วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง” ประจำปี พ.ศ. 2559

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางนวลอนงค์   พงศ์นภารักษ์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้  :  0 5541 1223  ต่อ 306

ส่วนที่ 1 : การรายงานผล
ชื่อโครงการสัมมนา  :  หลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง” ประจำปี พ.ศ. 2559
หน่วยงานผู้จัด  :  มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
วัตถุประสงค์ของโครงการสัมมนา  :
1) เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะด้านการบริหารที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนแนวคิดและประสบการณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
2) กระตุ้นให้มีการปรับตัว สามารถรองรับภารกิจการพัฒนาการปฏิบัติราชการทั้งในปัจจุบัน                 และอนาคต ให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม
3) เพื่อให้นักบริหารระดับกลางมีความรู้ ความเข้าใจแนวนโยบายแห่งรัฐ มีความคิดริเริ่ม มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการวางแผน การค้นคว้าวิจัย การบริหาร สามารถเสนอความคิดเห็นและแก้ปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เพื่อพัฒนาทัศนคติค่านิยมและพฤติกรรมการบริหาร โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม และ              มุ่งผลสัมฤทธิ์ถึงประชาชน
5) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างกัน ตลอดจนได้มีโอกาสและเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
ต่อตนเอง  ได้แก่ สามารถนำประสบการณ์ด้านการบริหารและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรต่อไป
ต่อหน่วยงาน ได้แก่
       1) เกิดความสามัคคี มีความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถประสานประโยชน์ในการปฏิบัติงานภายในกระทรวงการคลังให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
       2) มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์จากการฝึกอบรมในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
แนวทางในการนำความรู้ / ทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน  มีดังนี้
       1)  เทคนิคการทำงานเป็นทีม ซึ่งก่อให้เกิดความรักความสามัคคีและความร่วมมือในหน่วยงาน ส่งผลให้การปฏิบัติงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  
       2)  ภาวะผู้นำ  ทำให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ  มีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ  ส่งผลให้การแก้ปัญหาและตัดสินใจในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงาน
ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการนำความรู้  และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
                              -ไม่มี-
ความต้องการการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เพื่อส่งเสริมให้สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผล คือ    
ส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางและวิธีการในการสร้างความสามัคคีให้กับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อสร้างความผาสุกในการทำงาน รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาอุปสรรค           ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นองค์กรแห่งความสุข
ส่วนที่ 2 : การแบ่งปันความรู้
        การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  (Good Governance GG ) เป็นพระราชกฤษฎีกาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ปรกอบด้วยหลักสำคัญ 6 ประการคือ (1)หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ และ (6) หลักความคุ้มค่า
        การบริหารงานแบบมุ่งผลสำฤทธิ์   โดยที่ผลสัมฤทธิ์ (result)  ประกอบด้วยผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) โดยที่ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการแนวใหม่ ได้มีการนำเครื่องมือ  KPI มาใช้ในการวัดผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและถูกบรรจุเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการ
        สมรรถนะ (Competency)   เป็นองค์ประกอบรวมของบุคคลที่ถูกนำมาใช้ในการผลักดันเพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงาน  และเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีสมรรถนะที่สูงขึ้น  มุ่งพัฒนาสมรรถนะให้ครอบคลุม 3 ประเภท คือ (1) สมรรถนะหลัก (Core Competency) (2) สมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) และ (3) สมรรถนะตามหน้าที่ (Functional Competency)
        การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ข้าราชการได้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันในองค์กร ในการจัดการความรู้ในองค์กร ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือ การบ่งชี้ความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นของข้าราชการในส่วนราชการนั้นๆ
        ความเสี่ยงและการควบคุมภายใน  เพื่อให้การบริหารราชการของไทยเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ ก.พ.ร. ได้นำแนวคิดของการบริหารความเสี่ยง (Resk Management)    มาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ มุ่งหาทางให้ความเสี่ยงขององค์กรอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความโปร่งใสได้มีการนำเรื่องการควบคุม
ภายใน (Internal Audit) มาใช้ โดยให้ความสำคัญต่อ 4 องค์ประกอบ ได้แก่  (1  สภาพแวดล้อมของการควบคุม  (2) กิจกรรมการควบคุม  (3) สารสนเทศและการสื่อสาร (4) การประเมินความเสี่ยง
        การพัฒนาคุณภาพของการบริหารการจัดการภาครัฐ (PMQA) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารราชการของไทยมีระบบการบริหารที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีการกำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ จำแนกออกเป็น 7 หมวด    ได้แก่ (1) การนำองค์กร (2) การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ (3) การให้บริการและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (4) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (5) การบริหารทรัพยากรบุคคล (6) การจัดการกระบวนการ (7) ผลการปฏิบัติงาน
        การบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่  การพัฒนาองค์กรสมัยใหม่มุ่งไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้(Learning  Organization) และเป็นที่ที่ซึ่งคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง จะมีคุณลักษณะสำคัญ 5ประการ คือ (1) เป็นผู้รอบรู้และใฝ่รู้ (Personal Mastery (2) มีแบบแผนทางความคิด (Mental Model) (3) มีวิสัยทัศน์ร่วม                                  
(Shared  Vision) (4) มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Term  Learning) และ (5) มีความคิดเชิงระบบ      (System Thinking)
        กฎหมายปกครองกับการบริหารงานภาครัฐ  ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ให้ความหมายของคำว่า “คำสั่งทางปกครอง” ว่า หมายถึง (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น (2) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
        นโยบายของกระทรวงการคลังด้านรายได้  ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อรายได้รัฐบาลมี 4 เรื่องใหญ่คือ (1) การกระจายอำนาจทางการคลัง (2) การลดลงของรายได้ภาษีศุลกากร (3) การก้าวเข้าสู่รัฐสวัสดิการ (4)การใช้นโยบายภาษีสนับสนุนด้านต่างๆๆ ส่วนแนวนโยบายการคลังในระยะยาว จะให้ความสำคัญ ใน 3ประเด็นสำคัญ คือ
(1) การสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (2)การสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (3) การสร้างความเท่าเทียมในการกระจายรายได้
        ระบบงบประมาณของไทย เป็นระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยมีความเชื่อมโยงจากระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับส่วนราชการ

โครงการสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่) หลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดี รุ่นที่ 1/2559

ผู้เล่าเรื่อง  :   นางสาวบัวสอน   บัวลา              
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  สำนักงานคลังจังหวัดอำนาจเจริญ      
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้  :  045-523154        


ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร  :
โครงการสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ (ข้าราชการบรรจุใหม่) หลักสูตร การเป็นข้าราชการที่ดี รุ่นที่ 1/2559                                        .
หน่วยงานผู้จัด  :  สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง                                                                            
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : ข้อคิดที่ได้จากการฟังการบรรยายของท่านวิทยากร เรื่องการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท    
ท่านวิทยากรที่ได้มาบรรยายในหัวข้อการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท คือท่านอาจารย์วุฒิชัย บุญครอง (ครูอ๊อฟ) ซึ่งการถ่ายทอดของท่านวิทยากรจะเป็นไปด้วยความสนุกสนานแต่ก็แฝงไปด้วยแนวคิดที่ควรนำมาใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อตัวของข้าพเจ้าเองและต่อองค์กรที่ข้าพเจ้าทำงานด้วย ซึ่งเรื่องที่ท่านวิทยากรได้ถ่ายทอดให้ฟังจะแบ่งเป็นสองเรื่องใหญ่ๆ ได้แก่
เรื่องที่หนึ่ง เรื่องของการเป็นยอดคน ซึ่งยอดคนก็สามารถแบ่งได้เป็น                                                            
1.1 เมื่อยังเป็นผู้น้อย เราก็ต้องรู้จัก อ่อนน้อม ถ่อมตน                                                              
1.2 เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เราต้องรู้จักการอำนวยความสะดวก และรู้จักการใช้อำนาจแต่ทั้งสองอย่างนี้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ และความกตัญญูจึงจะได้ชื่อว่าเป็นยอดคน            
ความกตัญญู คือการที่เราจะต้องให้เวลากับคนที่เรารักมากที่สุด การใส่ใจและการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้เป็นยอดคนคนหนึ่ง                                                                                                      
ส่วนเรื่องที่สอง ที่ท่านวิทยากรได้แนะนำไว้คือ                                                                                      
มากเรื่อง มากเรื่องในที่นี้ก็คือ การทำตัวให้เป็นที่รัก ได้แก่                                                            
2.1 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ                          
2.2 การรีบประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งสามารถทำได้โดยการเรียนรู้และค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาเพื่อให้เติบโต โดยต้องประกอบไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม
2.3 การเลี้ยงครอบครัวได้ เลี้ยงตนเองได้ คือการเป็นคนดีและคนเก่ง
นอกจากนี้ท่านวิทยากร ยังสอนให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท ซึ่งประกอบไปด้วย
 - ความพอประมาณ ไม่มากไป ไม่น้อยไป พอดี พอเพียง
 - ความมีเหตุผล  จะทำอะไรต้องมีเหตุผลไม่ทำตามความรู้สึกของตัวเองเพียงอย่างเดียว
 - มีภูมิคุ้มกันที่ดี  ซึ่งจะประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ มีความรู้ และ มีคุณธรรม
และสุดท้ายท่านวิทยากรได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจเอาไว้อย่างหนึ่งว่า
 “ทุกๆ การเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการฝืนเสมอ
 ถ้าเมื่อใดที่เราทำอะไรแล้วไม่มีการฝืน
 การเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีทางเกิดขี้นได้เลย
 แต่ถ้าหากมีการฝืนเกิดขึ้นเมื่อไหร่
 เมื่อนั้นย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเสมอ”