ผู้เล่าเรื่อง : นายพงศักดิ์ แถมเดช
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน : กรมบัญชีกลาง สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ…ส่วน 1
หลักสูตรฝึกอบรม : การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์และการออกแบบสื่อสมัยใหม่
หน่วยงานผู้จัด : กระทรวงการคลัง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
๑) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การใช้กล้องถ่ายรูปและเทคนิคการถ่ายภาพ
๒) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การออกแบบสื่อสมัยใหม่
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : การถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์และการออกแบบสื่อสมัยใหม่
1. การถ่ายภาพ
ความเร็วชัตเตอร์ (S,TV)
ความเร็วชัตเตอร์
เป็นการกำหนดระยะเวลาในการบันทึกภาพ ซึ่งกลไกของกล้องจะมีแผ่นเลื่อนเปิดปิดอยู่หน้าฟิล์ม (หรือแผ่นรับแสง CCD ในกรณีของกล้องดิจิตอล) เรียกว่าชัตเตอร์ สามารถเปิดและปิดเพื่อเปิดให้แสงเข้าไปบันทึกภาพตามระยะเวลาที่เราตั้งความเร็วชัตเตอร์ เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง เช่น การถ่ายภาพจากแหล่งแสงที่มีแสงน้อย เช่น แสงเทียน ต้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์หลายวินาที ส่วนการถ่ายภาพกลางแจ้ง มีแดดจัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่า เช่น 1/500 วินาทีเป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การถ่ายภาพรถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ต้องการให้ภาพคมชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่ทำได้ โดยสัมพันธ์กับขนาดรูรับแสงที่เลือก เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/4000 วินาที เป็นต้น
ขนาดรูรับแสง (A,AV)
ขนาดรูรับแสง
กล้องส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์บังคับให้แสงผ่านเลนส์มากหรือน้อย โดยใช้แผ่นกลีบโลหะซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวเลนส์เป็นการกำหนดปริมาณแสงผ่านเลนส์ได้มากหรือน้อย โดยวิธีเปิดรูเล็กสุด เช่น f/22 และค่อยๆใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเปิดเต็มที่ เช่น f/1.4 แต่ขนาดเปิดเต็มที่จะขึ้นกับขนาดชิ้นเลนส์ด้วย เลนส์ราคาสูงที่มีเลนส์ชิ้นหน้าขนาดใหญ่ จะรับแสงได้มากกว่า ซึ่งหมายถึงเปิดรูรับแสงเต็มที่ได้กว้างกว่า เช่น f/1.2 สำหรับการถ่ายภาพจะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงใด โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง ถ้าแสงมากมักจะใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/11 ถ้าแสงน้อยมักจะใช้ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น f/2 เป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญ คือ ความชัดลึก
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง ต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่พอเหมาะในการบันทึกภาพ ซึ่งในสภาพแสงเดียวกัน และเลือกค่าความไวแสงเท่ากัน สามารถตั้งค่าที่เหมาะสมได้หลายค่า
การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง
การเลือกคู่ที่เหมาะสมตามตัวอย่างในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง ให้พิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆดังนี้
1. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่จะถ่าย
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว แต่เราต้องการภาพชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่กล้องจะทำได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งนั้น สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์เท่าไรก็ได้
2. ความชัดลึกของวัตถุที่จะถ่าย
ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/22 จะให้ความชัดลึกมากกว่าขนาดรูรับแสงกว้าง เช่น f/1.4 ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือใช้เลนส์ถ่ายไกลในการถ่ายภาพ
การชดเชยแสง (EV+/-)
การชดเชยแสง
เป็นการปรับปริมาณแสงในการบันทึกภาพให้แตกต่างไปจากค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง เช่น การถ่ายภาพย้อนแสงนั้น ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง มักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างมืด การชดเชยแสง โดยเพิ่มแสงมากกว่าที่วัดแสงได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ การถ่ายภาพวัตถุที่อยู่หน้าฉากหลังสีดำ ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงมักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างสว่างเกินไป การชดเชยแสงทำได้โดยลดแสงให้น้อยกว่าที่วัดแสงได้ เป็นต้น
โดยทั่วไปกล้องมีระบบชดเชยแสงสำเร็จรูป หรือเรียกว่าการปรับ EV อยู่แล้ว โดยตามหลักการกล้องจะไปปรับ ความเร็วชัตเตอร์ หรือปรับรูรับแสง เพื่อให้ภาพสว่าง หรือมืดลงกว่าที่วัดแสง หรือเราสามารถไปปรับที่ parameter ดังกล่าวได้โดยตรง
การเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงเพื่อชดเชยแสง
ในการชดเชยแสงนั้น นิยมปรับเปลี่ยน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือความเร็วชัตเตอร์ หรือ ขนาดรูรับแสง หลักการชดเชยแสงก็มีเพียงสองทาง คือ เพิ่มแสง หรือลดแสง
การเพิ่มแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การลดความเร็วชัตเตอร์ลง เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/250 ยึดหลักว่าถ้าชัตเตอร์ปิดช้าลงก็จะต้องได้แสงมากขึ้นแน่นอน หากเพิ่มแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสงก็ต้องเพิ่มขนาดรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น เช่น วัดแสงได้ f/4 เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/2.8
การลดแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที ลดแสง 1 ระดับ ก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/1000 คือให้ชัตเตอร์ปิดเร็วขึ้นเท่าตัวนั่นเอง หากลดแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสง ก็ต้องลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลง เช่น วัดแสงได้ f/4 ลดแสง 1 ระดับ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/5.6
การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น ให้พิจารณาดังนี้
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ
แบ่งทิศทางการเคลื่อนที่เป็น 2 ลักษณะ คือเคลื่อนที่เข้าหา/ออกห่างกล้อง หรือ เคลื่อนที่ผ่านกล้องจากซ้ายไปขวาหรือกลับกัน โดยที่การเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกห่างจากกล้องนั้นสามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำว่าการเคลื่อนที่ผ่านกล้อง เช่น รถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.เท่ากัน ที่เคลื่อนที่เข้าหากล้อง อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 แต่ถ้าเคลื่อนที่ผ่านกล้อง อาจต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/500
ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รถแข่ง ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่กล้องสามารถทำได้ ส่วนคนเดิน สามารถใช้ความเร็วที่น้อยกว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่สภาพแสงอำนวย
ผลลัพธ์หยุดนิ่งหรือดูแล้วเคลื่อนไหว
การสร้างสรรภาพบางแบบ นิยมให้ภาพดูแล้วมีลักษณะเบลอแบบเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่า มีความเคลื่อนไหวในภาพ อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าปกติได้ เช่น รถแข่ง อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/15 พร้อมกับเล็งกล้องติดตามรถแข่งไปด้วยขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ หากฝึกให้ดีแล้วจะได้ภาพที่รถแข่งชัดบางส่วน ส่วนฉากหลังจะมีลักษณะเป็นลายทางให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
ความชัดลึก
อันนี้เป็นคุณสมบัติเรื่องของเลนส์เป็นหลักเลยครับ ปัจจัยที่มีผลต่อเรื่องนี้คือขนาดรูรับแสง
ขนาดรูรับแสงที่เล็กจะชัดลึกกว่า ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น ถ้าเราถ่ายภาพระยะใกล้ เช่น ถ่ายดอกชบา 1 ดอกแบบเต็มภาพทางด้านหน้า เราจะเห็นว่าเกสรดอกจะอยู่ใกล้กล้องมากที่สุด กลีบดอก และก้านดอกจะอยู่ลึก หรือไกลกล้องออกไป หากเราต้องการถ่ายภาพให้ชัดทั้งหมดตั้งแต่เกสรดอกจนถึงก้านดอก นี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่าความชัดลึก ซึ่งต้องใช้รูรับแสงขนาดเล็กไว้ ในทางกลับกันหากเราใช้รูรับแสงใหญ่ จะเรียกว่าชัดตื้น มักใช้ในกรณีที่เราต้องการให้ฉากหลังมีความคมชัดน้อยกว่าวัตถุ เพื่อเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา มักจะพบบ่อยในการถ่ายภาพแฟชั่น หรือการถ่ายบุคคลเฉพาะใบหน้า
ขนาดความยาวโฟกัสของเลนส์
เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสน้อย เช่น 28 มิลลิเมตร จะมีความชัดลึกมากกว่าเลนส์ 300 มิลลิเมตร ดังนั้นใครที่ต้องการถ่ายภาพให้ชัดลึกก็ต้องเลือกความยาวโฟกัสให้น้อยเข้าไว้ เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ ส่วนงานถ่ายภาพแฟชั่น มักจะใช้ขนาดความยาวโฟกัสมาก ทำให้ฉากเบลอเน้นที่นางแบบให้เด่นครับ
ระยะห่างระหว่างกล้องถึงวัตถุ
ระยะห่างมากจะชัดลึกกว่า ระยะห่างน้อย เราจะเห็นว่าเวลาเราถ่ายภาพวิว ซึ่งเป็นระยะไกลๆ ภาพมักจะชัดทั้งภาพ แต่ถ้าเราถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้ๆ ภาพมักจะไม่ชัดทั้งภาพ จะชัดเพียงบางส่วน ตามที่เราตั้งโฟกัสไว้ พอรู้อย่างนี้แล้ว ครั้งต่อไปที่ถ่ายภาพดอกไม้ระยะใกล้อย่าลืมใช้ขนาดรูรับแสงแคบๆนะครับ ซึ่งกล้องสมัยนี้ สามารถถ่ายได้อยู่แล้วในโหมดที่เรียกว่า Macro(มาโคร)
การวัดแสงเพื่อการถ่ายภาพ
เทคนิคการวัดแสงขั้นพื้นฐาน ให้พิจารณาจากปัจจัยสำคัญดังนี้
แหล่งต้นกำเนิดแสง
กล้องปัจจุบันสามารถปรับสมดุลย์สีขาว (White balance) ได้อัตโนมัติ ผู้ใช้กล้องทั่วไปจึงไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้ แต่แท้จริงแล้วเป็นส่วนสำคัญที่จะได้ภาพที่มีสีสรรถูกต้อง เนื่องจากฟิล์มถูกผลิตมาให้เหมาะสมกับอุณหภูมิสีของแสงตามที่ออกแบบมา เช่น แสงอาทิตย์ (Daylight) หรือแสงจากหลอดไส้ หรือแสงจากหลอดนีออน เป็นต้น หากเป็นกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ มักจะออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนชนิดแหล่งต้นกำเนิดแสงได้ แม้ว่ากล้องจะมีปุ่มปรับสมดุลย์สีขาวอัตโนมัติ (Auto White balance) มาแล้วก็ตาม แต่บางครั้งการทำงานของระบบอัตโนมัติก็ไม่ถูกต้องนัก ซึ่งเราจะเห็นได้จากจอ LCD ว่าสีเพี้ยน หากเป็นเช่นนี้เราก็ต้องปรับตั้งแหล่งต้นกำเนิดแสงด้วยตนเอง เช่น แสงอาทิตย์ / แสงอาทิตย์มีเมฆมาก / แสงอาทิตย์ใต้อาคาร / แสงจากหลอดไส้ / แสงจากหลอดนีออน / ตั้งสมดุลย์สีขาวเอง (Custom) หากเราลองเปลี่ยนสมดุลย์สีขาวชนิดต่างๆในกล้องแล้วยังได้สีไม่ตรงตามความเป็นจริง เราต้องใช้วิธีตั้งสมดุลย์สีขาวเอง ซึ่งวิธีการจะแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละยี่ห้อ ซึ่งวิธีการโดยทั่วไปจะต้องใช้กระดาษสีขาวมาวางไว้ภายใต้สภาพแสงขณะนั้น แล้วเลือกตั้งสมดุลย์สีขาวเอง จากนั้นส่องกล้องให้เห็นกระดาษสีขาวเต็มจอ กดปุ่ม Set เพื่อให้กล้องอ่านอุณหภูมิสีขณะนั้น กล้องจะปรับแก้ให้เราเห็นกระดาษขาวเป็นสีขาวจริงๆ ผ่านจอ LCD เป็นเสร็จพิธี แล้วก็ถ่ายภาพที่มีสีถูกต้องในสภาพแสงนั้นได้ตลอด หากออกจากสภาพแสงนั้นแล้วอย่าลืมเปลี่ยนสมดุลย์สีขาว หรือตั้งค่าใหม่ด้วยนะครับ
ทิศทางของแสง
การถ่ายภาพแบบพื้นฐานนั้น เราจะเน้นแต่แสงธรรมชาติกับแสงจากแฟลช แบ่งเป็นแสงส่องวัตถุคือแสงส่องหน้าแบบของเรา ซึ่งแสงจากแฟลชก็เป็นแสงแบบนี้แสงหลังหรือที่เรียกว่าย้อนแสง แสงข้าง แสงบนเช่นตอนเที่ยงวัน การวัดแสงควรวัดแสงที่วัตถุเท่านั้นจะได้ค่าการวัดแสงที่ถูกต้องที่สุด ในกรณีแสงข้าง ควรวัดแสงเฉลี่ยด้านมืดกับด้านสว่าง แต่ถ้าเราต้องการภาพเชิงศิลป์ออกโทนมืดๆหน่อย ให้วัดแสงที่ด้านสว่าง กรณีนี้ต้องใช้กล้องที่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุด (Spot) จะได้ไม่ต้องเข้าใกล้ขนาดจ่อหน้านางแบบมาก ขอเสริมเทคนิคให้สำหรับกล้องที่ไม่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุดได้ ให้ใช้วิธีวัดแสงกับมือของตากล้องนี่แหละครับ ดูแปลกๆหน่อยแต่ก็ช่วยให้วัดแสงได้แม่นยำขึ้นนะครับ โดยหลักการแล้ว กล้องแบบนี้จะวัดแสงเฉลี่ย ดังนั้นช่างภาพยกมือเราขึ้นมาทำให้แสงที่ตกบนมือเราเหมือนกับที่หน้านางแบบ เช่น แสงข้าง ก็ต้องกำมือปรับมุมข้อมือให้แสงตกบนหลังมือเราเหมือนแสงที่หน้านางแบบ แล้วเอากล้องจ่อที่มือเราแล้ววัดแสง เราอาจเน้นด้านสว่าง ก็จ่อกล้องที่ด้านสว่าง หรือเน้นที่ด้านมืด ก็จ่อกล้องที่ด้านมืด แต่ถ้ากล้องของเราทำการตั้งระยะชัดพร้อมกับวัดแสงด้วย แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะระยะชัดไม่ถูกต้องครับ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ยังไม่หมดหนทางครับ แต่เราต้องเตรียมกระดาษสีเทาใบใหญ่กว่า A4 ก็ดีครับ ให้นางแบบถือไว้โดยปรับมุมของกระดาษสีเทานี้แสงตกกระทบในมุมเดียวกับหน้านางแบบ แล้ววัดแสงที่กระดาษสีเทาก็ได้จะได้ค่าแสงที่เหมาะสมครับ
ความเปรียบต่างของแสงส่องวัตถุกับแสงหลัง
เช่นกรณีการถ่ายย้อนแสงโดยที่นางแบบอยู่ในร่มเงา ฉากหลังเป็นหาดทรายสีขาว แบบนี้ถ้าวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ ผลลัพธ์ก็จะออกมามืดไป เพราะเครื่องวัดแสงของกล้องจะโดนหลอกจากแสงหลังที่มาจากหาดทรายว่าแสงมาก จึงให้ค่าการวัดแสงที่ต่ำเกินไปคือถ่ายออกมาแล้วมืดไป เราต้องใช้วิธีวัดแสงเฉพาะจุดที่หน้านางแบบ แต่วิธีนี้ก็ให้ผลเสียคือ ฉากหลังจะขาวเกินไปจนอาจมองไม่ออกเลยว่าถ่ายที่ไหน วิธีนี้แนะนำให้เปิดแฟลชเพื่อลบเงาที่หน้านางแบบ แฟลชที่ติดมากับกล้องจะได้ผลน้อย แต่ก็ดีกว่าไม่เปิด ท่านที่มีแฟลชเสริมขอให้หยิบมาใช้เลยครับ ภาพแจ่มทั้งนางแบบและฉากหลังเลยครับ การวัดแสงมีเรื่องให้กล่าวถึงมากมายครับ ขอให้ติดตามต่อในเรื่องของการถ่ายภาพแบบพิเศษ
