบคุณข้อมูลจาก : คู่มือคัดแยกขยะประจำบ้าน ของ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ)
ผู้สนใจหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และช่วยกันรณรงค์คัดแยกขยะ เพื่อลดปัญหา
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ภาครัฐก็จะนำเงินงบประมาณไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ลดการสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดขยะและด้านอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งในการดำเนินการจัดการกับขยะไม่ว่าจะเป็นของส่วนราชการ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่งเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหลายที่ได้รับการต่อต้านจากชุมชน รวมถึงการกำจัดที่ไม่ถูกวิธีก่อผลร้ายแก่ชีวิตของชุมชนได้อีก ฉะนั้นช่วยกันคัดแยกขยะทุกบ้าน ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียวอย่างถาวร และทำให้ “ขยะเป็นทองคา” ของแต่ละบ้าน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชานาญการพิเศษ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังเขต 5
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้ : 062-9298944.
ช่องทางร่วมปันความรู้อื่นๆ (ถ้ามี) : vasana_k@cgd.go.th
หลักสูตรฝึกอบรม : หลักสูตรนักการคลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่7
หน่วยงานผู้จัด : มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ผู้จัดโครงการ ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงาน ณ จังหวัด
สุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ที่จังหวัดสุโขทัย ศึกษาดูงานด้านวิถีชีวิตการทำเกษตรกรรมแบบอินทรีย์ และที่จังหวัดพิษณุโลก ศึกษาดูงานเรื่อง การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง ด้านการคลังการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงกำหนดกลยุทธ์ การส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยการใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม คณะและทีมงานได้ไปศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับการ
จัดการขยะรีไซเคิล ตามคำขวัญ “ขยะคือทองคำ” ของโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ เจ้าของและผู้บริหาร คือ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ เจ้าของสโลแกนดังกล่าว เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเก็บขยะเพื่อคัดแยกจนประสบความสาเร็จสูงสุด ขยายสาขาโรงงานไปต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
การดำเนินการของโรงงานคัดแยก จะรับซื้อขยะจากชาวบ้านที่มีอาชีพรับเก็บขยะขาย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือและส่งเสริมการมีอาชีพของชาวบ้าน ขยะทุกชิ้น จะนำมาคัดแยกตามประเภทของขยะ ส่งเข้าเครื่องเพื่อจัดการ มีคนงานจำนวนมากทำงานในโรงงานฯ โดยส่วนหนึ่งมาจากสถานสงเคราะห์หรือ
สถานพักฟื้น นำมาสอน ฝึกปฏิบัติจนชำนาญ เป็นการทำให้ขยะช่วยเหลือคนในสังคมได้ ซึ่ง ดร.สมไทย ฯ กล่าวว่า “จริงๆแล้วในโลกใบนี ไม่มีขยะ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่ไว้ผิดที่เท่านั้นเอง”
การดำเนินการจัดการขยะ บนแนวคิดหรือยุทธศาสตร์ 3 ขั้น ได้แก่ การแยกขยะให้มากที่สุดในต้นทาง การแยกขยะเปียกและขยะมีพิษ และ การนำขยะที่เหลือไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน ของวงษ์พาณิชย์กรุ๊ป
ประสบความสำเร็จมาก
จากความรู้ที่ได้รับมา ได้เห็นวิธีการจัดการขยะ จึงเกิดแนวคิดส่งต่อเรื่องการจัดการขยะเพื่อ
ชุมชน เริ่มที่บ้านของตัวเอง ที่ทำงาน ในหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว มีความสะอาดไม่เกิดมลพิษ สิ่งแรกคือการทาความเข้าใจกับทุกคนเพื่อให้มีการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นจิ๊กซอร์ตัวเล็กๆหลายๆตัวรวมเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียว และการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพสร้างรายได้อย่างมหาศาล และรางวัลแห่งการสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมายอย่าง “วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป”
ตัวอย่างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขยะในบ้าน
1. ขยะในห้องรับแขก ได้แก่ หนังสือพิมพ์ กระดาษเอกสาร ปฏิทิน อัลบั้มรูป โคมไฟ เศษผ้าขี้ริ้ว
หลอดไฟฟ้า ซึ่งหากแตกกระจาย จะมีสารปรอทเป็นอันตราย ฯลฯ
2. ขยะในครัว ได้แก่ ถุงหูหิ้วต่างๆ ถุงใส่อาหาร ยางวง พลาสติกห่ออาหาร ขวดน้ำ จาน ตะกร้า
ขวดซีอิ้ว หรือขวดซอสต่างๆ หม้อหุงข้าว กระป๋องกาแฟ น้ำมันพืช ที่ใช้หลายครั้ง เป็นขยะอันตราย มีสารก่อมะเร็งฯลฯ
3. ขยะในห้องนอน ที่นอนเก่า หมอนนุ่นเก่า ที่นอนใยสังเคราะห์ ผ้าเช็ดตัว ผ้าม่าน หนังสือ ทีวี
เครื่องเล่นซีดี กระป๋องแป้ง ไฟฉาย สเปรย์ ดีดีที ซึ่งเป็นขยะอันตราย ใกล้ความร้อนอาจจะระเบิดได้ ฯลฯ
4. ขยะในห้องทำงาน เครื่องใช้สำนักงาน จอคอมพิวเตอร์ ซีพียู ยูพีเอส เครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องแฟกซ์
กระดาษ หนังสือ ตลับหมึกเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นขยะอันตราย ผงหมึกเป็นโลหะหนัก ส่งผล
กระทบกับทางเดินหายใจ และขยะปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีแผงวงจรที่มีสาร
ตะกั่ว เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
5. ขยะในห้องน้ำ ขวดแชมพูพลาสติก ขวดสบู่เหลว ขวดโลชั่นพลาสติก หลอดยาสีฟัน หวีพลาสติก
ก๊อกน้ำทองเหลือง ฝักบัวทองเหลือง ท่อน้ำพลาสติก กาละมังซักผ้า ฯลฯ
6. ขยะในห้องพระ เศษเทียนไข น้ำตาเทียน ก้านธูป ดอกไม้แห้ง ดอกไม้พลาสติก แจกัน ไฟแช็ก
หลอดไฟ กองธูป ถุงพลาสติก ฯลฯ
7. ขยะในห้องเก็บของ โต๊ะเก้าอี พลาสติก กล่องเครื่องมือ หลอดไฟเสีย เศษไม้ มอเตอร์เก่า พัดลม
ทีวีเก่า ไม้กวาด ไม้ถูพื น ผ้าขี้ริ้ว ตู้เย็นเก่า ซึ่งในตู้เย็นจะมีสารอันตราย สร้างภาวะเรือนกระจกใน
ชั้นบรรยากาศ ฯลฯ
8. ขยะในโรงรถ ซากรถยนต์ ซากมอเตอร์ไซค์ ยางรถยนต์ กระป๋องน้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่เก่า เป็น
ขยะอันตราย มีโลหะหนักประเภทตะกั่ว ฯลฯ
9. ขยะบริเวณสนามหญ้า ประตูเหล็ก ประตูอัลลอยด์ รั้วเหล็ก เศษใบไม้ ของเด็กเล่น กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องกาแฟ สายยางพีวีซี ขวดยาฆ่าแมลง เป็นขยะอันตราย ฯลฯ
ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนของขยะภายในบ้านเท่านั้น ยังมีขยะอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และหลายบ้าน
ทิ้งขยะทั้งหลายไป แล้วส่งปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนโดยส่วนรวม อย่างที่เห็นในข่าวว่ามีการทิ้งที่นอนเก่าๆลงในคลองน้ำทำให้อุดตัน ส่งผลให้น้ำท่วมขังเดือดร้อนกันในวงกว้าง ขยะภายในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี
1. ขยะขายได้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle)
2. ขยะแห้งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
3. ขยะเปียก สำหรับเป็นปุ๋ยและทำอาหารสัตว์
4. ขยะอันตราย สาหรับรีไซเคิล ขายได้ และที่ส่งกำจัดหรือขายไม่ได้
(ขอบคุณข้อมูลจาก : คู่มือคัดแยกขยะประจำบ้าน ของ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ)
ผู้สนใจหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และช่วยกันรณรงค์คัดแยกขยะ เพื่อลดปัญหา
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ภาครัฐก็จะนำเงินงบประมาณไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ลดการสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดขยะและด้านอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งในการดำเนินการจัดการกับขยะไม่ว่าจะเป็นของส่วนราชการ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายแห่งเกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหลายที่ได้รับการต่อต้านจากชุมชน รวมถึงการกำจัดที่ไม่ถูกวิธีก่อผลร้ายแก่ชีวิตของชุมชนได้อีก ฉะนั้นช่วยกันคัดแยกขยะทุกบ้าน ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมสีเขียวอย่างถาวร และทำให้ “ขยะเป็นทองคา” ของแต่ละบ้าน
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market)
ผู้เล่าเรื่อง : นางสุนทรีย์ คล้อยใหญ่
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน : กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ
หลักสูตรฝึกอบรม : โครงการอบรมโครงการฝึกอบรม/สัมมนา เรื่องความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุภาครัฐและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market)
- ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) ได้แก่ การจัดหาพัสดุสำหรับ สินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ ที่มีมาตรฐาน มีข้อกำหนดคุณสมบัติไม่ซับซ้อน เช่น กระดาษ สินค้าประเภทอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค (prequalification)
ซึ่งกรมบัญชีกลางจะเพิ่มความโปร่งใสโดยการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยกรมบัญชีกลางจะรวบรวมผู้ค้าสินค้าในแต่ละชนิดผ่านการบังคับให้ผู้ค้าจำเป็นต้องลงทะเบียนและระบุสินค้าที่ต้องการขาย เมื่อส่วนราชการมีความต้องการซื้อ ระบบก็จะส่งประกาศไปให้กับผู้ค้าที่ขายสินค้าที่ส่วนราชการต้องการ รวมทั้งผู้ค้าสามารถเสนอราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เพื่อให้ส่วนราชการนำไปพิจารณาเลือกผู้ชนะได้ทันที
วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e – market)
การจัดหาพัสดุที่มีรายละเอียดคุณลักษณะที่ไม่ซับซ้อน เป็นสินค้าหรือบริการทั่วไป มีมาตรฐาน ซึ่งกำหนดให้ส่วนราชการจัดซื้อสินค้าหรืองานจ้าง ที่กำหนดไว้ในระบบ e - catalog กระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ (ว 150 ข้อ 11)
(1) การเสนอราคา โดยใบเสนอราคา (Request for Quotation : RFQ) ได้แก่ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท
(2) การเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Auction) ได้แก่ การจัดหาพัสดุ ครั้งหนึ่ง
พัสดุที่ต้องดำเนินการจัดหาด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e – market)
วัสดุสำนักงาน ได้แก่
กระดาษถ่ายเอกสารหรือพิมพ์งานทั่วไป
ผงหมึก/ตลับผงหมึก (Toner)
แฟ้มเอกสาร
เทปปิดสำหรับการเข้าเล่ม
ซองเอกสาร
ยารักษาโรค ได้แก่
Doxazosin ยารักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
Calcium carbonate ยาป้องกันและรักษาภาวะขาดแคลเซียม
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
กิจกรรมค่าย “รวมพลังหยุดยั้งคอร์รัปชั่น”
ผู้เล่าเรื่อง : นายประณต เชื้อชะเอม
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักบัญชีปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองตรวจสอบภาครัฐ
หลักสูตรฝึกอบรม : กิจกรรมค่าย “รวมพลังหยุดยั้งคอร์รัปชั่น”
โดยที่ปัจจุบันนี้ มีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจำนวนมาก อีกทั้งในการอนุญาตบางเรื่องจะมีกฎหมายหลายฉบับ ที่มีความเชื่อมโยงผูกพันกัน การประกอบกิจการของประชาชนภาคเอกชนหรือประชาชนต่างๆ ก็จะต้องขออนุญาตในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวจากส่วนราชการหลายแห่ง นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา กำหนดรายละเอียดของเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นที่จะต้องใช้ยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงไม่ได้มีการกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จนทำให้เป็นการสร้างภาระและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคำขออนุญาตเพื่อดำเนินการต่างๆ เกินสมควร อาทิเช่น การขออนุญาตประกอบกิจการด้านการค้า ด้านการอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการประกอบธุรกิจ และทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสทางการค้าและการแข่งขันกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในปี ๒๕๕๘ นี้ จะมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต ให้มีความชัดเจน รวมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำร้องและศูนย์รับคำขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้การบริการและข้อมูล ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามหลักของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. ๒๕๔๖ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. .... ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายได้บัดนี้ พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ก ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
๑. ระยะเวลาและขอบเขตการใช้บังคับของพระราชบัญญัติ
๑.๑ ระยะเวลาการใช้บังคับของพระราชบัญญัติ (มาตรา ๒ และมาตรา ๑๗)
โดยที่พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กล่าวคือ จะมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ยกเว้นแต่ในเรื่องการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนของการอนุญาตในแต่ละเรื่อง ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องของการอนุญาตทุกประเภท เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบและเข้าใจถึงรายละเอียดของเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ยื่น รวมทั้งกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน และประชาชนก็จะต้องยื่นคำขออนุญาตตามคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น ในระยะเริ่มแรกจึงต้องให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายเตรียมความพร้อมโดยการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในเรื่องของการขออนุญาต ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป และจะต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในทุกเรื่องของการอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ด้วย
๑.๒ ขอบเขตการใช้บังคับของพระราชบัญญัติ (มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๕) พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับกับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐกับประชาชนแต่ไม่ใช้กับการประสานงานบริการระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐได้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการอื่นใดของรัฐ ที่มีภารกิจเกี่ยวกับการพิจารณาการออกใบอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทานบัตรและการให้อาชญาบัตร ตามกฎหมายหรือกฎ หน่วยงานของรัฐนั้นโดยผู้อนุญาตตามกฎหมายจะต้องดำเนินการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนทุกงานบริการ ยกเว้นแต่เรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดีและการวางทรัพย์
(๓) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๔) การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๕) การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน
(๖) การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดที่ได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๒. คู่มือสำหรับประชาชน (มาตรา ๗ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๗)
คู่มือสำหรับประชาชนเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขออนุญาตและเป็นรายละเอียดที่ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอน รวมถึงระยะเวลาในการอนุญาตที่ปรากฏอยู่ในคู่มือสำหรับประชาชน โดยผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ได้แก่ ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจ ในการอนุญาตหรือที่เรียกว่า “ผู้อนุญาต” โดยผู้อนุญาตจะต้องดำเนินการจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในทุกประเภท ของการอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ภายในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘) โดยคู่มือสำหรับประชาชนดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
๒.๑ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ
๒.๒ ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต
๒.๓ รายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐอาจจะกำหนดให้ประชาชนสามารถยื่นคำขออนุญาตผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการมายื่นคำขอด้วยตนเองก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อส่วนราชการได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนเรียบร้อยแล้ว หากมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่มีผลทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดอื่นใดที่ปรากฏในคู่มือสำหรับประชาชน การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่กระทบถึงการยื่นคำขอที่ได้ยื่นไว้โดยชอบก่อนวันที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่มีผลใช้บังคับ แต่หากกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอ ก็ให้นำการเปลี่ยนแปลงนั้นมาใช้บังคับกับการยื่นคำขอที่ได้ยื่นไว้โดยชอบก่อนวันที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับมีผลใช้บังคับได้สำหรับการเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนให้ผู้ที่จะมายื่นคำขออนุญาตทราบนั้น เมื่อหน่วยงานของรัฐใดได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน่วยงานของรัฐนั้นจะต้องปิดประกาศคู่มือสำหรับประชาชนไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ยื่นคำขออนุญาตในเรื่องนั้นๆ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการที่จะได้สำเนาคู่มือดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้โดยอาจจะคิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้
เมื่อส่วนราชการได้จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในแต่ละกระบวนการให้อนุญาตแล้วคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตในคู่มือสำหรับประชาชนว่ามีระยะเวลาที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ ซึ่งหากเห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดนั้นมีความล่าช้าเกินสมควร ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาสั่งการให้ผู้อนุญาตดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็วด้วย
๓. การรับคำขอและการพิจารณาคำขอ (มาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐)
๓.๑ หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขอเมื่อประชาชนผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขออนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวดำเนินการตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นพร้อมคำขออนุญาต โดยแบ่งการพิจารณาเป็น
(๑) กรณีคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบในทันที เพื่อให้ดำเนินการดังนี้
- กรณีที่ผู้ยื่นคำขอสามารถแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ ในขณะนั้น ก็ให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการในทันที
- กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ในขณะนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม และกำหนดระยะเวลาที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมไว้พร้อมทั้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามในบันทึกนั้น โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมอบสำเนาบันทึกดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอ เพื่อผู้ยื่นคำขอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
(๒) กรณีคำขอถูกต้องและแนบเอกสารหรือหลักฐานครบถ้วนตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน หรือผู้ยื่นคำขอได้มีการแก้ไขตามข้อ (๑) เรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้อนุญาตดำเนินการตามคำขอให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนและระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นมิได้ หรือจะปฏิเสธการพิจารณาคำขอโดยเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของคำขอหรือความไม่ครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานไม่ได้
(๓) กรณีผู้ยื่นคำขอไม่ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอหรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งตาม (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการคืนคำขอ พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุ แห่งการคืนคำขอให้ผู้ขออนุญาตทราบ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การแจ้งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ แต่ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องยื่นคำขอใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำขอนั้นใหม่ภายในระยะเวลาดังกล่าว
๓.๒ การกำกับและการรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑) การกำกับการดำเนินการของผู้อนุญาตที่ให้เป็นไปตามคู่มือสำหรับประชาชน เมื่อประชาชนผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขอที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับคำขอแล้ว ผู้อนุญาตจะต้องดำเนินการพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คู่มือสำหรับประชาชนกำหนดไว้ และแจ้งให้ ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน ๗ วันนับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ แต่หากผู้อนุญาตดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนแล้ว ผู้อนุญาตจะต้องดำเนินการแจ้งให้ผู้ยื่นขออนุญาตทราบ เป็นหนังสือถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุก ๗ วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมทั้งให้ส่งสำเนาการแจ้งดังกล่าว ให้ ก.พ.ร. ทราบทุกครั้ง ทั้งนี้ หาก ก.พ.ร. เห็นว่าความล่าช้านั้นเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของผู้อนุญาตให้ ก.พ.ร. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีโดยมีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้นก็ได้
(๒) ความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขอเมื่อประชาชนผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขอ และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบคำขอว่าเป็นคำขอ ที่ครบถ้วนถูกต้องตาม ๓.๑ (๒) แล้วแต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า คำขออนุญาตนั้นไม่สมบูรณ์หรือเอกสารประกอบคำขออนุญาตไม่ครบถ้วนโดยเกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่จนทำให้ผู้อนุญาตไม่อาจอนุญาตได้ ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร และมีหน้าที่ในดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
(๓) ความรับผิดของผู้อนุญาต หากผู้อนุญาตดำเนินการพิจารณาแล้วเสร็จตามคู่มือสำหรับประชาชนแล้วไม่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน ๗ วัน หรือหากผู้อนุญาตดำเนินการพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามคู่มือสำหรับประชาชนแล้วไม่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขออนุญาตทราบถึงสาเหตุแห่งความล่าช้าทุก ๗ วัน และส่งสำเนาให้ ก.พ.ร. ทราบทุกครั้งตาม (๑) ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทำการหรือละเว้นกระทำการเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นเพราะมีเหตุสุดวิสัย
๔. การชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่อใบอนุญาต (มาตรา ๑๒)
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดอายุใบอนุญาตไว้ และกิจการหรือการดำเนินการที่ได้รับใบอนุญาตนั้นมีลักษณะเป็นกิจการหรือการดำเนินการที่ต่อเนื่องกัน คณะรัฐมนตรีโดยการเสนอแนะของ ก.พ.ร. จะออก พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานซึ่งมีอำนาจออกใบอนุญาตได้รับค่าธรรมเนียมแล้ว หน่วยงานดังกล่าวต้องออกหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตโดยเร็วและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตได้รับการต่อใบอนุญาตตามกฎหมายนั้นแล้ว
๕. การกำหนดหลักเกณฑ์และตรวจสอบการดำเนินการที่ได้รับอนุญาต (มาตรา ๑๓)
๕.๑ การกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประกอบกิจการผู้อนุญาตมีหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตในเรื่องนั้นๆ กำหนด
๕.๒ การกำกับดูแลผู้ได้รับอนุญาตผู้อนุญาตและพนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบ การประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตและหลักเกณฑ์แนวทางตาม ๕.๑ กำหนด อย่างไรก็ดี ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นเองหรือมีผู้ร้องเรียนว่าได้รับความเดือดร้อนรำคาญหรือเสียหายจากการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรีบดำเนินการตรวจสอบและสั่งการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว
๖. การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมและศูนย์รับคำขออนุญาต
๖.๑ การจัดตั้งและหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม (มาตรา ๗ วรรคสี่) ให้ส่วนราชการต่างๆ จัดตั้งศูนย์บริการร่วมขึ้นภายในส่วนราชการนั้นๆ โดยทำหน้าที่ให้บริการแก่ประชาชนเกี่ยวกับงานรับคำขอ และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต ที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจากหลากหลายส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมาไว้ ณ สถานที่แห่งเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินการได้หลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียวไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถาม การขอทราบข้อมูล การขออนุญาต หรือการขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมด้วยดังกล่าวต้องเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด
๖.๒ ศูนย์รับคำขออนุญาต (มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖และมาตรา ๑๘)
