วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้าราชการยุคใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวนงลักษณ์  พิศวงศ์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  กองแผนงาน  กรมบัญชีกลาง
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : ข้าราชการยุคใหม่ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

 
คนที่โลกยุคใหม่ต้องการ
- มีความเป็นเลิศ
- มีความเป็นมืออาชีพ
- ปรับตัวได้ตลอดเวลา
- คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น

ค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการสำหรับข้าราชการยุคใหม่
1.กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
- ยึดหลักวิชา จรรยาวิชาชีพ
- ไม่โอนตามอิทธิพลใดๆ

2.ซื่อสัตย์รับผิดชอบ
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
- แยกเรื่องส่วนตัวจากหน้าที่การงาน
- รับผิดชอบต่อ ประชาชน ผลการปฏิบัติงานขององค์กรและการพัฒนาระบบราชการ

3.โปร่งใสตรวจสอบได้
- ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้โปร่งใส
- มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขตกฎหมาย

4.ไม่เลือกปฏิบัติ
- บริการประชาชนด้วยความเสมอภาค สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ถูกต้อง
- ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยความมีน้ำใจ เมตตา เอื้อเฟื้อ

5.มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ทำงานให้เสร็จตามกำหนด เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม
- ใช้ทรัพยากรของราชการให้คุ้มค่าเสมือนใช้ทรัพยากรของตนเอง
- ทำงานโดยยึดผลลัพธ์ มีการวัดผลและค่าใช้จ่าย

ค่านิยมสร้างสรรค์ จะนำไปสู่...
- พฤติกรรมในการทำงานเพื่อประชาชนและส่วนรวม
- กล้าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
- ไม่ถูกชี้นำในการตัดสินใจและการทำงาน
- มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ
- รักษาเกียรติของอาชีพตนเอง
- โปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ
- มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ระบบงานของรัฐได้รับความศรัทธาและเชื่อถือจากประชาชน

ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : การพัฒนาบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ คือ ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความรู้สึก

นึกคิดที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ  ฉะนั้น  การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ การสนับสนุน ความไว้วางใจ และความประทับใจจากผู้อื่นนั้น ก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
การวางท่าทาง
ประโยชน์ของการวางท่าทางที่ถูกต้อง
1.สุขภาพร่างกายทั่วไปดีขึ้น
2.การทรงตัวดี     
3.ลดการปวดเมื่อยต่างๆ
4.เสียงดีขึ้นเพราะกระบังลมทำงานดี
5.การเคลื่อนไหวนิ่มนวล
6.สง่างาม  
7.ลักษณะท่าทางมีความมั่นใจ
8.สะดุดตา

ข้อเสียของการวางท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
1. สุขภาพไม่ดีมีอาการดังนี้
- การย่อยอาหารไม่ดี- ปวดหลัง
- การหมุนเวียนโลหิตไม่ดี
- เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย
2. ขาดการวางตัวที่ดี
3. ขาดความมั่นใจในตัวเอง

ตัวท่านละเป็นอย่างไร
1.ศีรษะยื่นออกมาหรือเปล่า
2.ไหล่ห่อหรือก้มงอไปข้างหน้าหรือเปล่า
3.ทรวงอกห่อหน้าอกโค้งงอเข้าไปหรือเปล่า
4.หน้าท้องยื่นออกมาหรือเปล่า
5.ก้นยื่นออกไปข้างหลังหรือไม่
6.เข่าทั้งสองตึงและอยู่ถูกที่หรือไม่
7.เท้ายื่นชี้ไปข้างในหรือข้างนอก

วิธีการตรวจการวางท่าทาง
1.ยืนหันหน้าเข้าผนังให้ชิด
2.วางมือบนหน้าขา (หรือเดินเข้าหาผนังช้าๆ)
3.ถ้าหน้าอกสัมผัสผนังก่อน  การวางท่าทางดี
4.ถ้าท้องสัมผัสก่อน = ต้องปรับปรุง
5.ถ้าศีรษะสัมผัสก่อน = ต้องปรับปรุง

การวางตัวและการเดิน
1.เท้า ชี้ตรงไปข้างหน้าห่างกัน 2-3 นิ้ว น้ำหนักตัวอยู่ศูนย์กลาง
2.เข่า ตึงหรืออาจหย่อนเล็กน้อย  แต่อย่างอเข่า
3.หน้าท้อง แขม่วไว้
4.เอว ดึงขึ้นไปให้พ้นจากสะโพก
5.ไหล่ ตรง
6.คอ ยืดตรง
7.คาง ให้คางขนานกับพื้น

จุดสำคัญเกี่ยวกับการวางมือ
1.มือทั้งสองปล่อยตามสบาย
2.การเคลื่อนไหวจะใช้ข้อมือและช่วงต่ำกว่าศอก
3.พยายามให้เห็นด้านข้างของมือ อย่าบิดมือ
4.การก้าวเดินและแกว่งแขนต้องประสานกัน
5.ลักษณะมือไม่ควรจะแข็งหรือแกว่งไปมามากเกินไป

มารยาทการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์หรือชนิดช่วยตนเอง
1.ควรตักแบ่งอาหารให้พอดีกับความต้องการของตนเองอย่าโลภตักอาหารไปจนทานไม่หมด
2.อย่าตักอาหารโดยคุ้ยเขี่ยทำลายความสวยงามที่เขาตกแต่งไว้
3.เมื่อรับประทานอาหารเสร็จวางไว้ที่วางจานใช้แล้วหรือส่งให้บริกร

ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : จิตบริการในการทำงานภาครัฐ
จิตบริการ (Service mind)  เป็นศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ มาจากคำ 2 คำ คือ Service หมายถึง การบริการ และ mind หมายถึง จิตใจ  รวมแล้วหมายถึง จิตใจของการเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งแสดงออกได้หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้รับบริการประทับใจ เช่น การบริการด้วยรอยยิ้มและคำพูดที่เหมาะสมเพื่อสร้างความไว้วางใจ การแสดงออกถึงความพร้อมและความเต็มใจในการให้บริการ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ กริยาท่าทางและน้ำเสียงในขณะให้บริการเป็นอย่างดี การเก็บอารมณ์ได้ดีในขณะรับฟังข้อร้องเรียนในเรื่องต่างๆ  ความมีน้ำใจที่เสนอแนะหรือ    ให้ข้อมูลในเรื่องอื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ

ทัศนคติและวิธีคิดในการทำงานบริการ
1. คิดมองโลกและผู้อื่นเชิงบวก
2. ทัศนคติแบบสามารถ เชื่อว่าทำได้
3. คิดและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม ทุกคนมีจุดแข็ง จุดอ่อน มองตามความเป็นจริง

เราจะให้คนอื่นได้อย่างไร
- ให้ด้วยความตั้งใจ สนใจ
- ให้ด้วยกิริยา ท่าทาง
- ให้ด้วยคำพูด
- ให้ด้วยการกระทำ

สิ่งที่ผู้รับบริการคาดหวัง
- ความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม
- โปร่งใส ประทับใจ ตรวจสอบได้
- บริการของผู้ให้ ต้องนั่งในใจของผู้รับ
- บริการทุกระดับ ตามลำดับก่อนหลัง
- ยิ้มงาม ถามไถ่ มีธุระเรื่องใด เต็มใจบริการ

สร้างน้ำใจด้วยการมองและยิ้ม
- มองทุกคนที่พบด้วยสายตาที่เป็นมิตร
- ยิ้มให้ทุกคนที่พบกัน
- ทำความรู้จักกับคนที่ไม่รู้จัก
- มองคนในแง่ดี

- คนเราเป็นมิตรกันได้ แม้ความคิดเห็นจะต่างกัน
สร้างน้ำใจด้วยการพูดทักทาย
- ทักทายกับคนอื่น เมื่อได้พบกัน
“กล่าวคำสวัสดี ยกมือไหว้ ยิ้มหรือก้มหัวตามความเหมาะสม เรียกชื่อผู้ที่เราติดต่อด้วยทุกครั้ง”
-ทักทาย พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
“คิดเป็นทีม รู้สึกเป็นทีม ทำงานเป็นทีม”
- ใช้คำพูดให้ติดปาก คือ ขอบคุณ ขอโทษ
- พูดด้วยคำสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน

สร้างน้ำใจด้วยการฟัง
- ตั้งใจฟังคนอื่นพูด
- การฟังที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เราได้รับรู้สิ่งนั้น โดยกระตุ้นให้ลูกค้าพูด เราทำหน้าที่ฟัง
- มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ต้องมีการสื่อสารกัน 2 ทาง เป็นเรื่องของการ “ให้” และ “รับ” เป็นเรื่องของ “การกระทำ” และ “สนองตอบ”
-ถ้าไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้ามชอบอะไร? ลูกค้าชอบอะไร? ต้องการอะไร? แล้วเราจะสนองตอบลูกค้าได้อย่างไร?

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

งานได้ผล คนเป็นสุข

 

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวมนพร เบญจพร..
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ

ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : งานได้ผล คนเป็นสุข (โดย รศ.นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์)
หลักคิดและแนวทางปฏิบัติในการทำงานให้ได้ผลและคนทำงานมีความสุข แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย

๑. งานได้ผล/ความสำเร็จในการทำงาน
การทำงานให้ได้ผล/ประสบความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยหลักการหรือกฎแห่งความสำเร็จ ๑๕ ประการ ได้แก่
(๑) มีเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอน
(๒) มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้
(๓) มีนิสัยประหยัดอดออม
(๔) มีความคิดริเริ่มและมีความเป็นผู้นำ
(๕) มีจินตนาการ
(๖) มีความกระตือรือร้น
(๗) มีความฉลาดทางอารมณ์ ควบคุมตนเองได้
(๘) นิสัยทำงานเกินเงินเดือน
(๙) บุคลิกภาพต้องตาต้องใจ
(๑๐) ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง
(๑๑) มีความมุ่งมั่น ใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
(๑๒) มีความสามัคคี
(๑๓) การเอาประโยชน์จากความล้มเหลว ผิดพลาด
(๑๔) ความใจกว้าง ยอมรับผู้อื่น
(๑๕) การใช้กฎทองคำ (คือ จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน)

๒. จริยธรรมในการปฏิบัติราชการ/การทำงาน
จริยธรรม หมายถึง แนวทางความประพฤติและปฏิบัติเพื่อความถูกต้องดีงามในสังคม ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับศีลธรรมอันเป็นคำสอนของศาสนาที่สังคมนั้นๆ มีอยู่  ส่วนคุณธรรม เป็นมาตรฐานค่านิยมของสังคมที่ให้คุณค่าเป็นสิ่งดีงาม ซึ่งมักเกี่ยวกับความเชื่อในคำสอนของศาสนา
จริยธรรมของข้าราชการคือการทำงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นผู้รักษาประโยชน์ของส่วนรวม



โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็น ได้แก่
(๑) จริยธรรมต่อส่วนรวมในแง่สถาบัน คือ การมุ่งทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ดังนั้น พฤติกรรมในการทำงานจึงแยกออกเป็น
สัมพันธภาพกับสังคมภายนอก
- ตอบสนองความต้องการของประชาชน
- อิทธิพลของสังคมที่มีต่อมาตรฐานศีลธรรมของข้าราชการ
สัมพันธภาพในวงการบริหารราชการ
- การปกครองบังคับบัญชาแบบประชาธิปไตย
- พฤติกรรมการบริหารงาน
  (๒) จริยธรรมต่อส่วนรวมในแง่บุคคล พิจารณาได้ ๒ ประเด็น
- ความคิดของบุคคลเกี่ยวกับความเข้าใจและทัศนคติในเรื่องศีลธรรมโดยทั่วไปของข้าราชการแต่ละคน ทัศนคติที่มีต่องานของรัฐในรูปของการยอมรับความสำคัญเรื่องส่วนรวม การยอมรับนโยบายของรัฐที่กำหนดขึ้นแล้ว การยอมรับแบบแผนการดำเนินงานของรัฐ ทัศนคติที่ดีต่องานของรัฐ โดยส่วนร่วมและหน้าที่เฉพาะในส่วนของตน
- จิตใจของบุคคล หมายถึง คุณธรรมประจำใจ คุณความดีในใจ จะเป็นแนวทางให้การปฏิบัติงานข้าราชการดำเนินไปอย่างมีคุณธรรม เช่น กล้าตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแทนการรักษาประโยชน์ส่วนตนหรือกลุ่ม

๓. การทำงานอย่างมีความสุข 
คนเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถ้ามีความสุขและความพอใจในการทำงาน แต่บางครั้งอาจต้องทำงานที่ไม่ชอบ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จงชอบงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะผลงานเป็นตัวประเมินหรือตัวชี้วัดถึงความรับผิดชอบและความสามารถของผู้ปฏิบัติงานนั้น
ข้อคิดและวิธีปฏิบัติของคนทำงาน เพื่อให้งานได้ผลคนเป็นสุข มีดังนี้

(๑) เส้นทางสู่ความสุขในชีวิต  ก่อนที่จะทำงานอย่างมีความสุข คนเราควรดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขด้วยวิธีคิดและการปฏิบัติตน ดังนี้
     (๑.๑) จงเป็นตัวของตัวเอง อย่าเลียนแบบใคร
     (๑.๒) ค้นหาตัวเองให้พบ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และนำคุณสมบัติที่ดีในตัวมาใช้ให้เป็นประโยชน์
     (๑.๓) สร้างนิสัยที่ดีงามในการทำงาน
     (๑.๔) ขจัดความเบื่อหน่าย ความเครียด ความวิตกกังวล และความหงุดหงิด
     (๑.๕) พักผ่อนให้เพียงพอ
     (๑.๖) พอใจงานที่ทำและมีความสุข - สนุกกับงาน

(๒ เคล็ดลับสู่ความสุขและความสำเร็จในการทำงาน การทำงานให้มีความสุขและความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้
     (๒.๑) มองโลกและมองคนในแง่ดี
     (๒.๒) ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ
     (๒.๓) ถือว่าการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญตลอดชีวิต
     (๒.๔) เป็นคนใจกว้างยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง
     (๒.๕) เป็นผู้ที่มีน้ำใจต่อผู้อื่น
     (๒.๖) รู้จักถนอมน้ำใจและเกรงใจผู้อื่น
     (๒.๗) เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
     (๒.๘) อย่าหัดเป็นคนคิดมากจนเกินการณ์

(๓) ความสุขในการทำงาน คนเราจะทำงานอย่างมีความสุข ถ้ามีความคิดดังต่อไปนี้
     (๓.๑) มีความกระตือรือร้น
     (๓.๒) มีเป้าหมายในการทำงานเต็มที่
     (๓.๓) รักองค์กร
     (๓.๔) ภาคภูมิใจในองค์กรที่ตนทำงานอยู่
     (๓.๕) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
     (๓.๖) พอใจชีวิต
     (๓.๗) ใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