วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางสาวมนพร เบญจพร..
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
หน่วยงาน :  กองสวัสดิการรักษาพยาบาล
โทรศัพท์เพื่อการปันความรู้  :  6850



ส่วนที่ ๑ : การรายงานผล
ชื่อโครงการ / ประชุม / สัมมนา / หลักสูตร  : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
หน่วยงานผู้จัด  :  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Independent Evaluation ADB
ส่วนที่ ๒ : การแบ่งปันความรู้
ความรู้ที่แบ่งปันในเรื่อง : บรรยาย เรื่อง “Caught in a Trap? Asia and the Pacific’s Middle-Income Countries at a Crossroads”
กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia and Pacific’s Middle-Income countries) โดยเฉพาะ lower middle-income economies ยังคงเผชิญกับกับดักความยากจนและความท้าทาย  ในด้านต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรและพลังงาน เป็นต้น ซึ่งการจะก้าวผ่านกับดักดังกล่าว จะต้องมีการพัฒนา/ปรับปรุงในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาระบบการศึกษา สร้างบุคลากรที่มีความรู้และทักษะความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น บุคลากรทางสาขาวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีการสร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้น
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบขนส่งสินค้า ระบบขนส่งมวลชน การพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
3. การพัฒนาพลังงานสะอาด พัฒนาการผลิตที่ประหยัดพลังงานและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุนการผลิต/การขนส่ง ลดความสูญเสีย/การขาดแคลนจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. การพัฒนาด้าน Social Protection เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่อ่อนแอ/ด้อยโอกาส เช่น คนยากจน กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. การพัฒนาและเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน โดยพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ ให้เอื้อต่อการลงทุน/ การดำเนินงานของภาคเอกชน ลดอุปสรรคทางการค้าและด้านต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)
6. การพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการลงทุน ด้านระบบการเงิน ด้านพลังงาน ด้านสุขภาพ และด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7. การกระจายอำนาจ/การพัฒนาการปกครองระดับท้องถิ่น การพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้และการบริหารจัดการให้ท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอสำหรับการพัฒนาที่สอดคล้องกับความจำเป็นของท้องถิ่น