2. การเรียนรู้ Photoshop เบื้องต้น
เครื่องมือ
Zoom tool
- Zoom In " Ctrl + + "
- Zoom Out " Ctrl + - "
Hand tool (เลื่อนภาพ)
- Spacebar
เพิ่ม - Fit "Ctrl + 0"
- 100% "Ctrl + 1"
ขนาดภาพ เมนู Image > Image Size
- Pixel Dimension : งาน Digital
- Document Dimension : งานพิมพ์
- Resolution จำนวน pixel / 1 ตารางนิ้ว
งานทั่วไป 72 dpi
งานสิ่งพิมพ์ 300 dpi
-------------------------------------------------------
New File
- name
- preset ค่าสำเร็จรูป (paper 300 dpi , web 72 dpi)
- size เปลี่ยนค่า และหน่วยวัดได้
Preset งาน Web
ปกติ สัดส่วน 4:3 เช่น 1024x768 , 1280x960
สัดส่วน 16:9 ต้องแก้ไขเอง
HD 1280x720
Full HD 1920x1080
--------------------------------------------------------------
ลงสี
Foreground : สีเพิ่ม เช่น Brush
Background : สีลบ เช่น Eraser
- ขนาดหัวแปรง กด [,บ ย่อ ... ],ล ขยาย
- กรณี Brush กด Atl = eyedropper ชั่วคราว
เพิ่มเติม
การดูสีจากภาพ
วิธี 1: ใช้โปรแกรมเสริม ชื่อ Pickpic.org (ตอนติดตั้งระวังด้วย)
วิธี 2: Photoshop
step 1: เปิดภาพสีต้นแบบ
step 2: คลิ๊กผสมสี FG , BG
step 3: ใช้เมาส์ดูดสีจากภาพได้เลย
ผสมสีใหม่
วิธี : คลิ๊ก FG , BG
มี 3 ส่วน 1) สีรุ้ง ค่า Hue เฉดสี
2) ลากแนวนอน ค่า Saturate ระดับสี
3) ลากแนวตั้ง Brightness ความสว่าง
ย้อนกลับคำสั่ง
- undo , redo ทำได้ 1 ครั้ง "Ctrl + Z"
- step Forward ทำได้หลายครั้ง Shift + Ctrl + Z
- step Backward ทำได้หลายครั้ง Alt + Ctrl + Z
* ทำได้ตามขั้นตอนใน History ปกติได้ 20 ขั้นตอน
* set เพิ่ม "Ctrl + K" > Performance
------------------------------------------------------
เมนู Edit > Fill "Shift + F5" ลงสีทั้งหน้า
- สี FG : Alt + Del
- สี BG : Ctrl + Del
---------------------------------------------------
Pattern
ลงลาย Patter
เมนู Edit > Fill : เลือก Use เป็น Patter แล้วเลือกลาย
Option Pattern
เลือกลาย ให้คลิ๊กไอคอน เฟือง
- reset , load , save ได้
- เลือก Library เพิ่มเติมได้
-----------------------------------------------------
การปรับสีภาพ Adjustment
เมนู Image > Adjustment
ส่วนที่ 1 : ปรับแสงภาพ
1. Levels ปรับโทนภาพ ขาว เทา ดำ
ปรับได้ 4 วิธี
วิธี1 : ลากตำแหน่งจุด ดำ เทา ขาว
วิธี2 : ใช้ปรอทจิ้มจุด ขาวสุด-ดำสุด
วิธี3 : คลิ๊กปุ่ม auto
วิธี4 : เมนู Imgage > auto tone
โปรแกรมจะหาจุดขาวสุด-ดำสุด อัตโนมัติ
2. Curve
เหมือน Level แต่ปรับเทาได้ละเอียดกว่า
3. Brightness / Contrast
Brightness ปรับความสว่าง
Contrast ปรับค่าสีเทา (โทนกลาง)
4. Exposure
จำลองปรับรูรับแสงภาพ
ส่วนที่ 2
1. Vibrance
- เพิ่ม-ลดสีภาพ เน้นสีโทนกลาง
- สวยกว่า Saturation แต่สีไม่สดเท่า
2. Hue / Saturation
- Hue เปลี่ยนเฉดสี
- Saturation ปรับระดับสี
- Lightness เพิ่มสีขาว-ดำ
3. Color Balance
แก้ไขภาพสีเพี้ยน
- ให้เพิ่มคู่สีตรงข้าม
- มี 3 ระดับ shadow mintone highlight
4. Black/White
เปลี่ยนภาพสี เป็นภาพขาวดำ สามารถลากที่ภาพ ปรับน้ำหนักแต่ละเฉดสีได้
เพิ่ม
Shadow/Highlight
กรณีถ่ายภาพย้อนแสง
สามารถปรับส่วนเงามืด และส่วนสว่างจ้า
----------------------------------------------
Layer : เป็นการแบ่งภาพออกเป็นชั้นๆ
- Layer เดียวกัน "แก้ไขงานไม่ได้"
- Layer แยกกัน "แก้ไขงานได้"
*** ไฟล์ต้นฉบับ ต้องแยก Layer
-----------------------------------------------------
