วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เจาะลึกรัฐบาลในอาเซียนกับโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางธีรนุช ทองชิว
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาค่าตอบแทนและสวัสดิการ
หน่วยงาน :  สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร  :  เจาะลึกรัฐบาลในอาเซียนกับโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย
หน่วยงานผู้จัด  : สำนักสิริพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร
1) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาลในการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และประเทศสมาชิกอาเซียน อันจะช่วยคาดการณ์และวางแผนในการทำการค้าและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ....
2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของภาครัฐและภาคเอกชนให้สามารถเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ.....
3) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบด้านเศรษฐกิจภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตลอดจนวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการไทย
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : โอกาสทางการค้าการลงทุนของไทยในอาเซียน
2.1 ไทยได้อะไรจาก AEC
1) ลดอุปสรรคทางการค้า ด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสิ้นค้าสำเร็จรูป สินค้าชั้นกลาง และวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทยจะได้เปรียบและส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด
2) การลงทุน ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรกว่า 700 ล้านคน จะทำให้อาเซียนรวมทั้งไทยกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค
3) การเสริมสร้างสถานการณ์แข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับจากการลงทุนจากต่างประเทศ จะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้
ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะทางการแข่งขันการส่งออกของอาเซียน
4) การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
2.2 AEC จุดเปลี่ยนประเทศไทย

2.3 ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ยกตัวอย่าง ดังนี้
1) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในกัมพูชา
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร
- อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
- อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
2) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในเมียนมาร์
- อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ
- อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
- อุตสาหกรรมพลังงาน
3) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในเวียดนาม
- อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า
- อุตสาหกรรมก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้าง
- อุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี
4) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในอินโดนีเซีย
- อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์
- อุตสาหกรรมที่ก่อสร้างและผลิตวัสดุก่อสร้าง
- อุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
5) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในฟิลิปินส์
- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
- อุตสาหกรรมกิจการโรงพยาบาล
- อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ
6) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในมาเลเซีย
- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมธุรกิจบริการ
7) ศักยภาพและโอกาสการลงทุนในบรูไน
- อุตสาหกรรมการประมง
2.4 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนของไทย





















การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการเงินของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางวัลนา  ภู่สำลี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักบัญชีชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน :  สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ
ชื่อโครงการ การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการเงินของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์ของโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร 
เพื่อให้ระบบการบริหารการเงินของสถาบันอุดมศึกษามีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง :  การบริหารการเงินของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
1.  ผู้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการเงินของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ประกอบด้วย
         1.1 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                  1.2 นายพูลทรัพย์ ศรีเปล่ง ผู้แทนธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
                  1.3 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
                  1.4 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
                  1.5 รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
2. ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการเงินของหน่วยงาน ดังนี้  
        2.1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีการบริหารจัดการด้านการเงินแบบรวมศูนย์อยู่ที่กองคลังแห่งเดียว โดยเงินงบประมาณจะปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เงินกองทุนบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยจะปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันฯ กรณีการทุจริตเกิดจากบุคลากรภายในสถาบันฯ ร่วมมือกับผู้จัดการธนาคารและบุคคลภายนอก
        2.2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการบริหารจัดการด้านการเงินแบบรวมศูนย์อยู่ที่กองคลังแห่งเดียว โดยใช้เครื่องมือทางการบริหาร ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ รวมทั้งมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด
        2.3 มหาวิทยาลัยมหิดลมีการบริหารจัดการด้านการเงินแบบกระจายอำนาจให้แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยใช้เครื่องมือทางการบริหาร ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ รวมทั้งมีการใช้บริการ Cash Management และ Custodian ในการบริหารจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
        2.4 ผู้แทนธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) นำเสนอการบริหารความเสี่ยงตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission)  เป็นการนำเสนอตามทฤษฎีและหลักการทั่วไป
3. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาขอให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐทบทวนระบบ          การบริหารจัดการด้านการเงินให้มีความเหมาะสมและรัดกุม และให้ความสำคัญในการใช้ผู้ตรวจสอบภายใน    ช่วยตรวจสอบงานด้านการเงิน และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ขอให้เกิดจากภายในของสถาบันอุดมศึกษาไม่ใช่เกิดจากภายนอกที่เป็นหน่วยงานกลางที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง
4. ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐพิจารณาทบทวนและควบคุมบัญชีเงินฝากธนาคารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ว่ามีความเหมาะสมและเกินความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร

สร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกด้านพลังงาน

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางศิริมา  เฟื่องดอกไม้.
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์
หลักสูตรฝึกอบรม  : สร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกด้านพลังงาน
หน่วยงานผู้จัด     :  สำนักงานพลังงานจังหวัดอุตรดิตถ์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
 1) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทิศทางนโยบายและสถานการณ์พลังงานของประเทศ
 2) เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
 3) เพื่อให้บุคลากร องค์กร เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์พลังงาน


การอนุรักษ์พลังงาน คือ ความพยายามเพื่อลดการใช้พลังงานในระบบลง ซึ่งการอนุรักษ์พลังงานที่ดีจะเป็นการวางแผนในด้านการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเพื่อการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพร่วมกับการลดความต้องการใช้พลังงานลง ซึ่งการอนุรักษ์พลังงานนี้จะให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและอ้อม เช่น เพิ่มรายได้ของระบบ เพิ่มคุณภาพของสิ่งแวดล้อม เพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของชาติ
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบสำคัญของการวางแผนนโยบายพลังงานของทุกองค์กร โดยการวางแผนที่ดีจะสามารถลดการใช้พลังงานต่อหน่วยการลงทุน ซึ่งทำให้ความต้องการพลังงานไม่สูงมากเกินเมื่อองค์กรขยายและมีการเติบโต ซึ่งสู่ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่มีเหตุผลและสามารถลดความต้องการอุปกรณ์ใหม่เพื่อมารองรับพลังงานในระบบที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันมี อุปกรณ์สำนักงาน หลายประเภทที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานในสำนักงานต่าง ๆ เช่น…คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องโทรสาร เป็นต้น การทำงานของอุปกรณ์สำนักงานเหล่านี้ เมื่อมีการใช้งานจะมีช่วงเวลาในการอุ่นเครื่อง หรือบางครั้งจะอยู่ในสภาวะรอทำงาน ซึ่งล้วนแต่เป็นช่วงที่สูญเสียพลังงานโยไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ช่วงที่อุปกรณ์เหล่านี้ถูกเปิดใช้งาน จะมีการระบายความร้อนออกสู่ภายนอก ทำให้อุณหภูมิภายในห้องเพิ่มขึ้น หรือเป็นผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้นด้วย ดังนั้น เจ้าของสำนักงานและผู้ใช้อุปกรณ์ในสำนักงาน จึงควรร่วมมือกันใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้กับสำนักงานได้
 การประหยัดไฟฟ้า  พลังงานไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการต่างๆ การผลิตพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ในแต่ละปีประเทศไทยได้สูญเสียเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากในการจัดหาเชื้อ เพลิงและพลังงานมาทำการ ผลิตพลังงานไฟฟ้า แม้ว่าความพยายามในการลดสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศจะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สูงอยู่ ดังนั้นการประหยัดพลังงานจึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกส่วนฝ่ายควรให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นกิจการธุรกิจระดับต่างๆหรือผู้ใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป  สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านอยู่อาศัยนั้น ส่วนใหญ่จะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากการประเมินศักยภาพในการประหยัดไฟฟ้าปรากฏว่าในส่วนของบ้านอยู่อาศัย เป็นส่วนที่มีโอกาสลดค่าใช้จ่าย ในการใช้ไฟฟ้าลงได้อีกมาก เพราะในปัจจุบัน มีการใช้ไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองในครัวเรือนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากขาดความรู้และไม่ทราบถึงวิธีการที่จะประหยัดการใช้
สรุปได้ว่า: พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิตมีผลต่อความเป็นอยู่ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศและทั่วโลก  การประหยัดไฟฟ้าไม่ใช่เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ขอให้มีความตั้งใจจริงบวกกับความอดทนบ้างเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเกิดความเคยชินในการปฏิบัติก็จะเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ ครอบครัวรวมทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอีกด้วย