วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โครงการฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ หลักสูตร เทคนิคการสารอง และกู้คืนข้อมูล

ผู้เล่าเรื่อง : นางเอมอร ยอดหมั่นเพียร
ปัจจุบันดารงตาแหน่ง : นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
หน่วยงาน : สานักงานเลขานุการกรม
หลักสูตรฝึกอบรม : โครงการฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์ หลักสูตร เทคนิคการสารอง และกู้คืนข้อมูล
หน่วยงานผู้จัด : กระทรวงการคลัง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
๑) เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรของกระทรวงการคลังให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๒) บุคลากรของกระทรวงการคลังสามารถนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : เทคนิคการกู้คืนข้อมูล (Data Restoration)
1. ความหมายของข้อมูล (Data)
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนาไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
2. ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจานวนตัวเลข สามารถนาไปคานวณได้ เช่น จานวนเงินเดือน ราคาสินค้า
ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์ เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่
ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่างๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด
ข้อมูลภาพ (Images Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่างๆ เมื่อนามาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น เป็นต้น
ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทาจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
3. ข้อมูลกับความสาคัญของสารสนเทศ
ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบสาคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง เช่น หน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด เคส ฯลฯ
ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคาสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทางาน เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร โปรแกรมบัญชี โปรแกรมท่องเว็บไซต์ ฯลฯ
ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนาไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ
บุคลากร เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ป้อนข้อมูล ผู้พิมพ์งาน ฯลฯ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทางานได้ถูกต้องเป็นระบบ
ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นคาแรกเตอร์ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ จะต้องสามารถนาเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมด้วยอุปกรณ์อินพุตที่ให้คอมพิวเตอร์สามารถดาเนินการ จัดเก็บ หรือนาไปใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้
4. สื่อสาหรับบันทึกข้อมูล
• ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) / SSD
• ฮาร์ดดิสก์แบบเชื่อมต่อภายนอก (External Hard Disk)
• แฟลชไดรว์ (Flash Drive หรือ Thumb Drive)
• แผ่น CD (Compact Disc) / DVD / Blu-Ray Disc
• การ์ดหน่วยความจาต่างๆ เช่น SD Card, Micro SD Card หรือ Compact Flash Card