รวมภาพ
step 1: เปิดหลายๆ ภาพ
step 2: แสดงภาพคู่กัน move tool โดยลากชื่อภาพออกมาเป็นหน้าต่างย่อย
step 3: Move tool คลิ๊กเลือกภาพก่อน
แล้วลากภาพไปทันกัน
** โปรแกรมแยก Layer auto
tool เพิ่มเติม : Magic Eraser สำหรับลบพื้นที่ตามสีภาพ
----------------------------------------------------------
คุณสมบัติ Layer
1. Layer ทั่วไป (ไม่ล๊อค)
- move ได้ (Ctrl = auto select)
- จัดลำดับได้ (Ctrl+[ , Ctrl+])
- ปรับ Option ได้ เช่น Opacity ค่าความทึบ/โปร่ง
2) Layer Background (ล๊อค)
- move ไม่ได้
- ลำดับล่างสุด
- ปรับ Option ไม่ได้
*** ปลดล๊อค : ดับเบิ้ลคลิ๊ก Layer Background
----------------------------------------------------
การเซฟภาพ
1. เมนู File > Save
.Psd , .Tif - แยก Layer ได้
อื่นๆ เช่น jpg , png , bmp , gif - รวม Layer auto
--------------------------------------------
เมนู Edit > Free Transform "Ctlr+T"
- ย่อขยายภาพใน Layer
- move
- scale (Shift = ล๊อคสัดส่วน)
- Rotate (Shift = snap 15 องศา)
- เสร้จแล้ว Enter , ยกเลิก กด ESC
----------------------------------------------------------
ปัญหา : ย่อภาพแล้ว ขยายกลับ ภาพจะเบลอ
แก้ไข : ใช้ Smart Object
วิธี : คลิกขวาที่ชื่อ Layer > Convert to Smart obj
ข้อดี : ภาพเก็บที่อื่น ย่อแล้ว ขยายได้
ข้อเสีย : ภาพเก็บที่อื่น แก้ไขตรงๆ ไม่ได้
- แก้ไขภาพ ต้องดับเบิ้ลคลิ๊กภาพใน Layer โปรแกรมจะเปิดภาพ .psb ให้แก้ไขแล้ว save ได้
- ยกเลิก : คลิ๊กขวาที่ชื่อ Layer > Rasterize Layer
--------------------------------------------------------
copy layer : ใช้ move tool + กด alt ค้าง แล้วย้ายภาพ
---------------------------------------------------------
Selection กำหนดพื้นที่แก้ไข
สร้าง : ใช้เครื่องมือ Marquee tool (4เหลี่ยม,วงกลม)
ใช้เครื่องมือ Lasso tool (ทรงอิสระ)
- Polygon Lasso tool (ทรงหลายเหลี่ยม)
*backspace ย้อนกลับที่ละจุด
Option ด้านบน
new (ปกติ) : สร้างพื้นทีใหม่ , ย้าย Selection เดิมได้
add (Shift) : เพิ่มพื้นที่
subtract (Alt) : ลบพื้นที่
Free Transform เพิ่มเติม
คลิ๊กขวา ขณะ Free Transform อยู่
- Skew ดึงมุมภาพ ในระนาบเดิม
- Distort ดึงมุมภาพ อิสระ
- Perspective ดึง 2 ข้าง พร้อมกัน
- Warp ดัดแบบตาข่าย
L ปรับรูปทรงที่ Option bar
L ปรับค่า Bend โดยลากที่จุดตรงตาข่ายได้เลย
----------------------------------------------------------
เมนู File > Save for web
เซฟสำหรับงานทั่วไป digital
GIF
- 256 สี
- พื้นโปร่งใส (ไม่สวย)
JPG
- 16 ล้านสี
- พื้นทึบ
- กำหนด quality ได้
PNG 24
- 16 ล้านสี
- พื้นโปร่งใส่ (สวย)
-----------------------------------------------------
Blend mode ลูกเล่นสีระหว่าง Layer
วิธี : เลือก Layer ที่ต้องการ แล้วเปลี่ยน Normal
Normal : ปกติ ไม่มีลูกเล่นสี
Multiply : ลบสีขาว (ใช้กับภาพสี = สีโปร่งใสได้)
Screen : ลบสีดำ
Overlay : ลบสีเทา
Color : ย้อมสีภาพ
Hue : เปลี่ยนส่วนที่เป็นเนื้อสีภาพ แนะนำสีแดง
----------------------------------------------------------
เพิ่ม :
ปรับสีภาพ เมนู Image
Invert "ctrl+i" = กลับสีตรงข้าม เช่น ขาว<->ดำ
----------------------------------------------------------
Brush การใช้หัวแปรง
- ปรับขนาด กด [,บ = ย่อ ],ล = ขยาย
- ปุ่ม Option สามารถ reset,load,save ได้
----------------------------------------------------------
