นางนพรัตน์ พรหมนารท
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนา
ระบบงานตรวจสอบภายใน
นางสาวกชพร รักอยู่
นักบัญชีชำนาญการพิเศษ
นางสาวน้ำเพชร วงษ์ประทีป
นักบัญชีชำนาญการ
นางสาวปภาสินี คลอวุฒิเสถียร
นักบัญชีปฏิบัติการ
หน่วยงาน : กองตรวจสอบภาครัฐ
หลักสูตรฝึกอบรม : การสัมมนา Digital Government Transformation in Action
หน่วยงานผู้จัด : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ความรู้ที่แบ่งปัน
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ " Digital Government Transformation in Action "
โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การผลักดันภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลตามวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยแผนพัฒนาในประเทศไทยระยะ 3 ปี (ปี 2559 – 2561) แบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 18 มาตรการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล
มาตรการที่ 1 การบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลาง เพื่อบรูณาการข้อมูลประชาชนและ นิติบุคคลจากหลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นภาพเดียว อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ของงานบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยใช้เลข 13 หลัก รวมทั้งมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบุคคล
มาตรการที่ 2 การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิโดยใช้ Smart Card หรือ ผ่านบัญชีผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์กลาง สำหรับทำธุรกรรมภาครัฐทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน
มาตรการที่ 3 การให้ทุกข้อมูลงานบริการผ่านจุดเดียวโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนในการให้บริการภาครัฐ และการให้ข้อมูลรายบุคคลแก่ประชาชน เช่น ข้อมูลบุคคล และสิทธิสวัสดิการสังคมที่พึงได้รับ
มาตรการที่ 4 การแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการเข้าถึงความต้องการในเชิงรุก เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและการใช้งานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111 ให้เป็นระบบกลางที่สามารถเชื่อมโยง เรื่องร้องเรียนทุกประเภทของทุกหน่วยงานได้
มาตรการที่ 5 โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานกลางด้าน ICT ของภาครัฐเพื่อรองรับบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล
มาตรการที่ 6 ยกระดับศักยภาพบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้บุคลากรภาครัฐได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถตามมาตรฐานและตรงตามความต้องการในยุคดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
มาตรการที่ 7 การให้บริการความช่วยเหลือแบบบรูณาการในเชิงรุก เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
มาตรการที่ 8 การบรูณาการตลาดแรงงานแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน อันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคธุรกิจ
มาตรการที่ 9 การเกษตรแบบครบวงจรรายบุคคลผ่านการบูรณาการ โดยครอบคลุมการวางแผน การรวบรวมปัจจัยการผลิต การปลูกและดูแลรักษา การรับมือภัยธรรมชาติ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวและ การขายผลผลิต
มาตรการที่ 10 การบรูณาการด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการค้นหาข้อมูล วางแผนและจัดซื้อสินค้า และบริการเพื่อการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์
มาตรการที่ 11 การบรูณาการงานบริการด้านการลงทุนข้ามหน่วยงาน เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ โดยครอบคลุม การจดทะเบียนธุรกิจ การขอรับสิทธิ ประโยชน์ด้านการลงทุน และการขอใบอนุญาตอื่น ๆ
มาตรการที่ 12 การบรูณาการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจรกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ณ จุดเดียว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยลดความซ้ำซ้อนในการป้อนข้อมูลและส่งเอกสาร
มาตรการที่ 13 การส่งเสริม SME แบบบูรณาการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเติบโต เป็นระบบที่บรูณาการเพื่อให้ข้อมูล ความรู้ และคำปรึกษา เพื่อประกอบธุรกิจแก่ SME แบบครบวงจร ณ จุดเดียว และภาครัฐสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบการใช้ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการที่ 14 ระบบภาษีบรูณาการข้ามหน่วยงานแบบครบวงจร เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคธุรกิจในการยื่นแบบและชำระภาษีแก่ภาครัฐ โดยครอบคลุมการลงทะเบียนผู้เสียภาษี การยื่นแบบภาษี การชำระ/ขอคืนภาษี และการตรวจสอบภาษี
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชน
มาตรการที่ 15 การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก โดยบรูณาการข้อมูลจากกล้องวงจรปิด เพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการผ่านระบบศูนย์บัญชาการ และใช้ระบบดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินงานของการสืบสวนและดำเนินคดี
มาตรการที่ 16 การประเมินความเสี่ยงผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้าและพิสูจน์ตัวตนผ่านช่องทางอัตโนมัติ เพื่อขยายผลระบบพิสูจน์ตัวตนด้วยลายนิ้วมือให้ครอบคลุมทุกด่าน สามารถรองรับพลเมืองและชาวต่างชาติที่มีการลงทะเบียนล่วงหน้า รวมถึงให้มีการประเมินความเสี่ยงของผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้า
มาตรการที่ 17 การบรูณาการข้อมูลเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงของ การเกิดภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบของการเกิดภัยธรรมชาติ รวมถึง
การเตรียมความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรับมือ โดยบรูณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลประชากรและภูมิศาสตร์ ข้อมูลน้ำ หรือข้อมูลดิบจากเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการติดตามและบริหารจัดการภัยธรรมชาติ