5. ขั้นตอนการทางานของคอมพิวเตอร์
ข้อมูลทางานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มีทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนหลัก คือ การรับข้อมูลเข้า หรืออินพุต (Input) การดาเนินการ (Process) และการนาข้อมูลออก หรือเอาต์พุต (Output)
6. ความแตกต่างระหว่างการจัดเก็บข้อมูล และการทาสาเนาข้อมูล
• การจัดเก็บข้อมูล (Save) คือ การป้อนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมถึงการบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสารอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดร์ฟ เป็นต้น
• การทาสาเนาข้อมูล (Backup) คือ การคัดลอกข้อมูลจากแฟ้มต้นฉบับและบันทึกไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสารอง เช่น ซีดีรอม เพื่อใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย ซึ่งอาจทาให้มีข้อมูลสูญหายไปได้
7. ข้อควรรู้เมื่อจะต้องกู้คืนข้อมูล
• ห้ามทาอะไรกับอุปกรณ์ที่ต้องการกู้ข้อมูล เมื่อรู้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ เกิดความเสียหายขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายลุกลามในวงกว้าง
• ควรตรวจสอบประเภทของไฟล์ที่ต้องการกู้คืนข้อมูลให้แน่ใจ เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการกู้ข้อมูล เช่น ไฟล์รูปภาพ (jpg/bmp), ไฟล์เอกสาร (doc/xls/ppt/pdf), ไฟล์เพลง (mp3) เป็นต้น
• ควรตรวจสอบตาแหน่งที่จัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลสาคัญต่างๆ ก่อนที่เกิดปัญหาขึ้น เช่น ไดรว์ C:, ไดรว์ D:, ฮาร์ดดิสก์ลูกไหน หรือแฟลชไดรว์ตัวใด
8. เตรียมตัวกู้คืนข้อมูลต่างๆ
• โปรแกรมที่ต้องการใช้กู้คืนข้อมูลต่างๆ เช่น Easy Recovery Pro, Recover My Files หรือ Recuva เป็นต้น
• เตรียมอุปกรณ์สาหรับรองรับการกู้คืนข้อมูลให้พร้อม เช่น แฟลชไดรว์ ฮาร์ดดิสก์แบบเชื่อมต่อภายนอก หรือแผ่น CD/DVD
• เผื่อเวลาในการกู้คืนข้อมูล ซึ่งความเร็วในการกู้ข้อมูล ขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ ขนาดพื้นที่เป้าหมาย และความเสียหายของข้อมูล
9. สิ่งที่ควรทาหลังกู้คืนข้อมูลเสร็จสิ้น
• ตรวจสอบความเสียหายจากไฟล์หรือข้อมูลเป้าหมายต่างๆ ว่าสามารถเปิดใช้งานได้หรือไม่ หรือมีการแสดงผลข้อมูลได้ครบถ้วนหรือไม่
• ย้ายข้อมูลที่กู้คืนได้ ไปจัดเก็บในแหล่งที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลจากความเสียหายทางฮาร์ดแวร์
• แบ็คอัพข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ด้วยโปรแกรมหรือเทคนิคต่างๆ เช่น ใช้โปรแกรม Windows Backup and Restore หรือ Acronis True Image
10. ความแตกต่างระหว่างการทาไฟล์อิมเมจ และการโคลนฮาร์ดดิสก์
ไฟล์อิมเมจ
• เหมาะสาหรับอุปกรณ์เครื่องเดียว ใช้เป็นการส่วนตัว
• รองรับการแบ็คอัพข้อมูลเพิ่มเติมได้เรื่อยๆ
• สามารถบีบอัดข้อมูลต่างๆ ให้เหมาะกับอุปกรณ์ในการแบ็คอัพได้
• ช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที
โคลนฮาร์ดดิสก์
• เหมาะสาหรับการติดตั้งบนอุปกรณ์หลายๆ ชิ้น เช่น ติดตั้ง Windows ให้คอมพิวเตอร์ 10 เครื่องขึ้นไป
• ไม่เหมาะกับการเพิ่มข้อมูลใดๆ หลังทาการโคลนฮาร์ดดิสก์เรียบร้อยแล้ว
• ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดเท่ากับฮาร์ดดิสก์ต้นฉบับ

อบรมให้ความรู้ เรื่องวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ผู้เล่าเรื่อง  :  นายอนุพงค์  บุญเจือ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังจังหวัดชัยนาท
หลักสูตรฝึกอบรม  :  อบรมให้ความรู้ เรื่องวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักงานจังหวัดชัยนาท
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
1)  เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวินัยข้าราชการพลเรือน และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ไม่ฝ่าฝืน
2)  เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาให้ข้าราชการมีวินัยและป้องกันมิให้ข้าราชการกระทำผิดวินัยข้าราชการและความรับผิดทางละเมิด
3)  เพื่อเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

สำหรับการอบรมช่วงเช้าเป็นวิชาวินัยข้าราชการพลเรือน โดยวิทยากรจาก สำนักงาน ก.พ. เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 สรุปใจความสำคัญได้ว่า วินัยข้าราชการพลเรือนสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 หมวดที่สำคัญ คือ
1. หมวดวินัยต่อตนเอง คือ ข้าราชการจำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงของตนเอง รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่มิให้เสื่อมเสีย (ม.82(10) ห้ามประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ม.85(4) แนวทางการพิจารณาเรื่องประพฤติชั่ว ข้าราชการห้ามกระทำการใดที่ทำให้เสียเกียรติของตำแหน่งหน้าที่การงาน ทำให้สังคมรังเกียจ กระทำการโดยเจตนา สำหรับกรณีประพฤติชั่วเรื่องการดื่มสุรา มติครม.ได้กำหนดไว้ว่า ข้าราชดื่มสุราในขณะปฏิบัติงาน เมาสุราจนเสียงานราชการ และเมาสุราในที่สาธารณะทำให้เสียเกียรติ ถ้ากระทำการข้อใดข้อหนึ่งผิดวินัยร้ายแรงต้องปลดออกเท่านั้น
2. หมวดวินัยต่อเพื่อนร่วมงาน คือ ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ (ม.82(7) ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ (ม.83(7) ต้องไม่กระทำการล่วงละเมิด คุกคามทางเพศตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. (ม.83(8)
3. หมวดวินัยต่อประชาชน คือ ให้การต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม ให้การสงเคราะห์ ต่อประชาชนผู้ติดต่อราชการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของตน (ม.83(9) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้ติดต่อราชการ (ม.85(5)
4. หมวดวินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คือ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยสุจริตเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
5. หมวดต่อประเทศชาติ คือ ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการ หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ หากข้าราชการคนใดละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการส่งผลให้ทางราชการเกิดความเสียหายร้ายแรง ข้าราชการผู้นั้นมีความผิดร้ายแรงต้องไล่ออกเท่านั้น
6. หมวดวินัยต่อผู้บังคับบัญชา คือ ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่รายงานเท็จ ไม่กระทำข้ามผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา (ม.82(4) กำหนดไว้ว่าต้องมีคำสั่งผู้บังคับบัญชา เป็นผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย สั่งในหน้าที่ราชการ และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับโทษทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนที่ทำผิดวินัย มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1. โทษสำหรับความผิดอย่างไม่ร้ายแรง ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษสำหรับความผิดอย่างร้ายแรง ได้แก่ ปลดออก และ ไล่ออก
สำหรับการอบรมช่วงบ่ายจะเป็นวิชาเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐโดยวิทยากรจากกรมบัญชีกลาง คุณรวิภา ด้วงแดงโชติ ขอบเขตของเนื้อได้แก่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 คำนิยามที่สำคัญ ความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
นิยามที่สำคัญ ของพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 มาตรา 4
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่น
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบความเสียหายในผลแห่งความละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การปฏิบัติในหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชอบโดยตรง
มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานรัฐ ถ้าหน่วยงานรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบหรือรับผิดชอบร่วม หรือคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานภาครัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ให้หน่วยงานรัฐมีสิทธิสามารถเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทะละเมิดชดใช้ค่าสินไหนทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำการไปโดยการจงใจ ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง
มาตรา 9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะให้อีกฝ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐที่ผู้นั้นอาศัยอยู่หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาอนุโลมบังคับใช้
มาตรา 11 ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบตามมาตรา 5 ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรับมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็มีสิทธิ์ให้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
มาตรา 12 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือกรรีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายในเวลากำหนด
มาตรา 13 ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้ระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย
มาตรา 14 เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา 11 ให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

นักการคลังมืออาชีพ (นคอ) รุ่นที่ 4

ผู้เล่าเรื่อง : นายภุชงค์ เศรษฐยานนท์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดนครปฐม
หลักสูตรฝึกอบรม : นักการคลังมืออาชีพ (นคอ) รุ่นที่ 4
หน่วยงานผู้จัด : กระทรวงการคลัง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร/โครงการฝึกอบรม
1) เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจการคลังภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และพลวัตของภูมิภาค
2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ
3) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างผู้บริหารระดับกลางภายในกระทรวงการคลัง อันจะนำไปสู่ความร่วมมือและดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ : เรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่
ผู้นำ คือ
1.ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของผู้อื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2.ผู้ที่จูงใจโน้มน้าวให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ
3.ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามระบบ

ภาวะผู้นำ คือ ศักยภาพในการส่งพลังขับเคลื่อนไปยังกลุ่มคนและระบบองค์กรให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้
คุณลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ 
1.คุณลักษณะทั่วไป (General personality traits)
1.1มีความมั่นใจในตนเองสูง (Self confident)
1.2รู้สึกไว้วางใจ (Trustworthiness)
1.3มีลักษณะเด่นที่เอื้อ (Dominance)
1.4ผู้นำต้องเปิดตัว เข้าสังคม ปรากฏตัวในที่สาธารณะ (Extraversion)
1.5ยืนหยัด มุ่งมั่น ทำสิ่งที่ถูกต้อง (Assertiveness)
1.6เสถียรภาพทางอารมณ์ (Emotion stability) ควบคุมอารมณ์ได้-นิ่ง
1.7ความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
1.8มีอารมณ์ขัน (Sense of humor)
1.9บุคลิกมีความอบอุ่น (Warmth) เป็นที่พึ่งได้
1.10 ทนต่อแรงกดดันสูง (High tolerance)
1.11 ตระหนักรู้ด้วยตัวเอง เตือนตัวเอง (Self awareness)
2.บุคลิกเอาไปใช้ (Task-related personality traits)
2.1เป็นคนคิดใหม่ (Initiative)
2.2มีเซ้นส์มีความรู้สึกที่ไว (Sensitivity)
2.3มีความยืดหยุ่นสูง (Flexibility)
2.4สภาวะการควบคุมตนเอง (Internal licus Of control) มีอำนาจบางอย่างของตนเองที่ต้อง ควบคุมให้ได้ การก้ำกึ่งของผลประโยชน์ได้เสียของตนเอง
2.5ต้องมีความกล้าหาญที่จะปฏิเสธ (Courage) ที่จะเปลี่ยนแปลง ที่จะยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2.6การฟื้นตัวเร็ว (Resiliency) เสียใจได้แต่กลับตัวเร็ว ผิดพลาดแล้วกลับมาตั้งหลักใหม่ได้

สุดยอดผู้นำ (Super-Leadership)
หน้าที่ของผู้นำ คือ พัฒนาให้มีผู้นำมากขึ้น ไม่ใช่ให้มีผู้ตามมากขึ้น “The function of leadership is to produce more leaders, not more followers” (Ralph Nader)

ระดับของการพัฒนาคนไปสู่ภาวะผู้นำ มี ๓ ระดับ
ระดับ 1  Encouraging to play a more active role in work  ดึงดูดใจ กระตุ้นให้เข้ามามีส่วนร่วม มีบทบาทมากขึ้น มีความกระตือรือร้น ใช้ทฤษฎี (needs) ของมาสโลว์
ระดับ 2  Involving taking responsibility for improving มีส่วนร่วมมากขึ้น คือเข้ามาทำงานอย่างเต็มใจ มีความรับผิดชอบที่จะปรับปรุงตัวเอง ให้งานที่ยากขึ้น ทำให้เก่งขึ้น
ระดับ 3 Enabling to make more and bigger พัฒนาสูงสุด บอกเป้าหมาย (เป็นวิธีการมอบความไว้วางใจ) ทำให้ไว้ใจได้ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงาน

การพัฒนาภาวะผู้นำในตน
ลักษณะสำคัญขั้นพื้นฐาน (Primary human endowments)
1.พร้อมรุกเสมอ (Be proactive) คาดการณ์ว่าอะไรจะเกิด
2.มองไปที่จุดหมาย (Begin with the end in mind) มีเป้าหมายในใจ จะทำอะไรเพื่ออะไร
3.รู้ว่าอะไรมาก่อนอะไรมาหลัง (Put first things first) จัดลำดับความสำคัญ บริหารเวลา อะไรเป็นเรื่องสำคัญต้องทำ จัด Priority
ลักษณะสำคัญขั้นมัธยฐาน (Secondary endowments)
1.คิดแบบชนะด้วยกัน (Think Win/Win) สร้างการมีส่วนร่วม องค์กรไม่เสียหายได้ประโยชน์
2.เข้าใจในคนอื่นก่อนแล้วจึงทำให้คนอื่นเข้าใจในตน (Seek first to understand, then to be understand)
3.สามารถรวมพลังให้เกิดการสร้างสรรค์ได้ (Synergize is the endowment of creativity) สร้างทีมเครือข่ายความเชื่อมโยง
4.การหมั่นฝึกฝนไม่หยุดนิ่ง (Sharpen the Saw is the unigue endowment of continuous improvment or self-renewal) ขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนตัวเอง (ลับมีดให้คมตลอดเวลา)

“ผู้นำยุคใหม่”
    ตำแหน่งไม่สำคัญอะไร อย่ามัวแต่หวงตำแหน่งเพื่อที่จะเป็น Leadership แต่ดูคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่เราทำ

“ Great leaders don’t tell you what
   to do……………they show you how it’s done. ”