Gradient ไล่เฉดสี
ลงสี : ใช้ Gradient tool คลิ๊ก+ลาก ที่ภาพ
เลือกสี : ที่ Option bar + เลือกรูปแบบได้ด้วย
แบบ reset นิยมใช้ 3 ตัวแรก
1. FG / BG ไล่สี ระหว่าง FG ไป BG , ไล่เฉด 2 สี
2. FG to Transparent ไล่สี FG ไปโปร่งใส
3. ดำ ไป ขาว
แก้ไขสี
วิธี : คลิ๊กแถบสี ที่ Option bar เปิด Gradient editor
ปรับเม็ดสีด้านล่าง
- ลากย้ายได้
- เปลี่ยนสี ดับเบิ้ลคลิ๊ก
- เพิ่มสี คลิ๊กที่ว่างระหว่างเม็ดสี
- ลบสี คลิ๊กเม็ดสี + ลากลง
- ปุ่ม New จัดเก็บสีไว้ได้
----------------------------------------------------------
Layer Mask : การซ่อน/แสดงภาพใน Layer
ข้อดี : สามารถแก้ไขภาพได้ตลอดเวลา
step 1 : รวมภาพแยกเป็น Layer
step 2 : เลือก Layer บน แล้วคลิ๊กปุ่ม
" Add Layer Mask " จะมีภาพสีขาวเพิ่มใน Layer
step 3 : ใช้ Brush ระบายสีขาว/ดำ
สีขาว : แสดงภาพ
สีดำ : ซ่อนภาพ
ทวน key : "d" สี defaule ขาว/ดำ "x" สลับสี fg/bg
ยกเลิก
ลากภาพขาว/ดำ ทับ icon ถังขยะ
- Apply : ลบภาพที่ซ่อน
- delet : ยกเลิก
---------------------------------------------------------
Layer Mask เพิ่มเติม
กรณี สร้าง Selection ไว้ แล้วกด Layer mask
โปรแกรมจะลงสี ขาว-ดำ auto
- Select : สีขาว
- ไม่ Select : สีดำ
--------------------------------------------------------
Quick Selection tool
สำหรับสร้าง Select พื้นทีสีใกล้เคียงกัน แบบเร็วๆ
เช่น เสื้อ , ใบหน้า
-----------------------------------------------------------
Workshop : ภาพผู้หญิงใส่หน้ากาก
Workshop : เอาหน้าโดมใส่ iron man
เพิ่มปรับสีภาพ
เมนู Image > Adjustment
- Invert "ctrl+i" ปรับสีตรงข้าม
- Brightness / Contrast ปรับความสว่าง
- Hue/Saturate เปลี่ยนสี/ลดสีภาพ
-------------------------------------------------------
การเกลี่ยภาพต่อกัน
concept ใช้ Gradient ร่วมกับ Layer Mask
step 1: รวมภาพแบบแยก Layer
step 2: คลิ๊กปุ่ม Add Layer Mask
step 3: ลงสี Gradient
- สีดำ->ขาว
- รูปแบบ Linear เส้นตรง
step 4: ขยายพื้นที่ภาพ เมนู Image > Canvas Size
- กำหนดขนาด
- กำหนดตำแหน่งภาพเดิม (ตรงลูกศร)
- กำหนดสี Background
--------------------------------------------------
ย้อมสีภาพด้วย Layer (blend mode : color)
step1 : สร้าง Layer ใหม่ อยู่บนสุด
step2 : ลงสี หรือ Gradient ตามต้องการ
step3 : เปลี่ยน blend model
- normal ปกติ
- Color ย้อมสี
---------------------------------------------------
การต่อภาพ Panorama (ต้องเตรียมภาพมาแล้ว)
step1: เมนู File > Automate > Photomerge
step2: ปุ่ม Browse เลือกไฟล์ภาพ
step3: กด Ok โปรแกรมจะต่อภาพอัตโนมัติ
--------------------------------------------------------
Content aware เติมภาพอัตโนมัติ
step1 : รวมภาพให้เป็น Layer เดียว
1.1 เลือก Layer
1.2 คลิ๊กขวาที่ชื่อ Layer เลือก Merge Layer
step2 : สร้างพื้นที่ Selection ใช้ Magic wand
- ขยายพื้นที่ เมนู Select > Modify > expand
step3 : เมนู Edit > Fill
เลือก User : Content aware
step4 : ยกเลิก Selection "ctrl+d"
-ทบทวนการปรับสี
วิธี 1 : ใช้ Blend mode เป็น Hue
วิธี 2 : ใช้ Adjustment Layer "Hue"
(แก้ไขบางส่วน ใช้ Layer Mask ระบายสีดำ)
การใช้ Refine Edge : di-cut ตัดภาพ
step 1 : เตรียมภาพ (พื้นหลังต้องไม่รกเกินไป)
step 2 : Selection ส่วนที่ต้องการ
ใช้ Quick Selection tool
step 3 : เมนู Select > Refine edge