มาตรการที่ 18 การบรูณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต โดยครอบคลุมการแจ้งเตือน การค้นหาและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภายหลังการเกิดภัยพิบัติ เช่น ข้อมูลภูมิศาสตร์ ข้อมูลสถานพยาบาล ข้อมูลที่ตั้งหน่วยกู้ภัยเป็นการให้บริการสำหรับประชาชนผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทางเว็บไซต์ โดยศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน โดยการบริการแบบออนไลน์ประมาณกว่า 800 รายการ ได้แก่
1.ในการเป็นศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ ผ่านเว็บไซต์ biz.govchannel.go.th ของ การเริ่มต้นธุรกิจ โดยลดการยื่นเอกสารซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้จาก จุดเดียว (One Stop Service) ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยระบบจะใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก เป็นชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับล็อกอิน และส่งรหัสผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือ หรืออีเมลที่ผู้ประกอบการแจ้งต่อนายทะเบียน
2.ศูนย์รวมข้อมูล เพื่อติดต่อราชการ โดยผ่านเว็บไซต์ info.go.th และ แอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
3.ระบบสื่อสารออนไลน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ (Government Secure Chart) เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความลับทางราชการ รองรับการใช้งาน Mobile Device, เครื่องคอมพิวเตอร์ และผ่าน Web-based โดยดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ gchat.apps.go.th
4.ข้อมูล และบริการภาครัฐ เพื่อประชาชน โดยแอปพลิเคชัน แจ้งข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐ กับ
G-News
ในปัจจุบันมีตู้ในการให้บริการ 11 จุด ที่เป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร และในปี 2560 จะขยายผลทั่วประเทศประมาณ กว่า 100 ตู้ และอยู่ในบริเวณชุมชนหนาแน่นของแต่ละพื้นที่
การเสวนา : การดำเนินงานของส่วนราชการภายใต้พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกตามนโยบายรัฐบาลผ่านศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน (GovChannel)
-Government Smart Kiosk : ความร่วมมือและประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ
-เว็บไซต์ info.go.th และแอปพลิเคชัน “คู่มือประชาชน”
ผู้ร่วมเสวนา
นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
บ. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร
ผอ.อาวุโส ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
ธนาคารไทยพาณิชย์
นายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์
นายแพทย์ปฏิบัติการ
กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
โรงพยาบาลราชวิถี
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล
ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สนง.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
(องค์กรมหาชน)
การเสวนา : ภาครัฐกับการบรูณาการเพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในการเริ่มต้นธุรกิจ (Doing Business Platform) ตั้งแต่เวลา 13.00 – 14.30 น.
ผู้ร่วมเสวนา
นางสาวปาจรีย์ ซาลิมี ผู้ช่วยผู้ว่าการ (เทคโนโลยีสารสนเทศ) การประปานครหลวง
นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายบุญสม โมจนกุล ผู้อำนวยการกองทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นางสาวอัญชลี นาคนิศร ผู้ช่วยผู้อำนวยการการฝ่ายพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศการไฟฟ้านครหลวง
ดร.อาศิส อัญญะโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและจัดการแอปพลิเคชัน สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน)
การประปานครหลวง : มีฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำเก็บอยู่ในระบบ โดยมีบริการฝากมิเตอร์น้ำ ซึ่งในการเก็บค่าบริการ หากชำระเกินเวลาที่กำหนด จะเสียค่าปรับ สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำร้อง จะลดระยะเวลาเดินทางในการติดต่อต้องการใช้น้ำ โดยผ่านเว็บไซต์ใน 24 ชั่วโมง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ : มีการผลักดันโดยให้รางวัลแก่หน่วยงานที่ให้บริการจุดเดียว แต่ได้รับบริการที่หลากหลาย จากพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เป็นการเปิดบริการแบบออนไลน์ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา 12 ปี แบบดิจิทัลที่มีการเชื่อมโยง ซึ่งในการดำเนินการเพื่อยกระดับการอำนวยความสะดวกในการบริการ ได้มีการศึกษาดูงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยมี Agency ใหญ่ในการรับเรื่อง เป็นตัว Gateway แบบช่องทางเดียวในการให้บริการเพื่อความสะดวก โดยในระยะที่ 1 มีการดำเนินการเชื่อมโยงในเรื่องธุรกิจการค้า โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (การจดทะเบียนการค้า) กรมสรรพากร (ด้านภาษี) กระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) จะใช้ข้อมูลโดยทำการเชื่อมโยงระหว่างกัน และเป็นการให้บริการประชาชน สำหรับในระยะที่ 2 มีการขยายผลในด้านการก่อสร้าง (ประปา ไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจส่งออก)
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : ได้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดระยะเวลา และขั้นตอนในการให้บริการ
การไฟฟ้านครหลวง : ลดจำนวนเอกสารเน้นการเข้าใช้บริการผ่านระบบ การทำธุรกรรมผ่าน Website รวมถึงการชำระค่าบริการ
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : ได้ร่วมดำเนินการกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน ซึ่งให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และกระทรวงแรงงาน (ประกันสังคม) สำหรับด้านสาธารณูปโภค คือ ประปา ไฟฟ้า ซึ่งดำเนินการเชื่อมโยงแล้ว และสำหรับด้านโทรคมนาคม (โทรศัพท์) กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