(๑) การจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตคณะรัฐมนตรีอาจมีมติให้จัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตขึ้นได้เฉพาะในกรณีจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยมีฐานะเป็นส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม แต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ก็ได้ โดยอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และอาจจะให้มีสาขาของศูนย์รับคำขออนุญาตดังกล่าวประจำกระทรวงหรือประจำจังหวัดด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ศูนย์รับคำขออนุญาตหรือสาขาของศูนย์อนุญาตนั้นเป็นศูนย์กลางในการรับคำขอเฉพาะเรื่องที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดรายชื่อกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตที่จะให้อยู่ภายใต้การดำเนินการ ของศูนย์รับคำขออนุญาตเท่านั้น
(๒) การดำเนินการของศูนย์รับคำขออนุญาต
(๒.๑) เมื่อผู้ยื่นคำขออนุญาตได้ยื่นคำขออนุญาต ส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือชำระค่าธรรมเนียม ณ ศูนย์รับคำขออนุญาตแล้ว ให้ถือว่าได้มีการยื่นคำขออนุญาต ส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือชำระค่าธรรมเนียมโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้นแล้ว
(๒.๒) กรณีที่ศูนย์รับคำขออนุญาตได้รับเงินค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่เกี่ยวกับ การยื่นคำขออนุญาต ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินหรือส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งแจ้งให้หน่วยงานผู้อนุญาตทราบ
(๒.๓) กรณีที่หน่วยงานของผู้อนุญาตหักค่าใช้จ่ายจากเงินที่จะต้องนำส่งคลังให้ศูนย์รับคำขออนุญาตหักเงินดังกล่าวแทน และส่งมอบเงินที่หักไว้นั้นให้แก่หน่วยงานของผู้อนุญาต โดยให้ศูนย์รับคำขออนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายตามอัตราที่จะได้ตกลงกับหน่วยงานผู้อนุญาต
(๒.๔) ระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน ให้นับแต่วันที่ศูนย์รับคำขออนุญาตส่งเรื่องให้ผู้อนุญาต โดยศูนย์รับคำขออนุญาตจะต้องส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตไม่ช้ากว่า ๓ วันทำการ หากศูนย์รับคำขออนุญาตส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตช้ากว่า ๓ วัน หรือไม่ส่ง ให้นำเรื่องกระทำการหรือละเว้นกระทำการ เพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
(๓) การดำเนินการของผู้อนุญาตผู้อนุญาตต้องส่งคู่มือสำหรับประชาชนฉบับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้ศูนย์รับคำขออนุญาตตามจำนวนที่จำเป็น รวมทั้งต้องดำเนินการให้มีการฝึกอบรมหรือชี้แจง ให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคำขออนุญาตทราบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
(๔) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ศูนย์รับคำขออนุญาตเมื่อประชาชนผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขออนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวดำเนินการตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นพร้อมคำขออนุญาต โดยแบ่งการพิจารณาเป็น
(๔.๑) กรณีคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดเอกสารหรือหลักฐานอื่นใดตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบในทันที เพื่อให้ดำเนินการดังนี้
- กรณีที่ผู้ยื่นคำขอสามารถแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ในขณะนั้น ก็ให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการในทันที
- กรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถแก้ไขหรือยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ในขณะนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม และกำหนดระยะเวลาที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมไว้พร้อมทั้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามในบันทึกนั้น โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมอบสำเนาบันทึกดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอ เพื่อผู้ยื่นคำขอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
(๔.๒) กรณีคำขอถูกต้องและแนบเอกสารหรือหลักฐานครบถ้วนตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชน หรือผู้ยื่นคำขอได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้อนุญาตดำเนินการตามคำขอให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนและระยะเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นมิได้ หรือจะปฏิเสธการพิจารณาคำขอโดยเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของคำขอหรือความไม่ครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานไม่ได้ เว้นแต่คำขออนุญาตนั้นไม่สมบูรณ์หรือเอกสารประกอบคำขออนุญาตไม่ครบถ้วนโดยเกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่ จนทำให้ผู้อนุญาตไม่อาจอนุญาตได้ ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร และมีหน้าที่ในดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
(๕) หน้าที่ของศูนย์รับคำขออนุญาต
