วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงการฝึกอบรมวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง : เรียนรู้ทำความเข้าใจแนวคิด การจัดการความรู้

ผู้เล่าเรื่อง  :  นางธีรนุช  ทองชิว
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน : กลุ่มงานพัฒนาค่าตอบแทนและสวัสดิการ สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ
หลักสูตรฝึกอบรม  : โครงการฝึกอบรมวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลัง : เรียนรู้ทำความเข้าใจแนวคิด การจัดการความรู้
หน่วยงานผู้จัด : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร/โครงการฝึกอบรม
1.เพื่อเข้าใจแนวคิดการบริหารจัดการความรู้อย่างมืออาชีพ
2.เข้าใจหลักการและขั้นตอนการจัดการความรู้
3.เข้าใจถึงปัญหาและปัจจัยสู่ความสำเร็จ
4.เข้าใจถึงการคัดเลือกผู้ที่จะมาบริหารจัดการความรู้
5.เข้าใจการวางแผนที่จะนำการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร
การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
1. ความรู้ ชนิดของความรู้ การจัดการความรู้และคุณสมบัติของคนที่จะมาจัดการความรู้
1.1 ความรู้ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
- บทสรุปของความเข้าใจซึ่งสั้น กระชับ บอกเล่าให้กับผู้อื่นให้เข้าใจและรับทราบได้
- เนื้อหาเป็นความจริงที่ผ่านการพิสูจน์และทดลอง
- สามารถนำไปตั้งเป็นกฎ นำไปปฏิบัติงานได้จริง
- สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ
- สามารถทำนายผลลัพธ์ได้
1.2 ชนิดของความรู้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
1) Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล เขียนอธิบายได้ยาก เช่น ประสบการณ์ ทักษะหรือความสามารถส่วนตัว
2) Embedded Knowledge ความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กร
3) Explicit Knowledge ความรู้ที่สามารถเขียนอธิบายได้ง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ
1.3 การจัดการความรู้ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
- การรวบรวม การจัดเก็บ การจัดระบบ การเข้าถึงข้อมูล การแบ่งปัน
- ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
- ดำเนินการในลักษณะบูรณาการอยู่ในกิจกรรมหรืองานประจำ
- ต้องไม่ทำให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น
1.4 คุณสมบัติของคนที่จะมาจัดการความรู้ ควรมีลักษณะต่อไปนี้ รักการเรียนรู้
ใฝ่เรียนรู้ เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีทัศนะคติที่ดี และถูกต้อง คิดอย่างเป็นระบบและสามารถทำงานเป็นทีมได้

2. ปัจจัยที่ส่งเสริมและประโยชน์ของการจัดการความรู้
2.1 ปัจจัยที่ส่งเสริมการจัดการความรู้ ได้แก่ วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร ผู้นำและการสร้างกลยุทธ์ เทคโนโลยี การวัดผลและการนำไปใช้
2.2 ประโยชน์ของการจัดการความรู้ ได้แก่ การป้องกันความรู้สูญหาย เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น ความได้เปรียบในการแข่งขัน การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล และเพิ่มศักยภาพขององค์กร
3. การจัดการความรู้ทำอย่างไร และองค์ประกอบของการจัดการความรู้
3.1 การจัดการความรู้ ต้องเริ่มต้นจากการกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการแข่งขันและความอยู่รอดขององค์กร การสร้างและการจัดการต้องทำเป็นทีม มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และมีการใช้องค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
3.2 องค์ประกอบของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คน กระบวนการและเทคโนโลยี
4. การจัดตั้ง KM ทีม
4.1 การประกาศแต่งตั้งโครงสร้างทีมงาน KM โดยให้ระบุถึง ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งงาน หน่วยงานที่สังกัด รายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.2 ตั้งหน่วยงาน KM มีการแบ่งงานและหน้าที่ภายในทีมงานเพื่อเป็นหน่วยงานหนึ่งของแผนผังโดยรวมขององค์กร
4.3 การพิจารณาโครงสร้างทีมงาน KM เพื่อจะมีบุคลากรที่ต้องเกี่ยวข้องและมีส่วน
ที่ต้องสนับสนุนต่อการดำเนินการตามเป้าหมายมีกลุ่มบุคลากรที่ควรพิจารณาดังนี้
1) ผู้บริหารระดับสูงสุดควรจะมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างทีมงาน KM
2) หน่วยงานที่เป็นเจ้าของกระบวนงาน KM ควรประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้นๆ และผู้รับผิดชอบกระบวนงานนั้นๆ
3) หน่วยงานข้ามสายที่ต้องเกี่ยวข้อง และมีส่วนสนับสนุนต่อการดำเนินการตามเป้าหมาย KM เช่น หน่วยงานไอที ทรัพยากรบุคคล ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น ควรประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้นๆ
4) หน่วยงาน/บุคคลอื่นที่เหมาะสมและผู้บริหารระดับสูงสุดต้องการมอบหมาย
4.4 กรณีที่การจัดการความรู้ขององค์กรมีความจำเป็นและสามารถจะจัดสรรงบประมาณได้ เพื่อจะนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาใช้ควรจะมีหน่วยงานด้านไอทีเข้าร่วมทีมงาน KM ด้วย
5. กระบวนการจัดการความรู้ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย
5.1 การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
5.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation & Acquisition)
5.3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
5.4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement)
5.5 การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
5.6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
5.7 การเรียนรู้ (Learning)
5.8 การยกย่องชมเชย (Recognition Reward)
6. วงจรการบริหารจัดการความรู้ ประกอบด้วย
6.1 Sharing : การสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคล (Tacit)
6.2 Capture : การรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา (Collaboration) แล้วกลายเป็นความรู้ใหม่ของตนเอง และเขียนอธิบายออกมาได้
6.3 Classification : การนำความรู้ที่ได้มาเขียนอธิบาย (Explicit) แพร่สู่องค์กรแบ่งกลุ่มความรู้ชัดเจน และกระจายความรู้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
6.4 Understanding : การที่คนในองค์กรได้รับความรู้แล้วนำไปปฏิบัติจนเข้าใจและนำไปแลกเปลี่ยนความรู้ (Sharing) นำไปสู่การเกิดความรู้ (Discovery)
7. กระบวนการบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ประกอบด้วย
6 ขั้นตอน ได้แก่
7.1 การเตรียมการ/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transition & Behavior) : การมีส่วนร่วม การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร การตั้งทีม และมีระบบติดตามผล
7.2 การสื่อสาร (Communications) : ทำให้บุคลากรเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ
7.3 กระบวนการและเครื่องมือ (Process & Tools) : เพื่อช่วยในการค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอดและเปลี่ยนความรู้ได้สะดวกรวดเร็ว
7.4 การเรียนรู้ (Learning) : เพื่อสร้างความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญ
7.5 การวัดผล (Measurements) : เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ นำผลการวัดมาปรับปรุงแผนแลการดำเนินการให้ดีขึ้น
7.6 การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition Reward) : เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
8. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยต้องชัดในประเด็นที่อยากรู้ ชัดในประเด็นที่จะแลกเปลี่ยน ต้องมีความแตกต่างในเรื่องเดียวกันในวิธีปฏิบัติ และต้องเจาะลึกเพื่อให้เข้าใจบริบท วิธีคิด เทคนิค วิธีการ และผลลัพธ์
9. เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก (Story telling)
9.1 เป้าหมาย ให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติปลดปล่อยความรู้ที่ฝังลึกอยู่ภายในออกมาเป็นคำพูดและท่าทาง จากส่วนลึกของจิตใจ (ความเชื่อ) จากส่วนลึกของสมอง (ความคิด) และจากส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ)

ภาพ “โมเดลปลาทู”
9.2 วิธีการและขั้นตอนการเล่าเรื่อง Story telling
1) กำหนด “หัวปลา” หมายถึง ประเด็นเป้าหมายของการประชุมแลกเปลี่ยน
2) กลุ่มเล็ก ไม่เกิน 10 คน และสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ
3) เลือกประธาน ดำเนินการประชุมและสรุปประเด็นเป็นระยะๆ
4) เลือกเลขานุการกลุ่ม จดประเด็นและบันทึก “ขุมทรัพย์ความรู้” เพื่อการบรรลุหัวปลา
5) สมาชิกเล่าเรื่องเกี่ยวกับความสำเร็จของตนเองตาม “หัวปลา”
6) สมาชิกกลุ่มอื่นช่วยกัน “สกัด”หรือ “ถอด” ความรู้ เพื่อการบรรลุหัวปลา รวมถึงเขียนภาพเชื่อมโยงแสดงให้ทุกคนเห็นและปรับแก้ไขร่วมกันได้ง่าย
9.3 วิธีเล่าเรื่อง เล่าเพียงประเด็นเดียวต่อ 1 เรื่อง ใช้เวลา 2-3 นาที และเล่าเรื่องตามความเป็นจริง ให้ข้อมูลดิบในประเด็น การกระทำ ความคิด ความเชื่อ ความสัมพันธ์ เห็นภาพ และไม่ตีความ
9.4 วิธีสกัดความรู้จากการปฏิบัติงาน เมื่อแต่ละคนเล่าเรื่องเสร็จ ประธานกลุ่มขอให้สมาชิกตีความว่า เรื่องดังกล่าวบอกอะไรเกี่ยวกับความรู้เพื่อการบรรลุ “หัวปลา” ที่เป็นความรู้เพื่อการปฏิบัติ

การใช้ Dreamweaver สร้าง Mobile Application

เล่าเรื่อง  :  นางสาวอัญชลี มีพรเจริญกิจ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  :  นักวิชาการคลังชำนาญการ
หน่วยงาน :  สำนักบริหารการรับ-จ่ายเงินภาครัฐ ส่วนบริหารการจ่ายเงิน 3
หลักสูตรฝึกอบรม  :  การใช้ Dreamweaver สร้าง Mobile Application
หน่วยงานผู้จัด  :  กระทรวงการคลัง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร / โครงการฝึกอบรม
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการสร้าง Mobile Application โดยใช้ จากโปรแกรม Dreamweaver ซึ่งจะแนะนาเครื่องมือพื้นฐานต่างๆ รวมถึงแพ็คเกจและการติดตั้งเว็บ Mobile Application เพื่อนาไปใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบของหน่วยงานในอนาคตต่อไป

การแบ่งปันความรู้ที่ได้รับ :
Native Application and Hybrid Application
Native Application หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Native App คือ Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วย Library หรือ SDK ของ OS นั้นๆ เช่น Android SDK หรือ Object C ของ iOS ซึ่งหากต้องการพัฒนา App ขึ้นมาซักตัวหนึ่งแบบ Native App นั่นหมายถึงเราต้องทำควบคู่กันไปทั้ง Android และ iOS หรือพัฒนาแค่ตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเสียเวลาและทรัพยากรมาก
Native App มีข้อดีคือ ใช้ความสามารถได้เต็มที่ เช่น กล้อง, เข็มทิศ
มีข้อเสีย คือ ต้องทำแยกแต่ละ OS Ex ต้องทำบน IOS หรือต้องทำบน Androi ต้องทำคนละครั้ง

Hybrid Application หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Hybrid App คือ App ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้บน OS ทั้งหมดโดยพัฒนาแค่ App เดียว โดยจำเป็นต้องผ่าน Framework ต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานบน OS นั้น ๆ ได้เช่น PhoneGap ซึ่งเป็น Open source framework ฟรี ด้วยการพัฒนา App ด้วยเทคโนโลยีเว็บ HTML, CSS และ JavaScript เป็นต้น

Responsive web Design หมายถึง เว็บไซต์ที่ตอบสนองการดู web ไม่ว่าจะลด/ขยายหน้าจออย่างไร ก็แปรเปลี่ยนไปตามขนาดของ web ได้ และสามารถตอบสนองการดู web ในแต่ละ Device โดยต้องใช้ CSS ในการจัดเท่านั้น

Xampp เป็นโปรแกรมที่จำลองเครื่องให้เป็น Server
Local host เป็นการ test ว่าเครื่องเราได้รับการติดตั้ง Xampp ถูกต้องแล้ว

Dreamweaver Csb เป็นตัวสร้าง
โดยเข้าไปที่ site เลือก New site
การสร้างหน้า web 1 หน้า ต้องสร้าง 1 Site

View ในการดูมี 3 แบบ 1. Design 2. Code 3. Split
ใช้ภาษา html ในการเขียน web
<head>---เรียกว่า tag เปิด
</head>---เรียกว่า tag ปิด
โครงสร้าง tag  ใน html 5 ประกอบด้วย
Tag html
Head
Meta charset= “utf-8”
Title
Body
 File รูปภาพที่สามารถใช้ได้ ได้แก่
.jpg รูปถ่าย  (สีเยอะ ขนาดใหญ่)
.gif สีน้อย ภาพการ์ตูน (ขนาดไฟล์เล็ก)
.png สีเยอะ  โปร่งใสได้

CSS Stylesheet ใช้สำหรับการจัดรูปแบบ
Type มี 4 ลักษณะ
1. Class  .
2. ID #
3. Tag
4. compound
tag a หมายถึง link ซึ่งสามารถสร้างให้ชี้ลิงค์ไปโดยกำหนดให้มีเส้นหรือไม่มีเส้นก็ได้

View port คือการแสดงผลของหน้า web ถ้าไม่กำหนดจะแสดงเต็มรูปแบบเสมอ เช่น แสดงใน iphone, ipad เครื่องจะเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้เอง

Framework เป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการทำ Responsive web ให้ง่ายขึ้น
Adobe Phone Gap ช่วยนำไป Run บน Mobile App ได้