3.1 View เปลี่ยนการแสดงผล
3.2 Edge Detection : ระบายตามขอบภาพ เช่น ผม
3.3 Adjust Edge : ปรับแต่งขอบ
- Contrast : ทำให้ขอบคมชัดขึ้น
- Shift Edge : เพิ่ม-ลดพื้นที่
3.4 Output
- ปกติ : Selection
- ซ่อนภาพ ให้เลือกเป็น Layer Mask
----------------------------------------------------------
Clone Stamp
copy ภาพแบบระบาย
step 1 : เตรียมภาพ
step 2 : ใช้ Clone Stamp tool
- กด Alt ค้าง + คลิ๊กตำแหน่งต้นแบบ
step 3 : ระบายส่วนที่ต้องการลบ
step 4 : ทำซ้ำๆ ระหว่าง Step 2 และ 3
Healing Brush
- เหมือน Clone Stamp
แต่โปรแกรมเกลี่ยสี อัตโนมัติ
Spot Healing Brush tool
- มีลูกเล่น Content-aware ระบายส่วนที่ต้องการลบได้เลย โปรแกรมเติมภาพ Auto
ปรับสีด้วยการระบาย
Dodge tool ระบายให้ภาพสว่างขึ้น
Burn tool ระบายให้ภาพคล้ำลง
Sponge tool ระบายเพิ่มลดสี
เมนู Filter > Liquefy
ปรับสัดส่วนภาพด้วยการระบาย
1. ดึงภาพ ด้วยการระบาย
2. ย้อนกลับ ด้วยการระบาย
3. ทำให้ภาพเล็กลง
4. ทำให้ใหญ่ บวมขึ้น
-------------------------------------------------------
Layer Styles
ลูกเล่น Layer (ใช้กับ Layer Background ไม่ได้)
- Drop Shadow ปรับเงา
- Glow เรืองแสง
- Stroke ใส่เส้นขอบ
------------------------------------------------------
ภาษาไทย กับ โปรแกรม Adobe
ปัญหาภาษาไทย
1.สระลอย
แก้ไข : ใช้ Font เวอร์ชันใหม่
unicode , opentype
ลิขสิทธ์ : PSL , DB
2. ตัดคำไทย
กรณี พิมพ์ข้อความแล้วขึ้นบรรทัดใหม่อัตโนมัต
อ่านรู้เรื่อง : ตัดคำได้
อ่านไม่รู้เรื่อง : ตัดไม่ได้
Photoshop , Illus : ตัดไม่ได้
InDesign : ตัดได้
3.วรรณยุกต์ผิดตำแหน่ง
วรรณยุกต์จะทับสระ ไม่ลอยขึ้น
- เป็นบ้าง Font
-----------------------------------------------------
การพิมพ์ข้อความ
- ใช้ Type Tool คลิ๊กที่ภาพ แล้วพิมพ์
- โปรแกรมสร้าง Layer ใหม่ อัตโนมัติ
การแก้ไขข้อความ
- ใช้ Type Tool คลิ๊กให้โดนข้อความ
- แก้ไข Character , Paragraph ที่ Option bar
- ถ้าคลิ๊กผิดโปรแกรมจะสร้าง Layer ใหม่
แก้ไขทั่วไป
ต้องอยู่ที่ move tool (v)
- Free Transform "ctrl + T"
- Fill สี "Alt + Del"
- Copy Layer "Alt + move Layer"
-----------------------------------------------------
Action
การบันทึกขั้นตอนการทำงาน เก็บไว้ใช้กับภาพอื่น
ทดลองใช้งาน
1. เมนู Window > Action
2. เลือกรายการ " Wood Frame 50px "
3. เปิดภาพขนาด 100 px ขึ้นไป
4. กดปุ่ม Play ที่หน้าต่าง Action
-------------------------------------------------------------
การสร้าง Action
1. ซ้อม step การทำงาน
2. เปิดภาพ
3. ที่หน้าต่าง Action
3.1 สร้าง New Set (กรณีแยกแฟ้มใหม่)
3.2 สร้าง New Action
- Name
- เลือก Set ที่จัดเก็บ
- กำหนด Key ลัด
- กดปุ่ม Record เริ่มบันทึกทันที
(ไม่พร้อม stop ได้)
4. เริ่มทำงาน (ตัวอย่างที่ทดลองทำ)
- Image Size
- Adjustment > Back&White
- Canvas Size เพิ่มขนาดภาพ (ขอบดำ)
5. ทำเสร็จแล้ว Stop ที่ Action
6. ทดลองใช้กับภาพอื่นๆ
-------------------------------------------------------
โหลด Action จากเน็ต
1. หาและโหลดใน google
2. ส่วนใหญ่จะได้แจกไฟล์ .zip ต้องแตกไฟล์เป็น .atn
3. ถ้าเจอไอคอนสีขาวแถมน้ำเงิน ก็ดับเบิ้ลคลิ๊กใช้ได้เลย
4. เลือกรายการใน Action แล้วใช้งาน
--------------------------------------------
3. การเรียนรู้ Illustrator
Interface
Hand , Zoom
New Doc
Selection tool
สร้าง Shape
แก้ไขสี Fill , Stroke