(๕.๑) รับคำขอและค่าธรรมเนียม รวมตลอดทั้งคำอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต
(๕.๒) ให้ข้อมูล ชี้แจง และแนะนำผู้ยื่นคำขอหรือประชาชนให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต รวมตลอดทั้งความจำเป็นในการยื่นคำขออื่นใดที่จำเป็น
(๕.๓) ส่งคำขอ หรือคำอุทธรณ์ พร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคอยติดตามเร่งรัดหน่วยงานดังกล่าวเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎหมายฉบับนี้ คู่มือสำหรับประชาชน หรือกฎหมายที่ให้สิทธิในการอุทธรณ์
(๕.๔) กรณีที่ศูนย์รับคำขอเห็นว่าหลักเกณฑ์หรือวิธีการในการยื่นคำขอมีรายละเอียดหรือกำหนดให้ต้องส่งเอกสารที่ไม่จำเป็น หรือเป็นภาระเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีสั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
(๕.๕) รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการอนุญาตและการดำเนินการของศูนย์รับคำขออนุญาตเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
(๕.๖) เสนอแนะในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน ระยะเวลาเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ รวมถึงข้อเสนอในการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการอนุญาตเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น
๗. การทบทวนกฎหมาย (มาตรา ๖)
ในทุกระยะเวลา ๕ ปี นับแต่วันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ผู้อนุญาตมีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายที่ให้อำนาจในการอนุญาตว่าสมควรจะปรับปรุงกฎหมาย ยกเลิกการอนุญาต หรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทน การอนุญาตหรือไม่ เว้นแต่มีความจำเป็นผู้อนุญาตจะดำเนินการดังกล่าวในกำหนดระยะเวลาที่เร็วกว่านั้นก็ได้ ทั้งนี้ ให้ผู้อนุญาตเสนอผลการพิจารณาดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายด้วย
ภาพรวมพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
1. สร้างความโปร่งใส ชัดเจน ในขั้นตอนและกระบวนการ รวมทั้งความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (Transparency)
1.1 หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำคู่มือการขออนุญาตสำหรับประชาชน (มาตรา 7)
1.2 หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด และพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จตามเวลาที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชนและแจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ยื่น
1.3 กำหนดผลในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอดำเนินการ/ไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 8 และมาตรา 9)
2. สร้างความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ (Accountability)
2.1 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบในผลของการปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 8 วรรคสาม และมาตรา 10 วรรคสี่)
2.2 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินกิจการที่ได้รับอนุญาต และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เมื่อมีการร้องเรียน หรือพบว่ามีการฝ่าฝืน (มาตรา 13)
3. สร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าเงิน และการตอบสนอง (Efficiency, Effectiveness, Value-for-money, Responsiveness)
3.1 คณะรัฐมนตรีสามารถกำหนดให้การชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตได้ (มาตรา 12)
3.2 กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีศูนย์บริการร่วม (มาตรา 7 วรรคสี่)
3.3 กำหนดให้จัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต (มาตรา 14)
4. สร้างหลักความชอบด้วยกฎหมาย (Legitimacy, Rule of law)
4.1 ให้มีการทบทวนความจำเป็นในการใช้กฎหมาย (มาตรา 6)
4.2 ไม่ให้นำกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังซึ่งเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ไปจากที่กำหนดในคู่มือสำหรับประชาชนมาใช้กับการยื่นคำขออนุญาตที่ได้ยื่นไว้ก่อน เว้นแต่เป็นกรณีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอ (มาตรา 11)
การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ฯ
ระบบ IT เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกฯ แบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังนี้
1. ระบบคู่มือสำหรับประชาชน (ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบถ้วนทัน สมัย ในจุดเดียว)
1.1 ส่วนการใช้งานของผู้ขอรับบริการ
- รายละเอียดของงานบริการ การดาวน์โหลดคู่มือฯ ตามแบบฟอร์ม
- การสืบค้น คู่มือสำหรับประชาชน และงานบริการ
- การเชื่อมโยงข้อมูลงานบริการที่มีความต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกัน
1.2 ส่วนการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐ
- การนำเข้า/กรอกข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชน
- การแสดงสถานการณ์จัดส่งข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชน
- การอนุมัติการเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชน
1.3 ส่วนการใช้งานของสำนักงาน ก.พ.ร.
