วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เจาะลึกรัฐบาลในอาเซียนกับโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางธีรนุช ทองชิว
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาค่าตอบแทนและสวัสดิการ
หน่วยงาน :  สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร  :  เจาะลึกรัฐบาลในอาเซียนกับโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย
หน่วยงานผู้จัด  : สำนักสิริพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร
1) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาลในการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และประเทศสมาชิกอาเซียน อันจะช่วยคาดการณ์และวางแผนในการทำการค้าและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ....
2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาครัฐและภาคเอกชนให้สามารถเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ.....
3) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบด้านเศรษฐกิจภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตลอดจนวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : โอกาสทางการค้าการลงทุนของไทยในอาเซียน
2.1 ไทยได้อะไรจาก AEC
1) ลดอุปสรรคทางการค้า ด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสิ้นค้าสำเร็จรูป สินค้าชั้นกลาง และวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทยจะได้เปรียบและส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด
2) การลงทุน ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรกว่า 700 ล้านคน จะทำให้อาเซียนรวมทั้งไทยกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค
3) การเสริมสร้างสถานการณ์แข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับจากการลงทุนจากต่างประเทศ จะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้
ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะทางการแข่งขันการส่งออกของอาเซียน
4) การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
2.2 AEC จุดเปลี่ยนประเทศไทย

2.3 ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ยกตัวอย่าง ดังนี้
1) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในกัมพูชา
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร
- อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
2) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในเมียนมาร์
- อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ
- อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
- อุตสาหกรรมพลังงาน
3) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในเวียดนาม
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า
- อุตสาหกรรมก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้าง
- อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี
4) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในอินโดนีเซีย
- อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
- อุตสาหกรรมที่ก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้าง
- อุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
5) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในฟิลิปินส์
- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
- อุตสาหกรรมกิจการโรงพยาบาล
- อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ
6) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในมาเลเซีย
- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมธุรกิจบริการ
7) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในบรูไน
- อุตสาหกรรมการประมง
2.4 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนของไทย





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น