วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ความรู้เกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ การรับผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ และการเปิดเผยราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง (มาตรา 103 และมาตรา 103/7)
ผู้เล่าเรื่อง : นางนวลอนงค์ พงศ์นภารักษ์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
หน่วยงาน : สำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อโครงการสัมมนา : ความรู้เกี่ยวกับการขัดกันของผลประโยชน์ การรับผลประโยชน์ของ
เจ้าหน้าที่รัฐ และการเปิดเผยราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้าง (มาตรา 103 และมาตรา 103/7)
วัตถุประสงค์ของโครงการสัมมนา : เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายการปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 103 และมาตรา 103/7
การแบ่งปันความรู้
มาตรา ๑๐๓ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจาก บุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้น จากการเป็น
เจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 103 ของพ.ร.บ. ป.ป.ช. เมื่อ วันที่ 30พฤศจิกายน 2543 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2543
ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาได้ ดังต่อไปนี้
(1) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจาก ญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป
(2) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่าในการรับจาก แต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท
(3) รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป
ข้อ 7 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือมีมูลค่าหรือมูลค่ามากกว่าที่กำหนดไว้ใน ข้อ 5
- เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องรับไว้เพื่อ...รักษาไมตรี มิตรภาพ พรือความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ต้อง...แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น สังกัด โดยทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้วินิจฉัยว่า... มีเหตุผล,ความจำเป็น,ความเหมาะสมและสมควรที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่
วรรค 2 ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา ฯลฯ มีคำสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวก็ให้...
* คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้โดยทันที
กรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้
*ต้องส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็นสิทธิของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรค 2 แล้ว ให้ถือว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นไม่เคยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์
ดังกล่าวเลย
หลักเกณฑ์ ตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับแก่ ผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้ว
ไม่ถึง 2 ปี ด้วย
มาตรา ๑๐๓/๗ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการ
ที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
ในกรณีที่ปรากฏจากการตรวจสอบหรือการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าบุคคลหรือ
นิติบุคคลใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกรณีมีความจําเป็นที่จะต้อง
ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการชําระภาษีเงินได้ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น แล้วแต่ กรณี
ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจประสานงานและสั่งให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับเรื่อง ดังกล่าว
ไปดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้วให้หน่วยงานของรัฐนั้นมีหน้าที่รายงานผลการดําเนินการให้
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควร เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เนื่องจากการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรในการกำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
รับไปปฏิบัติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐนั้นดำเนินการไปตามที่
คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดมาตรการในเรื่องนั้นแล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบก็ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)