- การแสดงสถานการณ์จัดส่งข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชนของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด
- การอนุมัติการเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชน
2. ระบบหนังสือแจ้งล่าช้า (ลดภาระหน่วยงานภาครัฐในการจัดส่งหนังสือเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบกระบวนงานของ สกพร.)
2.1 ส่วนการใช้งานของผู้ขอรับบริการ
- ติดตามสถานการณ์ดำเนินงานของกรณีล่าช้า
2.2 ส่วนการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐ
- การนำเข้า/กรอกข้อมูลการดำเนินงานล่าช้ากว่าที่กำหนดในคู่มือสำหรับประชาชน
- การติดตาม / อัพเดทสถานะของกรณีล่าช้า
- การสั่งพิมพ์หนังสือล่าช้าเพื่อจัดส่งให้ผู้ขอรับบริการ
- การส่งสำเนาหนังสือ/ข้อมูลการดำเนินงานล่าช้ามายังสำนักงาน ก.พ.ร.
2.3 ส่วนการใช้งานของสำนักงาน ก.พ.ร. (ลดภาระหน่วยงานภาครัฐในการจัดส่งหนังสือเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบกระบวนงานของ สกพร.)
- การรับข้อมูลการดำเนินงานล่าช้าจากหน่วยงานภาครัฐ
- การติดตามกรณีล่าช้าตามเกณฑ์ที่กำหนด
- การวิเคราะห์และรายงานทางสถิติ
3. ระบบรับเรื่องร้องเรียน (ประชาชนสามารถร้องเรียนปัญหาการให้บริการและ สกพร. สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ)
3.1 ส่วนการใช้งานของผู้ขอรับบริการ
- กรอกข้อมูลและเรื่องร้องเรียนในการให้บริการด้านการอนุญาต
- การติดตามสถานการณ์ดำเนินการ
3.2 ส่วนการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐ
- รับข้อมูลเรื่องร้องเรียนของหน่วยงาน
- การติดตาม/อัพเดทสถานะการดำเนินการ
- การจัดทำรายงานข้อมูลทางสถิติ
3.3 ส่วนการใช้งานของสำนักงาน ก.พ.ร.
- การติดตามสถานะการดำเนินการ
- การจับคู่เรื่องร้องเรียนและหนังสือแจ้งล่าช้า
- การจัดทำรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
4. ระบบวิเคราะห์กระบวนงาน (เพิ่มประสิทธิภาพ สกพร. ในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเสนอต่อ ครม. ในการพัฒนา การให้บริการ)
4.1 ส่วนการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐ
- การเปรียบเทียบกระบวนงานชนิดเดียวกันแต่ต่างหน่วยงาน
4.2 ส่วนการใช้งานของสำนักงาน ก.พ.ร.
- การเปรียบเทียบกระบวนงาน กับมาตรฐานกลาง
- รายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ศูนย์อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
1. ให้คำปรึกษาในการติดต่องานอนุญาตของทางราชการ
2. ให้คำปรึกษาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
3. รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน เมื่อได้รับบริการไม่เป็นไปตามคู่มือประชาชน
รูปแบบการบริการศูนย์อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
1. สายด่วน 1111 กด 22
2. ติดต่อโดยตรงบริเวณ ชั้น 1 อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กทม.
3. ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ)
4. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ วันละ 4 คน
เว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ
“ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ” (www.info.go.th)
แอพพลิเคชั่นคู่มือประชาชน
1. วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถทราบข้อมูลคู่มือประชาชน
2. ค้นหาคู่มือประชาชนสำหรับเรื่องที่ต้องการติดต่อราชการ
3. ดูรายละเอียดคู่มือประชาชนสำหรับการติดต่อราชการในแต่ละเรื่อง อาทิ ช่องทางการให้บริการขั้นตอน ระยะเวลาที่ต้องใช้ ค่าใช้จ่าย แบบฟอร์ม ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม ช่องทางการร้องเรียน เป็นต้น
4. บันทึกคู่มือประชาชนไว้บนเครื่องเพื่อเรียกดูในภายหลัง
5. ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
6. การติดตั้ง : สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้แล้ววันนี้ ฟรี! iOS เช่น iPhone iPad ผ่าน App Store, Android ผ่าน Google Play หรือผ่านทางเว็บไซต์ Government App Center (GAC) ที่ apps.go.th
7. โดยความร่วมมือของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)