ผู้เล่าเรื่อง : นางสาว สุจิตรา นภาคณาพร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ
หลักสูตรฝึกอบรม : การพัฒนาศักยภาพข้าราชการบรรจุใหม่ของกรมบัญชีกลาง
หน่วยงานผู้จัด : สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการคลังและบัญชีภาครัฐ (สพบ.)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1.เพื่อสร้างเสริมทัศนคติ จิตสำนึก และเห็นคุณค่าการนำความคิดและหลักการทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
2.เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการให้ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ยืดประชาชนที่เป็นศูนย์กลาง มีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการ มีพฤติกรรมสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการยุคใหม่
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท ภารกิจของกรมบัญชีกลางในภาพรวม โครงสร้างผู้บริหาร ประเด็นยุทธศาสตร์ ตลอดจนค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเครือข่ายข้าราชการรุ่นใหม่ อันจะส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการ
1. การลา
ประเภทการลา
• การลาป่วย
- ข้าราชการลาป่วยโดยได้รับเงินเดือน ปีละไม่เกิน 60 วัน
- ผู้บังคับบัยชาระดับสำนัก/กอง อนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 60 วัน
- อธิบดีอนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 120 วัน
• การลาคลอดบุตร
- ลาครั้งละไม่เกิน 90 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
- หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงบุตรต่อให้ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ
• การลากิจส่วนตัว
- ลาได้ไม่เกินปีละ 45 วันทำการ
- ปีแรกที่เข้ารับราชการลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
• การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
- การเข้ารับการตรวจเลือก การเข้าการตรวจเลือดเพื่อการรับราชการ
เป็นทหาร กองประจำการ
- การเข้ารับการเตรียมพล การเข้ารับการตรวจสอบเข้ารับการฝึกวิชาทหารหรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
- แนวทางปฏิบัติ
ข้าราชการที่ได้รับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก และรับเข้าการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต
เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลแล้ว ให้รายงานตัวกลับภายใน 7 วัน
กรณีจำเป็น ผู้บังคับบัญชาอาจขยายเวลาให้ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
• การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
- ลาได้ไม่เกิน 4 ปี
- ผู้มีอำนาจอนุญาต อาจให้ลาได้มากกว่า 4 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 6 ปี
- ต้องกลับมารับราชการชดใช้เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ไป
- แนวทางปฏิบัติ
เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาอนุญาต
เมื่อได้รับอนุญาต ต้องทำสัญญากับส่วนราชการต้นสังกัด
เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการลา ให้รับรายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการและรายงานผลของภารกิจต่อผู้บังคับบัญชา
• การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ประเภทที่ 1 ประเทศไทยเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ และมีวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงาน หรือส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ประเภทที่ 2 การไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ 1
- เงื่อนไข
ประเภทที่ 1 ลาได้ไม่เกิน 4 ปี
ประเภทที่ 2 ลาได้ไม่เกิน 1 ปี ถ้าเกินต้องสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ยกเว้นแต่เงินที่ได้รับจากองค์การฯ ต่ำกว่า เงินเดือนจากทางราชการ
การลาเฉพาะประเทที่ 2 ให้กลับมาปฏิบัติราชการเป็นระยะเวลา 1 เท่าของเวลาที่ลาไป หรือชดใช้เบี้ยปรับแก่ทางราชการ
- คุณสมบัติ
ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันได้รับอนุญาต เว้นแต่ผู้ปฏิบัติงานใน UN กำหนดเวลาให้เป็น 2 ปี
สำหรับผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานฯ ประเภทที่ 2 มาแล้ว ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 2 ปี
สำหรับผู้ที่ไปปฏิบัติงานฯ ประเภทที่ 2 ต้องมีอายุไม่เกิน 52 ปีบริบูรณ์นับถึงวันได้รับอนุญาต
มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสม ไม่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดทางวินัย
• การลาติดตามคู่สมรส
- ลาได้ไม่เกิน 2 ปี
- ผู้มีอำนาจอนุญาต อาจให้ลาได้อีก 2 ปี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกินต้องลาออกจากราชการ
- ไม่ได้รับเงินระหว่างลา
• การลาไปช่วยภริยาคลอดบุตร
- ต้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
- ลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
• การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
- ข้าราชการได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือถูกประทุษร้าย จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
- อธิบดีมีอำนาจให้ลาได้ไม่เกิน 6 เดือน
- ปลัดกระทรวงมีอำนาจให้ลาได้ไม่เกิน 12 เดือน
2. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
3. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
4. เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
5. ค่าเข่าบ้าน
6. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
7. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว
- เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
- ค่าเช่าที่พัก
- ค่าพาหนะ รวมถึงค่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิง ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
8. บำเหน็จบำนาญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น