ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดชัยนาท
หลักสูตรฝึกอบรม : อบรมให้ความรู้ เรื่องวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานจังหวัดชัยนาท
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1) เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวินัยข้าราชการพลเรือน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ไม่ฝ่าฝืน
2) เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาให้ข้าราชการมีวินัยและป้องกันมิให้ข้าราชการกระทำผิดวินัยข้าราชการและความรับผิดทางละเมิด
3) เพื่อเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
สำหรับการอบรมช่วงเช้าเป็นวิชาวินัยข้าราชการพลเรือน โดยวิทยากรจาก สำนักงาน ก.พ. เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 สรุปใจความสำคัญได้ว่า วินัยข้าราชการพลเรือนสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 หมวดที่สำคัญ คือ
1. หมวดวินัยต่อตนเอง คือ ข้าราชการจำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงของตนเอง รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่มิให้เสื่อมเสีย (ม.82(10) ห้ามประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ม.85(4) แนวทางการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่ว ข้าราชการห้ามกระทำการใดที่ทำให้เสียเกียรติของตำแหน่งหน้าที่การงาน ทำให้สังคมรังเกียจ กระทำการโดยเจตนา สำหรับกรณีประพฤติชั่วเรื่องการดื่มสุรา มติครม.ได้กำหนดไว้ว่า ข้าราชดื่มสุราในขณะปฏิบัติงาน เมาสุราจนเสียงานราชการ และเมาสุราในที่สาธารณะทำให้เสียเกียรติ ถ้ากระทำการข้อใดข้อหนึ่งผิดวินัยร้ายแรงต้องปลดออกเท่านั้น
2. หมวดวินัยต่อเพื่อนร่วมงาน คือ ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ (ม.82(7) ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (ม.83(7) ต้องไม่กระทำการล่วงละเมิด คุกคามทางเพศตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. (ม.83(8)
3. หมวดวินัยต่อประชาชน คือ ให้การต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม ให้การสงเคราะห์ ต่อประชาชนผู้ติดต่อราชการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของตน (ม.83(9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (ม.85(5)
4. หมวดวินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คือ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยสุจริตเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
5. หมวดต่อประเทศชาติ คือ ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการ หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ หากข้าราชการคนใดละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการส่งผลให้ทางราชการเกิดความเสียหายร้ายแรง ข้าราชการผู้นั้นมีความผิดร้ายแรงต้องไล่ออกเท่านั้น
6. หมวดวินัยต่อผู้บังคับบัญชา คือ ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่รายงานเท็จ ไม่กระทำข้ามผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา (ม.82(4) กำหนดไว้ว่าต้องมีคำสั่งผู้บังคับบัญชา เป็นผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย สั่งในหน้าที่ราชการ และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนที่ทำผิดวินัย มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. โทษสำหรับความผิดอย่างไม่ร้ายแรง ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษสำหรับความผิดอย่างร้ายแรง ได้แก่ ปลดออก และ ไล่ออก
สำหรับการอบรมช่วงบ่ายจะเป็นวิชาเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐโดยวิทยากรจากกรมบัญชีกลาง คุณรวิภา ด้วงแดงโชติ ขอบเขตของเนื้อได้แก่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 คำนิยามที่สำคัญ ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
นิยามที่สำคัญ ของพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 มาตรา 4
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่น
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบความเสียหายในผลแห่งความละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การปฏิบัติในหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชอบโดยตรง
มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานรัฐ ถ้าหน่วยงานรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบหรือรับผิดชอบร่วม หรือคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ให้หน่วยงานรัฐมีสิทธิสามารถเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทะละเมิดชดใช้ค่าสินไหนทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำการไปโดยการจงใจ ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง
มาตรา 9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะให้อีกฝ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐที่ผู้นั้นอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาอนุโลมบังคับใช้
มาตรา 11 ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรับมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็มีสิทธิ์ให้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
มาตรา 12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือกรรีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลากำหนด
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้ระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย
มาตรา 14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น